ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ชาติ ศาสน์กษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาชน ในห้วงคิด และการปฏิบัติที่เป็นจริงด้วยชีวิต ผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของประชาชน จาก 14 ตุลาคม 2516 ... จนถึงการต่อสู้ของ “พันธมิตรปะชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ( พธม.) 2548-2551 และ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ( กปปส ) 2556- 2557 และต่อไป … จนกว่าแผ่นดินกลบหน้า มาสรุปทบทวนความคิดของการต่อสู้เพื่อประชาชนและประชาธิปไตยที่ดุเดือดแหลมคม จนแทบเอาชีวิตไม่รอด ตัวเองผ่านมาได้อย่างไร ? 1. ยึดความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ความถูกต้องชอบธรรม ประชาชนและประเทศมาก่อน 2. การเรียนรู้ไปที่ละขั้น เป็นกระบวนการจากง่ายไปสู่ยากและยากที่สุด 3. นำความรู้ทฤษฎีผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริง เอาตัวเอาใจเข้าร่วมในทุกสถานการณ์ 4. การสรุปบทเรียน แก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาด ปรับให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาและใช้ “ใจ” นำ 5. หลักสำคัญที่ทำสำเร็จ เพราะ “ เอาความถูกต้องเป็นธรรมส่วนรวมบ้านเมือง มาก่อนส่วนตัว“ 6. โชคดีที่มีพ่อแม่ครูพระผู้นำที่ดีเป็นแบบอย่าง มีเพื่อนสนิทมิตรสหายให้กำลังใจและหนุนช่วย 7. ยึดแบบอย่างบุคคลในประวัติศาสตร์ไทยและสากล ที่ได้เรียนรู้ในตำราและในความเป็นจริงของชีวิต 8. ยึดปรัชญา “ ความหวัง” เป็น หลัก มิใช่ “ ความกลัว” 9. ทำเพื่ออนาคตของเยาวชนลูกหลานและคนรุ่นต่อไป 10. ทั้งหมด แม้มีอุปสรรคถึงเลือดเนื้อชีวิต แต่ใจเป็นสุข จากการคิดดีทำดีเพื่อตัวเองและส่วนรวม 1. ยึดความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ความถูกต้องชอบธรรม ประชาชนและประเทศมาก่อน ผมใช้ความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ต่อสู้กับ ความไม่ถูกต้อง จากเรื่องเล็กๆในบ้านโรงเรียนวัด ชุมชนบ้านเกิด และเมื่อเข้าใจถึงเรื่องความถูกผิด ความชอบธรรมความไม่เป็นธรรม จึงเลือกเอาความถูกและชอบธรรม ซึ่งทำให้เกิดภูมิต้านทาน ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในตัวและในใจ และขยายไปถึงเรื่องบ้านเมือง อย่างไม่รู้ตัว มีเพื่อนบางคนบอกว่า “ ตอนสู้ครั้งแรกในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ไม่เคยมีความกลัวเลย” แต่ในช่วงหลังมา และยิ่งตอนแก่ชรา เริ่มรู้สึกกลัว เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม ทำแล้วพวกเขาก็ฉกฉวยไปหมด แต่สำหรับผม ยังคงเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีท้อแท้ท้อถอย มีแต่จะเข้มแข็งและแกร่งมากขึ้น 2. การเรียนรู้ไปที่ละขั้น เป็นกระบวนการจากง่ายไปสู่ยากและยากที่สุด คนมีอุดมการณ์หรือนักสู้บางส่วน ที่อ่านหนังสือตำรา มีความรู้ทางการเมืองมาก ดูเขาโดดเด่นมาก แสดงออกอย่างกล้าหาญ เพราะมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาได้อ่านมา และการมองสังคมในเชิงลบต้องแก้ไข ผิดกับผม ที่ยังก้าวไปที่ละขั้น ไปอย่างช้าๆ เรียนรู้ไปทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆก้าวย่างเป็นจังหวะ แต่เมื่อมีความรู้ มีประสบการณ์ จากการใช้สติปัญญา ความจริง พินิจพิจารณาอย่างถ่องแท้ ด้วย “ใจจดจ่อ” ( Concentrate ) จึงมีความเข้าใจ ที่มาของเหตุ และทางแก้ได้จริง ต้องแก้ที่เหตุปัจจัยของการบ่อเกิด ซึ่งค่อยๆพัฒนาเติบโตในใจผม หลังจากผ่านเหตุการณ์ใหญ่ๆทางประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย อยากจะบอกว่า “ งานค่ายอาสาสมัคร จุฬาฯ และเสียงเพลง” เราอาสา “ปลุกหัวใจหนุ่มน้อยวิศวจุฬาได้มาก” เพลงเราอาสา (เพลงประจำค่ายหลัก) เราอาสา พัฒนา ใจเริงร่า และสามัคคี เราร่วมจิต อุทิศชีวิตพลี ผูกไมตรี เพื่อพี่น้องผองไทย แม้ห่างไกล ไม่ท้อถอย ถึงยอดดอยสูงเสียดเหยียดฟ้า เราบากบั่นฝ่าฟันเข้าไปหา ร่วมพัฒนาด้วยเมตตาอารี สายลมหนาว เคล้าลมฝน ในกมลเราแสนเยือกเย็น เราอบอุ่นในบุญที่บำเพ็ญ ความลำเค็ญ ก็มลายหายไป ชาวค่ายอาสาสมัคร เรารักงานบริการสังคม เรานิยมมุ่งกระทำแต่ความดี เรามาจากแดนไกล มีน้ำใจสามัคคีเราต่างมี ใจมั่นร่วมกันทำงาน ร่วมงานชาวบ้าน ร่วมการเป็นอยู่ เราร่วมเชิดชู ไม่ว่างานไหนไหน เราร่วมกันอยู่ เราทำกันไป เสร็จงานเมื่อไหร่ สบายใจเฮฮา (ซ้ำ **) เพลงอาสาพัฒนา – https://www.youtube.com/watch?v=fZd-Y16TiFk จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกในประเทศไทยที่ยอมรับกิจกรรมค่ายเป็นกิจกรรมนิสิตอย่างเป็นทางการ ชื่อค่ายอาสาสมัคร จุฬาฯ Voluntary Work Camp ซึ่งเป็นชื่อที่ ยูเนสโกรับรองให้ใช้ทั่วโลก หลังจากค่ายจุฬาฯ กิจกรรมค่ายก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนระดับชาติ โดยมีการใช้ค่าย เป็นกิจกรรมของการพัฒนาจึงใช้ชื่อว่า “ค่ายอาสาพัฒนา” โดยสำนักงานเยาวชน แห่งชาติ ผมไปค่ายอาสาสมัครจุฬาฯ 2 ค่าย ในปี 2511 – 2512 ในสองจังหวัดของภาคอีสาน ฯ และไปค่ายนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิมที่ จังหวัดนราธิวาส ในปี 2512 ซึ่งได้อะไรเยอะมากจริงๆ 3. นำความรู้ทฤษฎีผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริง