แม้กระแสตื่นตัว ติดตามความเป็นไปทางการเมือง แสดงความคิด ความอ่านของผู้คนในสื่อสังคมออนไลน์ จะมีความคึกคักโดยเฉพาะในช่วงที่ใกล้ไคลแม็กซ์ ของจุดหักเหสำคัญต่างๆเช่น กรณีที่จะมีการพิจารณาคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ในช่วงวันที่21 กุมภาพันธ์ 2563ที่จะถึงนี้
และคิวต่อจากกรณียุบพรรค ก็จะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีพร้อมกับรัฐมนตรีอีก5 คน ซึ่งถือเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรก ในรอบ6 ปี
ที่ทำให้จุดสนใจของสาธารณะ พุ่งมาที่ชะตากรรมของพรรคอนาคตใหม่ มากกว่าประเด็นในการอภืปรายไม่ไว้วางใจ
และที่น่าสนใจก็คือ ข้อมูลจากสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ในการสำรวจเรื่อง ‘คอการเมืองกับการซักฟอกรัฐบาล’ พบข้อมูลว่า ประชาชนร้อยละ 50.7 เข้าใจว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ยังเป็น ส.ส. รองลงมาคือร้อยละ 32.7 ระบุเข้าใจว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น ส.ส. และร้อยละ 16.3 เข้าใจว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เป็น ส.ส.
ผลสำรวจดังกล่าว สะท้อนนัยยะที่ว่า ฝ่ายค้านไม่มีดางเด่นในสภาฯ หรือพูดง่ายๆว่าบรรดาดาวเด่นที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อสังคมล้วนไม่ได้เข้าไปทำหน้าที่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้
แต่กระนั้น การที่บุคคลากรที่เป็นดาวเด่นอยู่นอกสภา ก็ไม่อาจจะดูเบาดารอภิปรายครั้งนี้ได้ ในขณะที่กระแสข่าวที่ิออกมาก่อนหน้านี้ เรื่องของความพยายามเกี้ยเซียะกัน ทำให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ นอกจากฝ่ายรัฐบาลจะถูกตรวจสอบจากฝ่ายค้านแล้ว ในขณะเดียวกันฝ่ายค้านก็ถูกตรวจสอบจากประชาชนด้วย
ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านในประเด็นต่างๆ ดังนี้
หนึ่ง ข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีนั้น เป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเหตุเป็นผลมากน้อยแค่ไหน
สอง ประโยชน์สาธารณะ ประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาอภิปรายจะเชื่อมโยงให้เห็นถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างไร
สาม หากมีหลักฐาน และเอกสารที่นำมาใช้ ต้องเป็นเอกสารจริงตรวจสอบได้ ที่ไม่ใช่ตีหัวเข้าบ้าน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร บนความตาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงแก้ไขเพื่อการบริหารประเทศที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น