บรรยากาศอึมครึมทางการเมือง และการขัดแย้งแตกร้าวทางความคิดต่างๆนั้น มีการเสนอทางออกในเรื่องของแนวทางการปรองดอง นิรโทษกรรมขึ้นมา แม้อาจจะไม่ตอบสนองในสถนการณ์ปัจจุบัน หากแต่การพูดถึงนโยบาย 66/23 ในยุคของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษผู้ล่วงลับขึ้นมา เราจึงขอนำแนวคิดและแนวทางในห้วงเวลานั้นมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นหนทางแห่งปัญญาของผู้เกี่ยวข้องได้ตรองดู จากประวัติของพล.อ.เปรม ในwww.m-culture.go.th เรื่อง “ดับไฟอีสานด้วยนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” ระบุว่า “วันที่ 1 ตุลาคม 2516 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรี เปรม ติณสูลา นนท์ ขึ้นด ารงต าแหน่ง รองแม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตแทรกซึมของพรรค คอมมิวนิสต์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระท าอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2515 การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งของรองแม่ทัพภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นช่วงเวลาที่ไฟสงครามกำลังโหมกระพือทั่วพื้นที่ดังกล่าวและพร้อมจะลุกลามเผา ไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ในพริบตา การต้อนรับที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่มอบให้ พลตรี เปรม อีก 3 วันต่อมาคือ “ทหารของผมถูกซุ่มโจมตี ตายไปทีเดียว 23 คน โลงศพที่สกลนครแทบไม่พอใส่ ผมเสียใจมาก เป็นสองวันแรกที่ผมไปด้วย แล้วผมก็ไม่รู้จะท าอย่างไร นั่งคิดตรึกตรองไป ตรึกตรองมา เอ... จะทำ อย่างไรนี่ จึงจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้” “ตอนที่ผมไปเป็นรองแม่ทัพภาค 2 ใหม่ ๆ ผมก็มอง ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) เหมือนกับเป็นศัตรูของชาติที่ต้องฆ่ากัน แต่ก็โชคดีที่ผมมองลึกไปอีกว่าท าไมเวลาที่เราไปเยี่ยม ชาวบ้านนี่ เขาถึงวิ่งหนีเรา เราเดินเข้าไปในหมู่บ้าน เขาไม่สนใจเรา ผมเข้าใจว่าเขาเกลียดพวกเรา เขาไม่อยากมาพูดจากับเรา เราก็ท้อใจ เอ๊ะ ท าไมถึงไม่มาต้อนรับ” 50 คณะเสนาธิการและนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชา ร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน ท างานด้วย ความเสียสละ อดทน เพื่อหาสาเหตุของความขัดแย้ง เกลียดชัง เหตุใดชาวบ้านไม่ต้อนรับทหาร ข้าราชการ วิ่งหนี ไม่พูดด้วย เมื่อเราเริ่มปราบ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ใหม่ ๆ เข้าใจว่า ทุกคนไม่รู้จัก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นอย่างไร และพรรคคอมมิวนิสต์เป็นอย่างไร ทุกคนก็นึกว่าเรื่องเล็กนิด เดียว...ตอนผมไปเป็นรองแม่ทัพขณะนั้น 8 ปีแล้ว ยังท าอะไรไม่ได้เลย ผกค.ยิ่งโตขึ้นทุกวัน ถ้าเรา ปล่อยไว้อย่างนี้ไม่มีวันที่จะปราบได้ ก็นึกไปถึงว่าอะไรคือสาเหตุส าคัญที่ท าให้เขาเป็น ผกค. ไม่รู้อะไรที่มาดลใจให้ผมคิดออก ให้พวกเราคิดออก ที่จริงก็ไม่ใช่ผมคนเดียว พวกเรา ช่วยกันคิดว่า เอ๊ะ..ถ้าเราไม่สามารถจะแยกว่าคนไหนเป็น ผกค. และคนไหนไม่ใช่นี่ เราคงไม่มีทางสู้ กับ ผกค.ได้หรอก เราก็ต้องไปยิงกับเขา ยิงผิดบ้าง ถูกบ้าง..ทำอย่างไรจึงจะรู้ ในที่สุดก็ได้คำตอบ “ชาวบ้านถูกรังแก ถูกข่มเหง ถูกรีดไถ ลูกสาวถูกฉุด ถูกข่มขืน อะไรต่าง ๆ นานาร้อยแปด พันประการ ผมบอกว่านี่คือสาเหตุ ถ้าเราไม่สามารถก าจัดสาเหตุนี่ได้ เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่เราก็ไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด แต่เราจะพยายามก าจัด ขอให้เชื่อ ขอให้วางใจและร่วมมือกับเรา ทสปช.จึงเกิดขึ้น ที่จริง ทสปช.นี้จะต้องยกเครดิตให้แก่ คุณสมภาพ ศรีวรขาน นายอ าเภอมุกดาหาร เป็นคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่มาก ท่านไป รวบรวม ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรที่ท่านรู้จักดีมาคิดกันว่าจะต้องป้องกันหมู่บ้านอย่างไร ก็มา ฝึกสอนกัน ก็เกิดแนวคิดว่าวิธีของคุณนี่ดี...ถ้าท าอย่างนี้ได้ทุกหมู่บ้าน มันก็ดี คนดีคนท า ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ เราต้องจ า ต้องยกย่อง... พอมีการฝึก มีการพูดคุย เราก็รู้ว่า ไม่ เพียงแต่ถูกรังแกหากแต่ยังรู้ด้วยว่าในความเป็นจริงแล้ว คนภาคอีสานมิได้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เลย” (อ่านต่อฉบับหน้า)