ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ปู่จิ๊บ ต้องขอเรียนจากใจจริง ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในความรู้สึกในช่วงแรกที่หนุ่ม และช่วงท้ายที่แก่ชรา ในปี 2509 หลังจาก เรียนจบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท เป้าหมายต่อไป ก็คือ คณะวิศวจุฬาฯ มันเป็นโมเมนตัมต่อเนื่อง จากกระแสคนเรียนดีเรียนเก่งสายวิทย์ ต้องสอบเข้า วิศวฯ แพทย์ ….เป็นอันดับต้น ไม่ได้รู้จักเข้าใจดีอย่างลึกซึ้ง ต่อคณะวิศวฯ หรือ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต แต่หากมาคิดทบทวนย้อนหลัง โดยใช้ความคิดที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์จากการผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชน ก็ยังคงจะต้อง บอกว่า “ ผม ยังคง ตัดสินใจแบบเดิม “ แต่อาจจะปรับปรุงแก้ไขบางอย่างให้ได้ดีขึ้นมาก แต่เท่านี้ ก็มากพอแล้ว เพราะ หากจุดเริ่มมีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ชีวิตก็อาจจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปกว่านี้ สิ่งใหญ่ที่ได้รับ โดยพิจารณาจาก “ ความรู้สึกในช่วงเป็นนิสิต + ความรู้สึกในช่วงชรา “ ( หารสอง ) ก. ช่วงเป็นนิสิตวิศวจุฬาฯ ที่โดยเฉลี่ย คงมากกว่าคนอื่นๆ เพราะ หลักสูตร 4 ปี แต่เรียนถึง 6 ปี 1. ระบบโซตัส SOTUS : “ Seniority Order Tradition Unity Spirit “ ที่สมบูรณ์ครบเครื่อง ได้โหมกระหน่ำใส่นิสิตปีหนึ่ง ( น้องใหม่ ) และใจกระโดดรับอย่างเต็มอก ถูกจิตและถูกใจ เพราะ การถูกหลอม และใจพร้อมที่จะถูกหล่อ ด้วยความเต็มใจ 100 % ทั้งความเป็นเพื่อนร่วมรุ่น วศ.2510 วิศวจุฬาฯ และชาวจุฬา รุ่นที่ 51 การเป็นน้องใหม่ เฟชชี่ ที่มีสิทธิเท่ากับศูนย์ และมีอำนาจเต็มที่เมื่อเป็นซัมเฟอร์มอร์ ( ปีสอง) การเป็นจูเนียร์ ( ปีสาม ) ซีเนียรื ( ปีสี่ ) และซุผเปอร์ซีเนียร์ ( ปีห้า ปีหก ) อ้อ การเป็น “ รีพีตเตอร์ “ ( ซ้ำชั้น ) ในการเรียนปีสอง แล้วสอบผ่านไม่ครบทุกวิชา ให้รสชาติของชีวิตวิศวฯ ที่มันส์อยู่แล้ว ให้เข้มข้นขึ้นอีกหลายเท่าตัว ส่วนใหญ่ที่ไม่เคย อย่าอิจฉา ปีหนึ่ง ร่วมกิจกรรมทุกอย่างของคณะ ทำทุกอย่างที่รุ่นพี่สั่ง รวมทั้งการวิ่งหนีอาจารย์โด่งที่วิ่งไล่ตาม การวิ่งจากห้องเรียนที่สำคัญน้อยกว่า คำสั่งของรุ่นพี่ ให้มารวมกันที่ใต้ถุนศาลพระเกี้ยว หน้าตึก3วิศวฯ การบูมบาลาก้า ก่อนจะเริ่มเชียร์ ที่ร้องกระหน่ำเต็มเสียง แล้วฟังวิชาการเรื่องเล่าเรื่องโจ๊กจากรุ่นพี่ จากเย็นจนดึก จากจุฬาฯไปสามย่าน และไปสดงความเป็นแมน มันสุดคือ การรับน้องใหม่ประทับเกียร์ ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ และมากไปกว่านี้แล้ว เราซึ้งในระบบโซตัสจากรุ่นพี่รักเรา และทำให้เรารักกัน 2. ชมรมวิชาการคณะวิศวจุฬาฯ ที่เป็นงานวิชาการ งานความรู้และการผลิตตำราราคาถูกจำหน่ายทั่วไทย รุ่นพี่รุ่นน้องที่ร่วมทำงานกัน ล้วนแต่เติบโตมีบทบาททั้งในคณะ ในจุฬาฯ และสังคม ดร.