รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
“เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของบางวัฒนธรรมหรือเฉพาะของบางสถานที่ หรือบางเวลา หากแต่เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ และเป็นความจำเป็นของมนุษย์ที่บุคคลสามารถรวมตัวกันเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของตนได้”
: ไมนา คิโอ
อดีตผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ
แม้การ “ชุมนุม” จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานก็ตาม แต่ “การชุมนุมโดยสงบ” ก็เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติทุกครั้งที่มีการชุมนุม
จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นประเด็นร้อน ที่ประชาชนสนใจและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อ“การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 5,738 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
1. “สาเหตุ” การชุมนุมทางการเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้
อันดับ 1 ไม่พอใจการบริหารงานของนายกฯ 62.33%
อันดับ 2 ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย/ไม่สืบทอดอำนาจเผด็จการ 49.85%
อันดับ 3 เป็นการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง 48.42%
อันดับ 4 อยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว 47.11%
อันดับ 5 ผลงานของรัฐบาลย่ำแย่ 44.15%
2. สิ่งที่อยากบอกกับ “รัฐบาล” เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 ต้องเร่งพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/อย่าซื้อเวลา 72.37%
อันดับ 2 ไม่ควรใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม 61.69%
อันดับ 3 อยากให้ฟังเสียงประชาชน/ผู้ชุมนุม 60.43%
อันดับ 4 เป็นการแสดงออกตามหลักประชาธิปไตย 57.41%
อันดับ 5 การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน 53.09%
3. สิ่งที่อยากบอกกับ “ผู้ชุมนุม” คือ
อันดับ 1 มีสติ อย่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายใด 73.31%
อันดับ 2 ระมัดระวังเรื่องการระบาดของโควิด-19 65.97%
อันดับ 3 ไม่ใช้ความรุนแรง 63.85%
อันดับ 4 เคารพกฎหมาย 60.67%
อันดับ 5 อย่าก้าวล่วงสถาบัน 60.41%
4. สิ่งที่อยากบอกกับ “สื่อมวลชน” คือ
อันดับ 1 มีจรรยาบรรณวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง 84.21%
อันดับ 2 เป็นกลาง 77.27%
อันดับ 3 นำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์/ไม่ชี้นำ 73.77%
อันดับ 4 ไม่ยุยงปลุกปั่น 61.71%
อันดับ 5 นำเสนอความต้องการและข้อเรียกร้องของทุกกลุ่มการชุมนุม ไม่เลือกข้าง 57.70%
5. ทำอย่างไร การชุมนุมทางการเมืองจึงจะยุติ
อันดับ 1 ไม่ใช้ความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย 61.44%
อันดับ 2 รัฐบาลจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุม 57.90%
อันดับ 3 ควรมีการเจรจา/ตกลงกันแบบสันติวิธี 56.58%
อันดับ 4 ทั้ง 2 ฝ่ายควรรับฟังความคิดเห็นด้วยเหตุผล 49.54%
อันดับ 5 ต้องมีความยืดหยุ่นซึ่งกันและกัน/ถอยคนละก้าว 44.09%
งานเลี้ยง(ทุกงาน) ย่อมมีการเลิกรา ฉันใด งานชุมนุมทางการเมืองก็ย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะต่างก็อยู่ที่เลิกราแบบ “วิน วิน” หรือ “แตกหัก”
บ้านเมืองใคร? ใครก็รัก!
การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ ทำอย่างไร? จึงจะไม่รุนแรงและสามารถยุติลงได้ ลองอ่านข้อมูลที่ “สวนดุสิตโพล” นำเสนอ
.....คงจะพอเห็นทางออกนะครับ!