ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะถูกซ้ำเติมจากบริบทภายนอก ทั้งโควิด-19, การท่องเที่ยว, เศรษฐกิจโลก, การส่งออก, งบประมาณล่าช้า และภัยแล้งเข้ามาซ้ำเติม อาจส่งผลให้ GDP ของไทยลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เหลือเพียง 1.5-2.0% เท่านั้นก็ตาม แต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังเข้มแข็งบจากการเชื่อมั่นของต่างประเทศหลายๆแฟคเตอร์ด้วยกัน ยังทำให้ไทยพอมีหวังจะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รอเพียงแต่โอกาสและเศรษฐกิจโลกเอื้ออำนวย เพราะประเทศไทยมิได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจเพียงประเทศเดียว เพราะหลายประเทศต่างเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับไทย เพียงแต่ใครจะใช้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง กลับมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด การวิเคราะห์ของมูดี้ส์ (Moody’s Investor Service) ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือประเทศไทยจากระดับ “มีเสถียรภาพ (stable outlook) เป็น เชิงบวก (Positive outlook)” และคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (credit rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี แสดงถึงความสามารถในเชิงบริหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ค่อยมีใครได้นำมาเผยแพร่ โดย Moody’s ให้เหตุผลดังต่อไปนี้ 1. เกิดจากการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ซึ่งส่งผลกระทบขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย 2. ความแข็งแกร่งทางการเงินภาคต่างประเทศและภาคการคลังสาธารณะ เป็นผลจากการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาคที่มีประสิทธิภาพ 3. รัฐบาลเข้มแข็งทางการเงินภาคต่างประเทศ จะช่วยปรับสมดุลจากการเข้าออกของเงินทุน ซึ่งปัจจุบันมี reserve มากพอในปี 2518 สูงเป็นรองสิงคโปร์เท่านั้น (รวมถึงมูลค่าทองคำด้วย) 4. การดำเนินนโยบายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลที่มีความโปร่งใส ส่งผลให้หนี้รัฐบาลและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ 5. รัฐบาลได้บรรจุแผนารลงทุนด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 6. การแก้ไขปัญหาทักษะแรงงาน และปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากมุมมองและรายงานของ Moody’s ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่ารัฐบาลมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และส่งผลให้เกิดการปฏิบัติให้เกิดรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัด เชื่อว่าจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าหลายปัจจัยผ่านพ้นไปด้วยดี นับเป็นผลงานชิ้นเอกของรัฐบาลชุดนี้ เรื่องมหภาคอีกหลายเรื่องที่รัฐบาลเป็นผลงานเด่นๆ เช่น การพัฒนาสร้างความยั่งยืนตาม SDGs ของสหประชาชาติมาเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความอยู่ดีกินดีของคนจน เช่น ความพอเพียง การบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาล การลดความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นการอภิปรายในประเด็นจุลภาคขนาดเล็กๆ ที่ไม่มีผลต่อประเทศในการพัฒนาในอนาคต เพราะระดับมหภาคย่อมมีความหมายในเชิงบวกได้มากกว่า มั่นใจว่ารัฐบาลคงผ่านพ้นความรำคาญใจกับการอภิปรายไปได้ และสามารถต่อยอดยุทธศาสตร์ชาติได้สำเร็จ