เอาตัวเอาใจเข้าร่วมในทุกสถานการณ์ มีความรู้มากมาย แต่หากขาดการนำไปใช้ปฏิบัติ ก็ไม่มีความหมาย ไม่เกิดประโยชน์จริง “ ความคิดเหมาเจ๋อตง” เป็นระบบวิธีคิด และระบบทฤษฎีชี้นำการเคลื่อนไหวปฏิวัติประเทศจีน เป็นผลจากการนำเอาจุดยืน ทัศนะ วิธีคิดแบบมาร์กซิสม์มาประสานเข้ากับสภาวะเป็นจริงของประเทศจีน จนสามารถนำพาประชาชนจีน ปฏิวัติประเทศจีนที่ล้าหลังทุกข์ยาก มาเป็นประเทศจีนใหม่ที่ก้าวหน้าวันนี้ โดยส่วนตัว นอกจากความคิดที่ดีถูกต้องแล้ว ต้องพัฒนาใจไปด้วย ให้ “ใจเป็นประธาน” จะมั่งคงยั่งยืน 4. การสรุปบทเรียน แก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาด ปรับให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาและใช้ “ใจ “ นำการสรุปบทเรียน มีความสำคัญมาก ทำให้เรารู้และเข้าใจตัวเอง ความคิดและการทำงานหลายคนที่เก่งมีความรู้ความสามารถ ทำอะไรก็ดูสำเร็จ แต่หากขาด “การสรุปบทเรียนของตนเองส่งเสริมข้อดี ปรับปรุงข้อผิดพลาด “แล้ววันหนึ่ง มีโอกาสล้มเหลวได้ เมื่อเจอเรื่องในสถานการณ์คับขันผมมองดูตัวเอง และรู้ว่า “ เรามิได้เก่งมาก” แต่จากการปรับตัวเองไปทุกระยะทุกสถานการณ์การต่อสู้ทำให้เขาก้าวยืนได้สูงขึ้นมั่นคง และในที่สุดสามารถยืนโต้คลื่นลมที่รุนแรงได้อย่างทนงองอาจ 5. หลักสำคัญที่ทำสำเร็จ เพราะ “ เอาความถูกต้องเป็นธรรมส่วนรวมบ้านเมือง มาก่อนส่วนตัว” นักอุดมคติหลายคน ที่สามารถยึดมั่นในอุดมการณ์และทำงานใหญ่ได้สำเร็จมานักต่อนัก แต่เมื่อมาถึงทางแยก ระหว่างเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม เขากลับแยกไม่ออก ตัดไม่ได้เพราะที่ผ่านมา “แม้จะเป็นคนมีอุดมคติ “แต่เมื่อทำไปสำเร็จ เขาก็มีความก้าวหน้าได้รับการยอมรับและสามารถทำให้ครอบครัว มีความสุข มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น คือ เราได้ประโยชน์ส่วนตัวด้วยเมื่อเขาแยกไม่ได้ : เรื่องส่วนตัวเรื่องครอบครัว ต้องมาก่อน จึงทำให้ต้องหยุด หรือถอยกลับไป เรื่องส่วนตัวส่วนรวม ต้องฝึกไปทุกครั้งทุกขั้นตอน ความคิดส่วนรวมจึงมั่นคงและแกร่งขึ้น ต้องเข้าใจหลักการที่สำคัญ คือ “การทำเรื่องส่วนรวม แม้จะทำให้ส่วนตัวเสียหาย หรือเกิดทุกข์หนัก แต่เมื่อส่วนรวมสำคัญ บ้านเมืองดีขึ้น ส่วนตัวของเราครอบครัวของเราก็จะดีขึ้นอย่างถาวรยั่งยืน 6. โชคดีที่มีพ่อแม่ครูพระผู้นำที่ดีเป็นแบบอย่าง มีเพื่อนสนิทมิตรสหายให้กำลังใจและหนุนช่วย ทุกครั้งที่มีปัญหาอุปสรรค พบกับความยากลำบาก งานอุดมการณ์ทำได้ยาก ไม่สำเร็จหรือบางครั้งล้มเหลว สิ่งที่ช่วยฉุดหรือผยุงผมขึ้นมาได้ หรือมิให้ล้มลงไปแบบไม่ลุก คือ “กำลังใจ” เป็นกำลังใจของตัวเองและกำลังใจจาก