แก้วกานต์ กองโชค วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะตัดสินคดีโครงการรับจำข้าว โดยมีบุคคลสำคัญอย่าง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” หลังจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีแล้ว แน่นอนว่า การตัดสินครั้งมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย รวมทั้งเฉยๆ ไม่ว่าผลการตัดสินคดีจะเป็นเช่นไร เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึก แต่ทั้งสองฝ่ายต่างประเมินข”ข้อเท็จจริง” กันแล้ว เชื่อว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง น่าจะตัดสินออกมาแบบ “ไม่เป็นคุณ” กับยิ่งลักษณ์สักเท่าไหร่ จนกระทั่งประเมินกันอีกรอบ ก็ฟันธง ลงไปว่า ผลการพิจารณาน่าจะ “ยึดทรัพย์” !!! ขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ได้จัดตั้งคณะกรรมการสืบทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เพื่อชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ได้ส่งรายละเอียดทรัพย์สิน ได้แก่ สมุดบัญชีเงินฝากของอดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 12 บัญชี ให้กรมบังคับคดีเรียบร้อยแล้ว “คณะกรรมการสืบทรัพย์ส่งรายละเอียดส่วนให้ให้กรมบังคับคดีเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน” นั่นแสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพรัอมของ “กระบวนการยึดทรัพย์” “โดยหลังจากนี้ จะเป็นหน้าที่ของกรมบังคับคดีว่าจะดำเนินการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีทันทีเลยหรือไม่ ส่วนคณะกรรมการสืบทรัพย์ของกระทรวงการคลังนั้นมีหน้าที่สืบทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยหลังจากนี้จะรอหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ส่งหนังสือเพื่อขอให้มีการตรวจสอบรายละเอียดทรัพย์สินของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ส่งข้อมูลกลับมา ก็จะรีบทยอยส่งข้อมูลต่อให้กรมบังคับคดีเร่งดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยในส่วนนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี” สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบายกับนักข่าว ทั้งนี้ คดีรับจำนำข้าวดังกล่าว มีความเสียหายทั้งสิ้น 178,586,365,141.17 บาท โดย”ยิ่งลักษณ์”รับผิดชอบ ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง ของกระทรวงการคลัง ที่มีนายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานฯ ได้ พิจารณาค่าเสียหายจากความรับผิดทางละเมิดแก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวจากหลายแสนล้านบาท เหลือประมาณ 35,717 ล้านบาท ซึ่งถือว่าคิดเป็น 20% ของตัวเลขความเสียหายทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นต่อไป จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะข้าราชการในกระทรวงการคลังเป็นอย่างมากว่า คณะกรรมการฯชุดดังกล่าวอาจคำนวณค่าความเสียหายผิดพลาด และไม่ถูกต้องตามหลักการ คณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง ที่ลงนามโดยนายมนัส กรณีให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว มีมติว่า “ประเด็นความเสียหายควรคิดคำนวณตั้งแต่โครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/2556 และปี 2556/2557 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาภายหลังจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับความเสียหายจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับนโยบายรับจำนำข้าวด้วย” “จึงถือได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรได้รับรู้รับทราบความเสียหายนับตั้งแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นมา ซึ่งความเสียหายดังกล่าวคิดเป็นเงินจำนวน 178,586,365,141.17 บาท พฤติการณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถือเป็นการจงใจกระทำละเมิด จึงให้รับผิดในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหายดังกล่าว คิดเป็นจำนวน 35,717,273,028.23 บาท ในส่วนของความเสียหายที่เหลือให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อหาผู้รับผิดต่อไป” อีกร้อยละ 80 เป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ขององค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว 853 คดี เป็นความรับผิดทางละเมิดประมาณ 143,000 ล้านบาท ตกอยู่ในมือของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่กำลังหาผู้รับผิดชอบ “การสอบสวนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คดีอาญา และคดีแพ่ง โดยการดำเนินคดีแพ่ง จะมีศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เป็นหน่วยงานหลัก พิจารณาความเสียหาย 143,000 ล้านบาท หรือ 80% ของความเสียหายที่คณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่งสรุปไว้ โดยหลังจากนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการบริหารจัดการคดี และรายละเอียดของแต่ละคดีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกันก็จะดำเนินการร่วมกัน” ประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) บอกกับนักข่าว การดำเนินคดีอาญา 853 คดี จะปรับการทำสำนวนใหม่เพื่อลดขั้นตอน โดยถ้าคดีใดมีลักษณะข้อมูลคล้ายกันก็จะสอบสวนครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีข้าวมี 3 ประเด็นคือ 1.ข้าวผิดประเภท 2.ข้าวเสื่อมคุณภาพ และ 3.ข้าวที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หากสั่งการไต่สวนจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 6 เดือน และส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อีก 6 เดือน จะเผยโฉมหน้า เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่เกี่ยวข้องพรัอมกับความรับผิดชอบ 143,000 ล้านบาท