ในสถานการณ์ความขัดแย้งแตกแยก หากได้ย้อนหวนทวนเข็มนาฬิกา กลับไปดูอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ว่ามียุทธวิธีในการจัดการเช่นไร ดังมีการหยิบยกเอา นโยบาย 66/23 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง มีความต่อจากตอนที่แล้วดังนี้
“......ทำไมถึงไม่ใช่ ดูได้จากเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เขาไม่เคยมาทำอะไรให้เคืองเบื้องพระยุคลบาทเลย ท่านเสด็จไปที่ไหน เขาก็ต้อนรับขับสู้ถวายความจงรักภักดี ด้วยน้ำใสใจจริงมาโดยตลอด ถ้าเขา ต้องการที่จะเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์จริง ๆ ก็ต้องทำร้ายพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านคือความ เปลี่ยนแปลงของคอมมิวนิสต์ แม้แต่ในโซเวียต ในจีน ที่ไหน ๆ เขาก็เปลี่ยนเรามั่นใจได้ว่าไม่ใช่เรื่อง นี้.... และในที่สุดเราก็พบว่า คือพวกเรากันเอง คือพวกข้าราชการไปข่มเหงรังแกเขา นั่นคือคำตอบ ที่เราได้มา.....”
“ โดยวิธีที่เราไปพูดกับเขานี่เอง ทำให้เราสำเร็จ ในที่สุดชาวบ้านก็เชื่อว่าเขาสามารถมั่นใจ ได้ถ้าผู้ใหญ่มาก ๆ อย่างขนาดผู้ว่าราชการจังหวัดรับปากกับเขาว่า เราจะไม่ให้ตำรวจไปรังแกเขา ไม่ให้ทหารไปรังแกเขา ถ้าเขาถูกรังแกก็ให้มาหาเรา ๆ จะจัดการให้ จะย้าย จะลงโทษ ชาวบ้านจึง เริ่มเข้าใจ เริ่มเชื่อเรา เริ่มหันหน้ามาพูดคุยกับเรา เราเริ่มได้อะไรจากเขา ในที่สุดพอเขาเกิดความ ศรัทธาสูงสุด เราก็เริ่มได้มวลชนมา เหตุการณ์ก็เริ่มคลี่คลาย” นอกเหนือเงื่อนไขทางจิตใจที่ต้องแก้ไขโดยใช้ความเป็นธรรมแล้ว เงื่อนไขที่สำคัญอีก ประการหนึ่งคือเงื่อนไขทางวัตถุ ซึ่งต้องแก้ไขด้วยความเจริญ นำการกินดีอยู่ดีเข้าไปให้ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครองยศเป็น พลโทเปรม ติณสูลานนท์ความคิดเรื่อง “การเมืองนำการทหาร” จึงเริ่มต้นขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ หน่วยที่รับนโยบายไปปฏิบัติเป็นหน่วยแรกก็คือ ร.23 สมัยนั้นเรียกกรมผสมที่ 23 ซึ่งมีคุณ อาทิตย์ กำลังเอก เป็นผู้บังคับการ และผู้ที่มีบทบาทมากอีกคนก็คือ พันเอก เรวัติ บุญทับ ปัจจุบัน คือ พลเอก ณพล บุญทับ” พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กล่าว แต่นั้นมา ทหารก็ออกสัมผัสชีวิตแท้ ๆ ของชาวบ้าน ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์ ที่ผ่านมา ทหารต้องอดทนต่อความเข้าใจผิดของชาวบ้าน “เขาจะด่าว่าอย่างไรก็ต้องอดทน ปล่อย ให้เขาระบายออกมา ลูกสาวเขาถูกฉุดอย่างไร ลูกชายเขาถูกรังแกใส่ข้อหาอย่างไรบ้าง รับรู้ เราจะ ไม่นิ่งเฉย เราจะปราบข้าราชการชั่ว ๆ ของรัฐ.. เขาเริ่มเข้าใจเราไม่เรียกเขาว่า ผกค. เราเรียกว่าผู้ หลงผิด เขา....ก็คือคนไทย เราไม่ต้องการปราบ ต้องการทำความเข้าใจว่า ที่เขาทำมันผิด ที่ถูกควร ทำอย่างไรมากกว่า”
การนำนโยบายการเมืองนำการทหารมาใช้เริ่มเห็นผลชัดขึ้น นับตั้งแต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ครองยศ “พลเอก” ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2521 “เมื่อผมเป็นผู้บัญชาการทหารบก จึงได้ขอความร่วมมือจากแม่ทัพภาคทุกคนให้ช่วยกัน แก้ปัญหาในพื้นที่ ตามแนวทางที่กองทัพภาคที่ 2 ได้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว เพราะเมื่อเหตุการณ์ ด้านอีสานเริ่มสงบ ความรุนแรงก็ไปปรากฏที่อื่น โดยเฉพาะพื้นที่ความรับผิดชอบของกองทัพภาค ที่ 4 ซึ่งมีขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) และโจรคอมมิวนิสต์มลายู (จคม.) เคลื่อนไหวอยู่ ทุกกองทัพได้ให้ความร่วมมืออย่างดี และปฏิบัติตามจนได้ผลดีมาโดยลำดับ....”
จากผลการปฏิบัติที่ได้ดำเนินการในทุกกองทัพภาค นำมาสู่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ หรือ นโยบาย 66/2523 ในสมัยที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยแรก ผลก็คือความสงบร่มเย็นกลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง
หลักการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ตามนโยบาย 66/2523 เป็นการต่อสู้ทางยุทธศาสตร์ ที่มีเป้าหมายชัดเจนคือ “ ใช้แนวทางสันติต่อสู้เอาชนะแนวทางอาวุธ” ใช้มาตรการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์และ เผด็จการทุกรูปแบบ “ใช้การยืนหยัดเคียงข้างประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันในเสรีภาพและอธิปไตย ของปวงชน” ใช้ความสามัคคีธรรม เพื่อผนึกกำลังทุกรูปแบบในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยเน้นหลักการปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งสมบูรณ์ที่สุด”
ที่มา:www.m-culture.go.th