พ่อแม่ครูพระผู้นำที่ดีเป็นแบบอย่าง “ ป๋าแม่เชื่อมั่นในตัวลูก ว่า จะทำสิ่งที่ดถุกต้อง แม้จะยากลำบากเพียงใด ลูกจะต้องทำสำเร็จ” แบบอย่างของครูและพระสงฆ์องค์เจ้าที่ดี ที่เราได้ศึกษาและได้รู้จักท่าน “ ไม่ท้อแท้ในยามมีอุปสรรค “ผู้นำในสังคมไทย ไม่ว่า อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ , ท่านอานันท์ ปันยารชุน ฯลฯ ที่ผ่านอุปสรรคมากกว่าเราเยอะ อีกส่วนหนึ่งคือ เพื่อนสนิทมิตรสหายที่เชื่อมั่นและเชื่อใจเรา และบางครั้งก็หนุนช่วย ให้เราทำงานได้มากได้ดีขึ้น 7. ยึดแบบอย่างบุคคลในประวัติศาสตร์ไทยและสากล ที่ได้เรียนรู้ในตำราและในความเป็นจริงของชีวิต หลายคนที่เป็นนักปฏิวัติ นักวิทยาศาสตร์ ระดับโลก : เลนิน เหมา จูเอนไล คานธี กาลิเลโอ เอดิสัน …พระนเรศวร พระเจ้าตากสิน รัฐกาลที่ 4-5 ชาวบ้านบางระจันทร์ แม้จะเกิดไม่ทัน แต่รู้สึกชื่นชมยกย่อง และที่สำคัญที่สุดในชีวิตคนไทยและตัวผม คือ “ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท่านให้ชีวิตรักประชาชนชาวไทย” เป็นแบบอย่างที่มีชีวิต สัมผัสและรู้สึกได้ ทั้งจากตนเอง และผลงานที่ท่านทำให้กับคนไทยทุกคน 8. ยึดปรัชญา “ความหวัง” เป็น หลัก มิใช่ “ความกลัว” โลกมนุษย์ มีอารมณ์ความรู้สึกสำคัญ 2 ประการ ที่กำหนดชตากรรมของชีวิตของตน เป็นผลอย่างสำคัญจากความรู้สึก 2 ชุด ได้แก่ ความกลัวและความหวัง ( Fear and Hope) การเกิดเหตุการณ์ใหญ่กลางเล็กที่มีผลต่อชีวิต ต่อครอบครัว ชุมชน หรือบ้านเมือง โดยที่เราไม่ทราบสาเหตุ ไม่รู้ หรือเป็นอำนาจใหญ่โต ที่เราต้านมิได้ เราจึงเกิด ความกลัว แต่ขณะเดียวกัน หากเราก็ยังมีความเชื่อมั่น ที่จะสามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ได้และ แก้ไขได้ โดยการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจด้วยสติปัญญา ความจริง หาเหตุของความกลัว และแก้ที่เหตุ สิ่งนี้ คือ “ความหวัง” 9. ทำเพื่ออนาคตของเยาวชนลูกหลานและคนรุ่นต่อไป หากเราทำเพื่อตนเอง ความตั้งใจและความมุ่งมั่น จะมีขนาดหนึ่ง แต่หากเราคิดทำเพื่อลูก มันจะเกิดพลังที่มากขึ้น ในการทำเพื่อลูก “ ลูกของเรา” แต่หากลองคิดไปถึงรุ่นหลาน ซึ่งเป็นอนาคตของเราและอนาคตของประเทศ ความท้าทายจะสูงขึ้น เพราะ “ การลงแรงลงคิดแม้ชีวิต มันหมายถึงการรักษาสิ่งที่ดีงามที่คนรุ่นก่อนและเราสร้างมา จะได้อยู่ต่อไป” 10. ทั้งหมด แม้มีอุปสรรคถึงเลือดเนื้อชีวิต แต่ใจเป็นสุข จากการคิดดีทำดีเพื่อตัวเองและส่วนรวม แล้วทั้งหมด มันก็มาจบลงที่ “ใจ” ที่ไม่มีอะไรมาบั่นทอนหรือทำลายได้ นอกจากตัวเอง กายเลือดเนื้อชีวิต อุปสรรค ยังถูกทำลายหรือหมดไปได้ แต่ใจเป็นใหญ่ ยังอยู่ที่ตัวเราเอง