ระยะหลังมานี้ปัญหาข่าวปลอมหรือ Fakenews เป็นปัญหาไปทั่วโลก เพื่อนบ้านเราอย่างสิงคโปร์ เพิ่งจะผ่านกฎหมายป้องกันข่าวปลอมทางโลกออนไลน์ โดยกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่เผยแพร่ข่าวปลอมผ่านบัญชีออนไลร์ปลอม ปรับ 1 แสนดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 72,108 ดอลลาร์สหรัฐ และโทษจำคุกเป็นเลา 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ผู้ที่กระทำผิดที่เป็นองค์กรจะต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ในส่วนของไทยเรานายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการแถลงข่าวเปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม Anti Fake News Cente ไป ท่ามกลาความเห็นที่หลากหลายของฝ่ายการเมือง ด้วยหวั่นเกรงจะเป็นเครื่องมือทางการเมืองเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในประเทศไทยนั้นก็มีความสำคัญ แต่จะดำเนินการอย่างไรให้เป็นมารตรฐานและได้รับการยอมรับ มีข้อมูลที่น่าสนใจจากวงเสวนา “จุดกึ่งกลางการจัดการปัญหา Fakenews” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ฝ่ายสิทธิเสรีภาพสมาคมนักข่าวจัดขึ้น ราชดำเนินเสวนาหัวข้อ "จุดกึ่งกลางการจัดการปัญหา Fakenews" น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ระบุว่าคำว่า “ข่าวปลอม หรือ Fake news” ในความหมายของหน่วยงานราชการที่เรามองอยู่ ก็คือ ข่าวใดก็ตามแม้เป็นเรื่องจริงแต่ถูกนำมาเสนอผิดเวลาไม่ตรงกับเวลาที่เป็นจริง เช่น นำภาพข่าวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วจากน้ำท่วมจังหวัดหนึ่ง มาใช้กับข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งที่มีความรุนแรงต่างกัน จนทำให้เกิดความตระหนกตกใจ หรือเป็นข่าวที่ทำขึ้นมาโดยมีเนื้อหาที่คลาดเคลื่อน ให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือทำให้ประชาชนเกิดความสับสนกระทบต่อสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม หรือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องชี้แจงต่อสาธารณะแต่คลาดเคลื่อนไป ซึ่งเมื่อเกิดข่าวเช่นนี้ เราต้องทำความเข้าใจชี้แจงหรือนำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มาสื่อสารต่อสาธารณะ
ทั้งนี้การที่จะพิจารณาว่าข่าวลักษณะไหนเป็นข่าวไม่พึงประสงค์ จะเทียบเคียงการพิจารณาของแพลตฟอร์ม (ฐานบริการ หรือระบบปฏิบัติการ) ต่างๆ ซึ่งมีเกณฑ์ของแต่ละแพลทฟอร์มอยู่ตามกฎหมายสาธารณะหรือกฎหมายของสื่อสังคมโลกในการรายงานระงับข่าว โดยจากการวิเคราะห์พบว่า ขณะนี้ข่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นเรื่องยาเสพติด 76% , ภัยพิบัติธรรมชาติ 36% , เรื่องเศรษฐกิจ หุ้น 13.6% เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ 21.2% , ที่สร้างผลกระทบให้เกิดความแตกแยก เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศกว่า 10% และการให้ข้อมูลที่ไม่ตรง คาดเคลื่อนกับสิ่งที่เป็นจริง 16% ซึ่งเหลือส่วนที่จะชี้แจงว่าเป็นข่าวปลอมมีแค่ 10 กว่าข่าว โดยขั้นตอนการตรวจสอบ
จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็เสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด โดยมีบันทึกการตรวจสอบทุกขั้นตอนเพื่อให้สังคมมั่นใจ ก่อนจะคุยกับเจ้าของแพลตฟอร์มเพื่อให้นำข่าวเหล่านี้ออกจากระบบ
ทั้งนี้มีคณะกรรมการประสานงานซึ่งหน่วยงานหลัก 80-90% นั้นถือเป็นหน่วยงานอิสระ เช่น สมาคมนักข่าวฯ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ สื่อสร้างสรรค์ หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือนักวิชาการในมหาวิทยาลัย มาร่วมตรวจสอบว่าอะไรคือข่าวปลอม
อย่างไรก็ดีปัจจุบันพบว่าภัยที่เกิดขึ้นจาก Social Media เช่น กลุ่มแชร์หลอกลวง มีมากกว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในอดีต ขณะที่ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดที่มีคาดเคลื่อน คือช่วงวัยเกษียณ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจเคยมีตำแหน่งหน้าที่การงาน เมื่อมีการแชร์ข้อมูล บุคคลที่ได้รับคิดว่าน่าเชื่อถือจึงกระจายต่อเลย ปัญหาก็เกิดว่าคนที่รับข่าวสารนั้น ต้นทุนความเท่าทันในโซเชียลมีความรับรู้แตกต่างกัน ผลกระทบจึงเกิดขึ้นซึ่งคนโพสต์จะมีความผิดแม้จะบอกว่ารับจากคนนี้ ดังนั้น จึ่งต้องสร้างความเข้าใจให้กับบุคคลที่ใช้โซเชียลเพราะจากการลงพื้นที่ต่างๆ พบว่ามีมากถึง 80-90% ไม่เข้าใจการใช้โซเชียล หรือการใช้มือถือดำรงชีวิตในโลกเสมือนจริง
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเห็นว่า การที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตกอยู่ในแสงสปอตไลต์ทางการเมือง และถูกตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆ หัวใจสำคัญคือประชาชนที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญที่สุด ต่อการแสดงบทบาทของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจะทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่แท้จริง