ในสังคมประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง (โลกที่หนึ่ง) เขามองก้าวไปสู่อนาคต ประกาศกันมาแล้วโครม ๆ ว่า อีกกี่ปีจะเลิกผลิตรถยนต์น้ำมัน แล้วโรงงานผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันในประเทสไทยจะปรับตัวกันอย่างไร ? ยุทธศาสตร์ชาติจะวางแผนด้านพลังงานอย่างไร จะยังคงก้มหน้าผลักดันโรงไฟฟ้ถ่านหินต่อไป ใช่หรือไม่ ? ปัญหาแรงงานการผลิตในสังคม เขาก้เตรียมตัวรับมือสังคมผู้สูงอายุ และการใช้หุ่นยนตืแทนแรงงานมนุษย์กันแล้วในสังคมจะวันตกบางส่วน เขาเริ่มเป็นห่วงปัญหา “แรงงาน” ผู้ใช้แรงงานและรายได้ ในโลกอนาคตกันแล้ว ในขณะที่สังคมไทย ยังวุ่นวายอยู่กับ ข่าว “จำนำข้าว” ย่อยลงมาจนถึงนักเรียนตีกัน ก็ไม่แปลกอะไร เพราะมันก็เป็นรูปธรรมปัญหารายวันที่ปรากฏในสังคมไทยจริง ๆ ปัญหาสังคมไทยมันสาหัส ก็เลยตื่นเต้นกันแค่ “ปรากฏการณ์” ไม่กล้าผ่าตัด ไม่กล้าสร้างกระแสเปิดให้วิเคราะห์รากเหง้าของโรค เพื่อรักษาโรคให้ถูกทาง เพราะคนไทยยังใช้การ “วิจารณ์เพื่อสามัคคี” และ “การรักษาโรค(แก้ปัญหา)เพื่อช่วยคน” ไม่เป็น ปัญหาเฉพาะหน้าจึงไม่มีทางออก ยิ่งไม่ต้องไปพูดกันถึงเรื่องอนาคต การปฏิวัติเทคโนโลยีรอบใหม่ เช่นการใช้หุ่นยนต์แทนกรรมกร จะทำให้แรงงานที่ด้อยความรู้พิเศษเฉพาะทางสูญเสียตำแหน่งงานมากมาย แล้วคนที่ไม่มีงานทำเหล่านั้นจะอยู่จะกินกันอย่างไร ? สวัสดิการสังคมจะดูแลผู้คนเหล่านั้นอย่างไร ? สำหรับ “ทุน” ที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้เท่านั้น เขาไม่ห่วงปัญหาของผู้ใช้แรงงานหรอก แต่ในภาคส่วนเล็ก ๆ ของสังคมโลกที่หนึ่งก็ยังมีแนวโน้มที่ดีสำหรับปัญหาเรื่อง “แรงงาน” นั่นคือ กระแสเรียกร้องให้สังคมต้องยอมเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับ “งาน” “งาน” ในอนาคตจะมิใช่ การไปทำงานตอกบัตรขายแรงงานหรือบริการในสถานประกอบการขนาดมหึมาอีกต่อไป กระบวนทัพกรรมกรในสังคมทุนนิยมศูนย์กลางจะหายไป ตำแหน่งงานจะอยู่ใน “เครือข่าย” โลกออนไลน์ แต่ในสังคมโลกที่สามอย่างไทย (ถ้าก้าวกระโดดเป็น สังคม ๔.๐ ไม่สำเร็จ ซึ่งน่าเศร้าว่าคงไม่สำเร็จ) ผู้คนจะกลายเป็น “แรงงาน” ( ขายแรง ขายเหงื่อ จริง ๆ )รับจ้างของสังคมโลกที่หนึ่งต่อไปอีกนาน หรืออาจเป็นไปแบบไม่รู้จบสิ้น การพัฒนาให้สังคมไทยสู่อนาคตที่เข้มแข็ง ต้องยืนหยัดอยู่กับทรัพยากรของเราเอง ทรัพยากรเรามีทั้งใต้ดิน กับ ดินและเหนือดิน แต่ทรัพยากรดินและเหนือดินของเรามีค่าเหนือกว่าใต้ดิน มันสามารถสร้างอาหารและพลังงานสนองให้ประเทศไทยและโลกได้ไม่รู้หมด เป็นประเทศที่ผลิตอาหารและพลังงานขายโลก (ไม่ใช่ประเทศรับจ้างทำของ) ทรัพยากรใต้ดิน เช่น แร่ชนิดต่าง ๆ โปแตสเซียม โลหะมีค่าต่าง ๆ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ หากเรารีบขายสัมปทานไป ราษฎรไทยไม่ได้ผลประโยชน์ ประเทศชาติก็ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะมันจะทำลายทรัพยากรดิน , เหนือดิน , ป่าไม้ , แหล่งน้ำสะอาด ฯ ทิศทางการใช้ทรัพยากรจะเป็นประเด็นต่อสู้ร้อนแรงของสังคมไทยในทศวรรษข้างหน้า จึงไทยจึงไม่ควรตื่นข่าวรายวัน.........ไปวัน ๆ เท่านั้น แต่ควรจะศึกษาหาข้อมูล และมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติให้ถูกต้อง