ต่อตระกูล ดร.เอกสิทธิ์ พี่พิสุทธิ์ อ.ธีรยุทธ บุญมี น้องธีระโกเมน (ซีเอ็ด) ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล รุ่นพี่ชมรมฯ ได้ร่วมจัดงานคอนเสิร์ต The Venture ที่หอประชุมใหญ่จุฬาฯ ผมจึงได้ร่วมรับผิดชอบด้วย พี่วันชัย ผู้แทนคณะวิศว ได้มอบงานให้ผมรับผิดชอบ “ การสังเกตการณ์เลือกตั้งกทม.2512ในนามคณะ” 3. ตึกจักรพงษ์ และศาลพระเกี้ยว เป็นตึกกิจกรรมทั้งระดับนายกสโมสร และชมรมต่างๆของจุฬาฯ มีนักกิจกรรมจากทุกคณะมาร่วมตัวกัน ได้ร่วมกันในชมรมต่างๆ และพัฒนาต่อยอดไประดับสโมสร ผมร่วมงานกับ ชมรมบริการโลหิตและสังคมสงเคราห์ ชมรมปาฐกถา-โต้วาที และชมค่ายอาสาสมัครฯ ส่วนหนึ่งได้ดึงเพื่อนวิศวจุฬาฯมาร่วม โดยเฉพาะการออกไปชนบทร่วมเดือนกับชมรมค่ายอาสาสมัครฯ และการทำงานชมรมปาฐกาและโต้วาที ก็ได้สัมผัสกับ นักปราชญ์คนสำคัญ คือ อ.คึกฤทธ์ ปราโมช ได้พัฒนาจนถึงระดับไปบ้านท่านที่ซอยสวนพลู ไปฟังท่านคุยสารพัดเรื่อง ได้ความรู้มากมาย และได้ไปบ้านขุนตาลของท่านกับชมรมปากถาและโต้วาที ที่มีเพื่อนวิศวฯและชาวจุฬาฯไปกันหลายคน นอกจากนี้ ก็ยังได้มีโอกาสไปพบท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์ร่วมเดือนกับอ.ระวี ภาวิไลและครอบครัว มีกิจกรรมสำคัญที่ได้ร่วมกับ “ นายฉันท์แก่น “ ( ประสาร มฤคพิทักษ์ ) และดร.ต่อตระกูล กับชาวจุฬาฯ เดินขบวนในจุฬาฯเป็นครั้งแรกเป็นเรื่องใหญ่ ระดับ “ประท้วงผู้บริหารจุฬาฯ ที่มีการคอร์รับชัน “ จากนั้น ก็ได้ร่วมกับ อ.ธีรยุทธ บุญมี ทำเรื่อง “ ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และรณรงค์เรื่องผ้าดิบสินค้าไทย” ซึ่งสร้างกระแสของเยาวชรคนหนุ่มสาวที่แสดงออกถึงความรักชาติ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อผมได้รับเลือกตั้งจากชาวจุฬาฯเป็นอุปนายกสจม.คนที่หนึ่ง และทำหน้าที่นายกฯมาเกือบทั้งปี ได้ร่วมงานบริหารงานสโมสรนิสิตจุฬาฯกับผู้แทนคณะต่างๆ รวมทั้งประธานสนช. พรเพชร วิชิตชลชัย หัวหน้าคณะรัฐศาสตร์ , ดร.สมภพ เจริญกุล ( หัวหน้าคณะพาณิชบัญชี ) ฯลฯ และประธานชมรมต่างๆ 4. ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ( ศนท. ) เป็นการยกระดับการรวมตัวของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับชาติ ที่ได้ใช้เวลาพัฒนามาจากการจัดสัมมนาฯ ของ WUS และอื่นๆ เลขาธิการศนท. 2 คน แรก ยังมีบทบาทไม่มาก แต่มาเริ่มคึกคักมีชีวิตชีวา มีบทบาทสูง ในยุคของ อ.