ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของไทย หลังใช้บังคับมาเป็นระยะเวลา 2 ปี กับอีก 7 เดือน
โดยเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.62 ที่ผ่านมาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยคะแนนเสียง 445 เสียง โดยไม่มีผู้ใดออกเสียงคัดค้าน พร้อมกันนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯทั้ง 49 คนเพื่อศึกษาใช้เวลาทั้งสิ้น 120 วัน
โดยมีรายชื่อในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี1.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 3.นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 4.นายดำรงค์ พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 5.นายอุดม รัฐอมฤต อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
6.นายกฤษ เอื้อวงศ์ รองเลขาธิการ กกต. 7.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ 8.นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา 9.นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ 10.นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ หัวหน้าพรรคพลเมืองไทย 11.นายโกวิทย์ ธาราณา สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 12.นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
สัดส่วนของพรรคเพื่อไทย 10 คน 1.นายสุทิน คลังแสง 2.นายจตุพร เจริญเชื้อ 3.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ 4.นายโภคิน พลกุล 5.นายชัยเกษม นิติสิริ 6.นายชูศักดิ์ ศิรินิล 7.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 8.นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 9.นายวัฒนา เมืองสุข 10.นายยงยุทธ ติยะไพรัช
พรรคพลังประชารัฐ 9 คน 1.นายวิเชียร ชวลิต 2.นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ 3.นายสิระ เจนจาคะ 4.น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ 5.นายนิโรธ สุนทรเลขา 6.นายรงค์ บุญสวยขวัญ 7.นายทศพล เพ็งส้ม คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ 8.น.ส.วลัยพร รัตนเศรษฐ ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ 9.นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม
พรรคอนาคตใหม่ 6 คน 1.นายปิยบุตร แสงกนกกุล 2.นายชำนาญ จันทร์เรือง 3.นายรังสิมันต์ โรม 4.นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 5.นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 6.นายชัยธวัช ตุลาธน
พรรคภูมิใจไทย 4 คน 1.นายศุภชัย ใจสมุทร 2.นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง 3.นายภราดร ปริศนานันทกุล 4.นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา พรรคประชาธิปัตย์ 4 คน 1.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 2.นายสุทัศน์ เงินหมื่น 3.นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ 4.นายเทพไท เสนพงศ์ พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน คือ นายนิกร จำนง, พรรคเสรีรวมไทย 1 คน คือ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.,พรรคประชาชาติ 1 คน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์
แม้โดยความเป็นจริงต้องยอมรับว่ามเกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จุดพลุมาจาก 7 พรรคฝ่ายค้านเป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้กำเนิดจากน้ำมือของหนึงในแม่น้ำ 5 สายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช. ในขณะที่ฝั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาช่วงชิงจังหวะการนำ ในเกมการเสนอชื่อตัวประธานคณะกรรมาธิการ ฯ คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก่อนที่พรรคประชาธิปัตย์จะถอนชื่อออกไปด้วยเหตุผลว่าไม่มีความมั่นใจว่ามีเสียสนับสนุนเพียงพอ
เนื่องด้วยเมื่อเปิดชื่อของนายอภิสิทธิ์ออกมา ฝั่งแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐก็มีทีท่าเสนอชื่อบุคคลเข้ามาแข่งขันทั้งที่ก่อนหน้านี้ ไม่ได้มีท่าทีต้องการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้แต่น้อย แต่ด้วยเหตุผลที่ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฯนั้น ถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ที่จะสามารถกำหนดทิศทางในการศึกษา แม้จะยังไม่ได้ลงลึกไปในรายละเอียดของมาตรต่างๆ แต่ก็อาจมีธงในการแก้ไขออกมา ซึ่งจะเป็นกรอบในการวางรูปแบบของการแก้ไขต่อไป
อย่างไรก็ตาม การตั้งกระดานแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการเป็นฝ่ายควบคุมเกมเอง จะสามารถขับเคลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาได้หรือไม่ และจะมีคำตอบให้กับประชาชนอย่างไรในการแก้ไขหรือไม่แก้ไขมาตราต่างๆ