ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองที่เปราะบาง เมื่อบรรดาตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆทยอยเปิดเผนมาในช่วงปลายปี ล่าสุดข้อมูลจากสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยในไตรมาส 3/2562 ผู้มีงานทำลดลง 2.1% จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนมี 38.7 ล้านคน มาอยู่ที่ 38 ล้านคน โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 2.3% จาก 25.5 ล้านคน มาอยู่ที่ 24.9 ล้านคน ภาคเกษตรมีการจ้างงานลดลง 1.8% จาก 12.8 ล้านคน มาอยู่ที่ 12.6 ล้านคน สะท้อนได้จากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.04% เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และปัญหาภัยธรรมชาติ การว่างงานเพิ่มขึ้นทั้งผู้ที่เคยทำงานและไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะที่ผู้ว่างงานที่เคยทำงานก่อนพบว่า เพิ่มขึ้น 8.4% เห็นได้จากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 13.5% อยู่ที่ 172,412 คน สูงสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 ที่มีสัดส่วนที่ 2.2% ขณะที่ ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้น 3% ส่วนหนึ่งเพราะเป็นช่วงที่ผู้จบการศึกษาใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 2.15% ทั้งนี้สภาพัฒน์ มองว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจยังไม่ปรากฏผลกระทบต่อตลาดแรงงานในไตรมาส 4/2562 มากนัก แต่สภาพัฒน์ ยังคงติดตามสถานการณ์การเลิกจ้าง อย่างใกล้ชิด การทำงานล่วงเวลา (โอที) ที่ มากกว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 7.9% ส่วนภาวะหนี้สินครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2562 มีมูลค่า 13.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.8% ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าขยายตัว 6.3% ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์เป็นหลัก แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเร็วกว่าหนี้สิน ครัวเรือน ส่งผลให้ระดับสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ยังคงเท่ากับไตรมาสก่อนที่ 78.7% นายทศพรกล่าวว่า ในส่วนของภาพรวมคุณภาพสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง เนื่องจากคุณภาพสินเชื่อหลายประเภทมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/2562 มีมูลค่า 133,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.2% คิดเป็นสัดส่วน 2.81% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 2.74% ขณะที่กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมให้ 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการแรก เป็นมาตรการที่ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และเกิดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ มาตรการ 2 คือการลงทุนในระดับพื้นที่หรือชุมชน โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว รวมทั้งการดูแลเกษตรกรผ่านมาตรการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวนาปี ปีการผลิต 62/63 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)และมาตรการ 3 การดูแลให้ประชาชนเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น โดยจะดึงธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน, ธ.ก.ส., ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ร่วมด้วย ทั้งนี้เราคาดหวังให้มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล ในการประคับประคองเศรษฐกิจแม้จะไม่โงหัวขึ้นก็จะไม่ดิ่งลงไปกว่านี้ ขณะเดียวกันก็คาดหวังให้การแก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งทั้งสองปัญหาเป็นปัญหาสำคัญฉุดให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