ธีรยุทธ บุญมี ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการฯ คนที่ 3 ทั้งจาการสะสมปริมาณการทำงาน และ จากความสามารถพิเศษของตัวเลขาฯ และการร่วมมือกันอย่างจริงจังของกรรมการศูนย์ในยุคนั้น และมีผมร่วมเป็นที่ปรึกษามาอย่างต่อเนื่อง ( เป็นพลังของคนไม่มาก แต่เอาจริงเอาจังทำงานหนัก) และถัดมาในยุคของเลขิการศูนย์คนที่ 4 คือ ดร.สมบัติ ธำรงธัญญาวงค์ ( จาก ม.เกษตรศาสตร์ ) โดยมีตึกจักรพงษ์เป็นกองบัญชาการและที่ทำงานฯ และ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นนายกสจม. และในปีนั้น 2516 ก็เกิด เหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนไทย ซึ่ง 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่ถูกรัฐบาลจอมพลถนอมประภาสจับไปในวันที่ 6 ตุลา 2516 ก็มี อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี และชัยวัฒน์ สุรวิชัย รวมอยู่ด้วย ขอสรุปเฉพาะเรื่องที่มีสาระสำคัญที่ได้ทำในช่วงเป็นนิสิตวิศวจุฬา ( 2510 - 2515 ) 1. 2513 ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ ต่อต้านผู้บริหารจุฬาคอรับชั่น 2. 2513 ร่วมจัดนิทรรศการวิศวจุฬาฯครั้งใหญ่ 3. 2514 รักษาการณ์นายกสจม. จัดประชุมตัวแทนทุกมหาวิทยาลัย ประท้วงนักศึกษามาเลเผาธงชาติไทย 4. 2514 ได้ร่วมรับเสด็จและถวายพวงมาลัยแด่ในหลวงคราวนำประธานาธิบดีอินเอีย ที่หอประชุมจุฬาฯ 5. 2514 ได้ร่วมกับผู้แทนคณะสัตวแพทย์ ( พี่สัตวแพทย์พงษ์ศักดิ์ )เรียกร้องคณะสัตวแพทย์กลับคืนมา สังกัดจุฬาฯ หลังจากครม.มีมติให้ยุบแล้วโอนไปขึ้นกับ คณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6. 2514 ในนามสจม.ได้ร่วมประท้วงการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม ฯ 17 พฤศจิกายน 2514 และประกาศคณะปฏิวัติ 299 การใช้อำนาจแทรกแซงตุลาการ ณ ที่ทำการศาลยุติธรรม หน้าสนามหลวงฯ 7. 2515 เป็นตัวแทนสโมสรนิสิตจุฬาฯ ร่วมรับเสด็จควีนอลิซเบธและดยุกพระสวามีแห่งประเทศอังกฤษ คราวเสด็จจุฬาฯ และร่วมโต๊เสวยที่ทางจุฬาฯในการเลี้ยงต้อนรับฯ ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ 8. 2515 ร่วมกับตัวแทนคณะวิศวฯรุ่น 2512 ฯ ประท้วงและประสานงานผ่านคณะวิศวฯและอธิการบดีจุฬาฯ และรมต.ทบวงมหาวิทยาลัย เรียกร้องเงินเรียกเก็บพิเศษ ( 5,000 บาท /ปี ) คืนมาจากรัฐบาลจนสำเร็จ 9. 2515 เป็นตัวแทนนิสิตนักศึกษาวิศวฯทั่วประเทศ เรียกร้องให้มีการสงวนอาชีพวิศวฯ แก่คนไทย ข. ช่วงที่จบจากจุฬาฯ จากนิสิตจุฬาฯ มาเป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ ( 2515 – 2560 ) เนื่องในวาระโอกาส ครบ 100 ปี จุฬาฯ ปี 2560 “ นิสิตจุฬาฯ รุ่น 2510 “ เป็นรอยต่อกึ่งกลาง ชีวิตนอกรั้วจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ที่ปู่จิ๊บสามารถรักษาปกป้องตนเอง ทั้งที่ผ่านเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อ ว่า ชีวิตคนๆหนึ่ง จะผ่านอะไรมาได้ขนาดนี้ เพราะอะไร หากมิใช่สิ่งที่ได้มาและความเป็นชาวจุฬาฯคนหนึ่ง @ ซึ่งจะขอเล่าเฉพาะเรื่องใหญ่ๆที่สำคัญจริงๆ จบมาปีการศึกษา 2515 เริ่มทำงานรับราชการที่ กทม. ในฝ่ายวิศวกรรมโยธาฯ และฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ระหว่างที่ว่างจากงาน ก็ได้มาร่วมกิจกรรมกับศนท.