ขณะนี้รัฐบาลกำลังเตรียมปรับปรุงกระทรวง ไอซีที เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หลังจากที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที เป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว
ที่พิเศษน่าติดตามคือ กระทรวงใหม่นี้จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ 5 ชุด โดยไม่อาศัยอธิบดีที่บริหารในรูปแบบกรมซึ่งอธิบดีบริหารอำนาเบ็ดเสร็จ การบริหารรูปแบบคณะกรรมการจะมีประสิทธิภาพดีกว่าอธิบดีคุมอำนาจคนเดียวอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องติดตามตรวจสอบกันต่อไป ซึ่งถ้ารูปแบบนี้ดีจริง ก็น่าจะปรับปรุงกันใหม่ทุกกระทรวง
แต่จุดที่เราเห็นว่าสำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมไทยเป็น สังคมดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาคุณภาพของคนไทย ซึ่งรัฐเตรียมร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัล พ.ศ 2559-2563 มีมาตรการพัฒนาคนไทยโดยสังเขปดังนี้ มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรวัยทำงานให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างชาญฉลาดในการประกอบอาชีพ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้าน
เทคโนโลยีดิจิทัลในบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งที่ประกอบอาชีพในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลโดยตรงและทุกสาขาอาชีพ ให้มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน เป้าหมายของยุทธศาสตร์
มาตรการ 1. มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในตลาดแรงงาน ทั้งบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ในทุกสาขาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรวัยทำงาน และวัยเกษียณให้มีความสามารถในการ สร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการประกอบอาชีพ น าไปสู่การพัฒนาองค์กรให้สามารถ สร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการได้เท่าทันความต้องการของผู้รับประโยชน์
1.1 พัฒนาความรู้ ทักษะ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรมหรือระบบเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และระบบ e-learning ที่มี คุณภาพตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งในเชิงเนื้อหาสาระและวิธีการน าเสนอ ส าหรับการ เรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลตามความต้องการในหลากหลายระดับทั้งบุคลากรวัยท างาน สถานประกอบการหรือผู้ ที่สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์
1.2 พัฒนาทักษะในลักษณะของการผสมผสานวิทยาการหลายสาขา (Interdisciplinary) ที่จำเป็นต่อ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมบริการด้านดิจิทัล เช่น ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะ ทางด้านการทำธุรกิจและการตลาด ทักษะทางด้านนวัตกรรมบริการ โดยจัดให้มีศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทางด้านนวัตกรรม และปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล
1.3 พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติและบังคับใช้กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้มี ความรอบรู้ และเท่าทันต่อเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ เช่น บุคลากรวิชาชีพด้านนิติศาสตร์มีความเข้าใจและ เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรม
1.4 พัฒนาทักษะและทัศนคติของบุคลากรภาครัฐให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่าง รอบรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อน าไปสู่การเป็นองค์กรที่ทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่าง รวดเร็ว และถูกต้อง