ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 อนุมัติงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นการเตรียมเงินงบประมาณรองรับเรื่องของวัคซีนระยะแรกสำหรับการจัดซื้อวัคซีน 2,000,000 โดส โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปลายเดือนมีนาคม เราจะได้รับวัคซีนเข้ามา ประมาณ 800,000 โดส สำหรับประชาชนประมาณ 400,000 คน และใน เดือนเมษายนเราจะได้เพิ่มอีก 1,000,000 โดส เพียงพอกับประชาชน 500,000 คน และปลายเดือนพฤษภาคม เราจะได้เพิ่มมาอีก 26,000,000 โดส โดยทั้งหมดต้องผ่านมาตรฐานขององค์การอาหารและยา (อย.) ทั้งไทยและต่างประเทศและวันนี้มีการสั่งจองเพิ่มวัคซีนไว้อีกจำนวน 35,000,000 โดส รวมทั้งหมดเราจะมีวัคซีนเกือบ 60,000,000 คนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่เราได้วัคซีนเข้ามา ซึ่งจะเพียงพอกับประชาชนตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะต้องมีการฉีดจำนวนคนละสองโดส ห่างกัน 4 สัปดาห์ โดยจะเป็นการทยอยฉีดตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หน้างานใกล้ชิด บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ตรวจสอบคัดกรอง หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงซึ่งต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อรุนแรงกลุ่มประชาชนสูงอายุ กลุ่มประชาชนที่มีโรคเรื้อรัง กระนั้น ในช่วงระหว่างที่ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปพร้อมๆกับความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ที่อาการหนักหนาสาหัสกว่าการระบาดในระลอกแรก เนื่องจากยังไม่ฟื้นตัวดี และบางส่วนล้มหายตายจากต้องปิดกิจการ การออกมาตรการต่างๆ เข้ามาบังคับควบคุมเด็ดขาด จึงมองเห็นความเงื้อง่าราคาแพงอยู่บ้าง และบางมาตรการแม้อำนาจในการตัดสินใจจะเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ก็ได้รับการทบทวนและสั่งให้ยกเลิกโดย นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลทบต่อเศราฐกิจ อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญในห้วงเวลาที่ไทยจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยยังไม่มีวัคซีนเข้ามาเป็นเกราะป้องกันนั้น นพ.ยง ภู่วรวรรณหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อคิดไว้ 6 ประการดังนี้ 1.การป้องกัน -ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดกระจายออกไป ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกนอกบ้าน ล้างมือและใช้ alcohol กำหนดระยะห่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรืออยู่บ้านดีที่สุด หลีกเลี่ยงแหล่งอโคจร 2.การควบคุม- เป็นหน้าที่ของทุกคน รวมทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในขอบเขต ที่ควบคุมได้ มีมาตรการต่างๆเบาไปหาหนัก สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งถึงปิดเมืองเด็ดขาด แบบอู่ฮั่น 3.การลดปริมาณโรคให้น้อยลง -จัดการตรวจวินิจฉัยแยก คัดกรอง ให้ความรู้ โดยเฉพาะในแหล่งระบาดให้เกิดโรค หรือติดต่อแพร่กระจายให้น้อยที่สุด ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปจุดอื่นๆ 4.การกวาดล้าง -เมื่อโรคเหลือจำนวนน้อยลง จะต้องยังคงมาตรการ เพื่อให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป 5.การทำให้โรคหมด- ด้วยกฎเกณฑ์จะต้อง ไม่พบผู้ป่วยในบริเวณนั้นอย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัว หรือ 28 วัน จึงจะสามารถกล่าวได้ว่า โรคนั้นหมดไป 6.การทำให้สูญพันธุ์ -คงเป็นการยากมากแล้วที่จะทำให้โรค covid-19 สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ จากสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นการยากมากที่จะทำให้โรคหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังมีความเชื่อว่า เราจะต้องอยู่กับโควิดไปอีกนาน “ขณะนี้สิ่งที่ต้องการที่สุดอยู่ในมาตรการการป้องกันและการควบคุมไม่ให้จำนวนโรคหรือผู้ป่วยมากไปกว่านี้ถ้าเราไม่สามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้เราอยากเห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นหลักเลข 4 ตัวต่อวัน” ฉะนั้น จึงเป็นความท้าทายการรักษาลมหายใจเศรษฐกิจ ให้เดินไปพร้อมกับความไม่ประมาทในการควบคุมโรค ที่ต้องเอาให้อยู่ และอึดให้ได้อย่างน้อย 2 เดือน ท้องไว้ทุกคนต้องรอด