ยุคธีรยุทธ และ ดร.สมบัติ เป็นเลขาธิการฯ 1. 21-22 มิถุนายน 2516 ร่วมประท้วงการที่อธิการบดี ม.รามคำแหง สั่งพักการเรียน 9 นักศึกษารามฯ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จนรัฐบาลต้องยอมยกเลิกคำสั่งฯ 2. 6 – 13-14-15 ตุลา 16 ร่วมก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนเกิดเหตุการณ์ 13 กบฏรัฐธรรมนูญ และพัฒนาไปจนเกิด เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และมีการร่างรธน. มีการเลือกตั้งทั่วไป 3. 2517ก่อตั้งกลุ่ม ปช.ปช เคลื่อนไหวเผยแพร่ประชาธิปไตยไปทั่วประเทศ และร่วมก่อตั้ง และเป็นรองเลขาฯพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ส่งสมัครเลือกตั้ง ได้สส. มา 15 คน 4. ได้บวชพรรษ เป็นพระนวกะจากวัดลำปางมาจำพรรษาที่วัดชลประทานฯ กับ ท่านปัญญานันทะฯ 5. เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ,…. เดินทางไปร่วมต่อสู้ในชนบท กับ ธีรยุทธ ประสาร วิสา ฯลฯ 6. ร่วมการต่อสู้ก่อนและหลังเหตุการณ์ 17 พฤษภาคม 2535 และร่วมขบวนการธงเขียวรธน.ปี 2540 7. ร่วมกับอ.ธีรยุทธ ทำเรื่อง ธรรมาภิบาล Good Governance ที่ท่านนายกอานันท์ ได้นำเสนอต่อสังคม 8. ร่วมการต่อสู้ร่วมกับภาคประชาชนและพธม. ตั้งแต่ ปี 2548 – 2549 – 2551 9. ร่วมติดตามเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง 12 มีนา – 19 พฤษภาคม 2553 10. ร่วมการต่อสู้ร่วมกับ กปปส. ปี 2556 – 2557 ซึ่งชาวจุฬาฯเรือนหมื่น ได้เข้าร่วมด้วย 11. ร่วมงานกับเพื่อนวิศวและชาวจุฬาฯ รุ่น 2510 จัดเทศมหาชาติ ที่หอประชุมจุฬาฯ ทั้งหมดที่กล่าวมา และยังคงเดินหน้าต่อทำงานเพื่อบ้านเมือง ด้วยความสุข จนกว่าแผ่นดินจะกลบหน้า ที่ทำอะไรมาได้ขนาดนี่ แม้ว่าส่วนสำคัญจะมาจากการพัฒนาความมุ่งมั่นด้วยอุดมคติที่มีเป้าหมายเพื่อสังคม แต่คงแยกไม่ออกจากการเป็นนิสิตวิศวฯ และชาวจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ที่ได้ให้ความรู้ ความคิดประสบการณ์ และความเป็น “ ชาวจุฬาฯ “ ที่รักชาติศาสน์กษัตริย์และประชาชน ระบบโซตัส ความเป็นพี่เป็นน้อง ที่รักสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในยามทุกข์และสุขตลอดมา ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ขอบพระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณฯ และประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่ง