มีข่าวว่าพนักงานบริษัทด้าน IT คอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ จะถูกปลดจากตำตำแหน่งคือเลิกจ้างเป้นจำนวนมาก สาเหตุมาจากความรู้ประสิทธิภาพของพนักงานเหล่านั้นตามไม่ทันความรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่ในประเทศไทยเรานั้น เพิ่งอบู่ในขั้นผลักดันให้อุตสาหกรรมพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมยุค 4.0 ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อม ปรับปรุงงานหลายด้าน อุตสาหกรรมไทยในปัจจุบันที่ยังเป็นอุตสาหกรรมแบบเก่า ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นนั้น ยังมีอยู่มาก แม้ว่าอุตสาหกรรมประเภทนี้จะเริ่มทยอยกันย้ายฐานผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งค่าจ้างแรงงานถูกกว่าในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็ยังคงจัดเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมไทย เช่น อุตสาหกรรมด้านอาหาร เป็นต้น อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แก้ปัญหาแรงงานโดยใช้แรงงานต่างชาติ ดังนั้นเยาวชนไทยซึ่งมีเงื่อนไขการศึกษาดีกว่าแรงงานต่างชาติ จะต้องใช้โอกาสนี้รีบพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อันจะทำให้ได้รับค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น แต่เรื่องนี้ก็น่าห่วง เนื่องจากความล้มเหลวของระบอบการศึกษาไทย ที่วางเป้าหมายผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมีฝีมือ เกือบสิบปีมาแล้วที่ประเทศเวียดนามได้วางยุทธศาสตร์ไว้ว่า เขาจะเป็นแหล่งสนองแรงงานมีฝีมือให้กลุ่มประเทศอาเซียน จึงเน้นการศึกษาสายอาชีวะเป็นพิเศษ สำหรับประเทศไทย มีศักยภาพที่จะพัฒนาแรงงานได้ดีก็จริง แต่เนื่องจากการพัฒนาแรงงานยังคงพึ่งหน่วยราชการเป็นหลัก ประสิทธิผลจึงยังน้อยและล่าช้า ประกอบกับปัญหาในส่วนคุณภาพของเยาวชนไทย ที่บางส่วนไม่คิดพัฒนาตนเอง จึงทำให้การพัฒนาแรงงาน ไม่ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน การพัฒนาแรงงานควรมองในสองมิติ มิติที่หนึ่งคือการเพิ่มความรู้พื้นฐาน คือการศึกษาในระบบภาคบังคับ ระบบการศึกษาไทยนั้นเปรียบเหมือนเอาเด็กขึ้นทางด่วน เป้าหมายมุ่งไปสู่ใบปริญญา ไม่มีทางแยกให้เลือกเดิน ไม่ส่งเสริมทักษะสำหรับทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม พูดตรง ๆ ก็คือ การเรียนระดับมัธยมศึกษาทำให้เด็กกลายเป็นคนทำอะไรไม่เป้นเลย มิติที่สองคือการเพิ่มความรู้และทักษะอาชีพ เช่น ทักษะฝีมือช่าง ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการบริการ ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ การพัฒนาทักษะเหล่านี้จะทำให้คนงานมีโอกาสเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น การพัฒนาคนนั้น มิใช่หยุดอยู่ที่การศึกษาภาคบังคับเท่านั้น แต่จะต้องส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต คนไทยยังไม่ค่อยสนใจการเรียนรู้พัฒนาตนเองหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว ส่วนการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานนั้น ปัญหาที่สำคัญขณะนี้คือ การคอยพึ่งหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐด้านการพัฒนาแรงงาน แม้จะทำงานดีเพียงใด ก้ไม่สามารถสนองตอบด้านปริมาณ ให้เพียงพอกับความต้องการในขณะนี้ได้การพัฒนาฝีมือแรงงาน ไม่จำเป็นต้องคอยแต่พึ่งพิงหน่วยงานของรัฐ แต่หน่วยงานของรัฐควรทำหน้าที่กำกับดุแลอำนวยความสะดวกจะดีกว่าเช่น รัฐจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือให้ธุรกิจกู้ไปพัฒนาแรงงาน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะส่งแรงงานไปอบรมได้อย่างหลากหลายและตรงกับความต้องการของตนมากขึ้น