“วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ (การเคลื่อนย้ายข้ามประเทศอย่างเสรีของปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ทุน บุคลากร สินค้าและบริการ และข้อมูลความรู้แล้วข่าวสาร) และรับมือกับประเด็นอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบ
สำคัญต่อประเทศ อาทิ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเผชิญกับวิกฤติพลังงาน การจัดการด้านการกีดกันทางการค้า การพัฒนาระบบสาธารณสุขแนวใหม่ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีความก้าวหน้าในภูมิภาคใกล้เคียง อาทิ เกาหลีใต้ ใต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่าง ยิ่งสำหรับประเทศไทยที่จะต้องมีมาตรการในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถของประเทศบนฐานความรู้ที่แน่นพอ ที่จะมมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภาย นอกและภายในตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สังคมเข้มแข็ง และการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”
ข้อความข้างต้นนั้น นำมาจากเว็บไวต์ของ “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ” มันเป็นความจริงที่ว่า ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจนัก ยังด้อยกว่ามาเลเซียเสียอีก
เพื่อปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้เกิดการบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนและสามารถผลักดันให้มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดให้มี “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ” (นวนช.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และให้เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นเลขานุการร่วม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2559
งานด้านนี้มีความก้าวหน้า ทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอันบ้าง “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ” ก็น่าจะแถลงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์กันบ้าง ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน สร้างให้ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจ “รับจ้างทำของ” เท่านั้นแหละ ที่ฝันว่าจะวิจัยสร้างนวัตกรรมพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ สุดท้ายก็ต้องงนง้อพึ่งพาอาศัยอภิทุนสากลเขามาลงทุน
ดูจากอำนาจหน้าที่ที่รับกำหนดให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติแล้วก็ไม่มีหวังอะไร เพาะไม่มี “อำนาจ” จริง อำนาจหน้าที่ของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติที่กำฟนดไว้มีดังต่อไปนี้
(1) กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) กำหนดแผนที่นำทาง (Roadmap) เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมรายสาขาให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ
สองข้อแรกนี้ สภาฯ มีหน้าที่ “กำหนด” แต่กำหนดแล้วไปส่งให้ใครปกิบัติตามได้บ้าง ? หน้าที่อีกสามข้อต่อมาใช้คำว่า “กำกับ เร่งรัด” จะกำกับใคร สั่งใครได้ ?