ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ตัดสินใจประกาศนำพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทยอยปิดสถานที่เสี่ยงเป็นลำดับ แต่แนวโน้มของตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 4 ราย ทั้งนี้กระแสของประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ "อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อหมอ" เรียกว่ายอมเจ็บได้ แต่ขอให้จบ และจบลงอย่างรวดเร็ว โดยขอให้มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ และตรงจุด ฉะนั้น จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและพิจารณาให้รอบด้าน ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจข้อมูลและความเห็นของผู้ประกอบการที่ครอบคลุมในแหล่งท่องเที่ยว ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -วันที่ 17 มีนาคม 2563 พบว่า แรงงานเกือบทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างชัดเจน โดยเห็นสัญญาณความเปราะบางกระจายไปยังสาขาบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ทั้งการหยุดกิจการชั่วคราว รายได้จากการทำงานล่วงเวลาลดลง และการเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงาน นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการพยายามรักษาการจ้างงานไว้ และไม่เปิดรับคนเพิ่ม แต่ในอนาคตผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า อาจปรับตัวโดยการลดเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ รวมถึงลดเวลาทำงานหรือให้สมัครใจหยุดงานแบบไม่รับเงินเดือน ขณะเดียวกัน ยังพบว่า ในอนาคตโควิด-19 จะส่งผลต่อแรงงานกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในภาคที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานบริการ และแรงงานในภาคการผลิตจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างไรก็ตาม มาตราการแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลประกาศออกมา มาตการระยะที่ 1 โดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 มีนาคม 2563 - มาตรการดูแลและเยียวยาประชาชน 1.ค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์-สัตวแพทย์ผลัดละ 1,500/คน พยาบาลและอื่นๆ ผลัดละ 1,000/คน2.บรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟและคืนค่าประกันการใช้ไฟ 3.ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้าและลูกจ้าง ม.33 จาก 5% เหลือ 4% ม.39 จาก 9% เหลือ 7% 4.ลดภาระค่าธรรมเนียมค่าเช้า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ยกเว้นค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1 ปีให้กับผู้เช่าประเภทผู้อาศัยและเกษตร 5.สร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน เพิ่มวงเงินกองทุน SSF 2 แสนบาทเป็น 4 แสนบาท - มาตรการดูแลและเยียวยา "ผู้ประกอบการ" 1.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 150,000 ล้านบาท - อัตราดอกเบี้ย 2% 2 ปี สินเชื่อไม่เกิน 20 ลบ./ราย 2. พักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ฯ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3.ธปท.ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ 4.สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของประกันสังคม วงเงินสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี 5.คืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 1.5% (เม.ย. - ก.ย.63) 6.เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการการส่งออก กรณียื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ได้รับคืนภายใน 15 วัน กรณียื่นแบบปกติได้รับคืนภายใน 45 วัน7.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงินงบประมาณปี 2563กรมบัญชีกลางได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ปรับลดขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ 8.หักเพิ่มภาษีดอกเบี้ยจ่ายจาก 1 เท่าเป็น 1.5 เท่า (Solf loan 150,000 ล้านบาท)9.บรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟและคืนค่าประกันการใช้ไฟ10. ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้าและลูกจ้าง ม.33 จาก 5% เหลือ 4% ม.39 จาก 9% เหลือ 7%11.ไม่ปลดแรงงานหักร่ยจ่ายค่าจ้างงานได้ 3 เท่า 12.บรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เลื่อนจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง - มาตรการระยะที่ 2 มาตรการดูแลและเยียวยาประชาชน สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว จำนวน 3 ล้านคน สำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าใช้จ่ายโดย กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงิน ไม่เกิน 180 วัน กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน .สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน มีหลักประกัน สนง.ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตาไม่เกิน 0.125% / เดือน ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็น สิงหาคม 2563 หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นเพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรทางการแพทย์ ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระทรวง อว. เป็นต้น - มาตรการระยะที่ 2 มาตรการดูแลและเยียวยา "ผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19" สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ยืดการภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่นๆให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษา COVID-19 ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank) อย่างไรก็ตาม หลังออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินย่อมจะมีผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น บนความคาดหวังให้สถานการณ์ผ่านพ้นไปในเร็ววัน นั่นหมายถึงการควบคุมไม่ให้มีการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จึงได้แต่ภาวนาร่วมกันวให้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เอาอยู่