อภิโครงการ "การพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)" เป็นโครงการที่รัฏฐาธิปัตย์ขณะนี้ฝากความหวังและทุ่มเทผลักดันอย่างเต็มที่ ตามแผนที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วนั้น การพัฒนาพื้นที่ EEC จากนี้ไปจะมีทั้งเครื่องมือและกลไกสำคัญที่จะมาขับเคลื่อนการพัฒนาให้เห็น ผลสำเร็จโดยเร็ว ซึ่งรัฐก็มีวิสัยทัศน์แบบดั้งเดิมคือต้องการดึงดูดการลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้มาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม New S-Curve ใน ระยะยาว โดยคาดหวังว่านักลงทุนเดิมจะขยายการลงทุนต่อยอดเพิ่มขึ้น สำหรับในเรื่องของการลงทุน ในช่วงเดือน มกราคม-พฤศจิกายน 2559 มี การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 426 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 415,972 ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัด พบว่า มีการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งสิ้น 364 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 364,793 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน คิด เป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 85.45 ของภาคตะวันออก โดยมีจำนวนกิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและ อุปกรณ์ขนส่ง สูงสุดเป็นอันดับ 1 มีจำนวน 120 โครงการ รองลงมา ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 107 โครงการ และอันดับที่ 3 ได้แก่ กิจการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก จำนวน 67 โครงการ โดยมีเป้าหมายตามแผนการลงทุนในพื้นที่ EEC จะมีทั้งการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน มีมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีแรก โดยคาดหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจโต 5% ต่อปี เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 100,000 อัตรา/ปี ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 4 แสนล้านบาท/ปี จากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่ EEC เช่น สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นที่จอดเรือรบและฐาน ส่งกำลังบำรุง และใช้ ประโยชน์ ใน ภาคอุตสาหกรรมต่อเรือ แท่นขุดเจาะน้ำมัน และขนส่งผู้โดยสาร โดยมีแผนการพัฒนา ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ให้เป็นจุดจอดเรือ ยอชท์ เรือสำราญ (Cruise) และเรือข้ามฟาก (Ferry) เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน พัทยา- จุกเสม็ด-ชะอำ และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้สูง 8 ล้าน ทีอียูต่อปี เป้าหมายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อไปคือ การมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคน/ปี และการได้ฐานภาษีใหม่ 1 แสนล้านบาท/ปี ต่อจากนี้ไปน่าจะเกิดการขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่ EEC โดยเร็วตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการดำเนินการ พัฒนา EEC ก็มีงานสำคัญที่ได้เริ่มต้นไปแล้ว เช่นเมื่อปลายปีที่แล้ว คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ได้เห็นชอบร่างแผนพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564) ประกอบด้วยแผนงาน หลักรวม 1 73 โครงการ วงเงินลงทุ น ร วม 712,645.23 ล้านบาท โดยในปี 2560 จะเริ่มดำเนินการ โครงการเร่งด่วน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992.67 ล้านบาท ส่วนโรงการอนาคตที่ประกาศไปเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ กยิ่งอลังการ เช่น ให้ประกาศพื้นที่ 6,500 ไร่ ของสนามบินอู่ตะเภาเป็นเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือเรียกว่า เมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งจะระดมการลงทุนดังนงนี้ คือ เพิ่มทางวิ่ง (รันเวย์) มาตรฐานอีก 1 ทางวิ่ง วงเงิน 8,000 ล้านบาท การลงทุนในกลุ่มอาคารผู้โดยสารและการค้า เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 15 ล้านใน 5 ปี, 30 ล้านคนใน 10 ปี และ 60 ล้านคนใน 15 ปี วงเงินรวม 200,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานในลักษณะเขตการค้าเสรี เพื่อประกอบอุตสาหกรรมและการค้าเชื่อมโยงกับสนามบินการลงทุนในกลุ่มขนส่งทางอากาศ ทั้งคาร์โก้ สินค้าทางไปรษณีย์ และคลังสินค้าเทคโนโลยีสูง, การลงทุนในกลุ่มธุรกิจซ่อมเครื่องบินครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา วงเงิน 158,000 ล้านบาท เป็นต้น ดูตามโครงการแล้ว จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในภาคตะวันออก ถ้าแผนโครงงานไม่สะดุดติดขัดจากปัญหาความเสี่ยงจากสงครามในเอเชียตะวันออกเสียก่อน