ความตื่นตัวต่อปัญหาขยะพลาสติกในสังคมไทย ยังคงเป็นกระแสอย่างต่อเนื่องหลังการสูญเสียสัตว์หายากอย่างลูกพะยูนน้อย "มาเรียม" นำมาซึ่งความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ในการที่จะช่วยลดขยะพลาสติกที่สามารถทำได้ หลายจังหวัดที่มีลำน้ำไหลลงสู่ทะเล ได้เริ่มทดลองติดตั้งตาข่ายดักขยะ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร ระยอง และในส่วนเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยที่หัวหินนี้ ทดลองติดตั้งตาข่ายดักขยะไว้ที่บริเวณปากประตูระบายน้ำคลองสมอเรียงบริเวณท่าเทียบเรือสะพานปลา เพื่อไม่ให้ไหลลงทะเลเป็นอันตรายต่อทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศน์ สำหรับตาข่ายที่ทดลองติดตั้งนั้น ใช้งบประมาณ 4,000-5,000บาท ในการทำตะแกรงเหล็กและใช้อวนจากคนทีร่รับบริจาค ได้ผลดีเกิดความคาดหมาย สามารถดักขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติกได้นับตัย ไม่ให้ลงทะเลได้ในแต่ละสัปดาห์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยลงเก็บขยะและนำไปคัด 2 วันครั้ง โดยทางเทศบาลจะนำไปปรับปรุงให้ตาข่ายมีความแข็งแรงเพื่อป้องกันการชำรุด และปรับรูปแบบการเก็บขยะให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้จะดำเนินการติดตั้งจตาข่ายอีกหลายจุดที่มีลำน้ำไหลลงทะเล ถือว่าเป็นนวิตกรรมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งหลังจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและมีการตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมทั้งการบำรุงรักษาและซ่อมแซมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลปัจจุบันคนไทยสร้างขยะพลาสติกปีละ 2 ล้านตัน ในขณะที่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้หารือกับเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชนทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ43บริษัทเกี่ยวกับการหาแนวทางขับเคลื่อนการงดแจกถุงพลาสติกให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการโดยวันที่1มกราคม2563จะเป็นวันแรกที่งดการแจกจ่ายถุงพลาสติกประเภทSingleUseหรือถุงพลาสติกชนิดใช้แล้วทิ้งในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากบริษัทห้างร้านต่างๆพร้อมใจกันงดการแจกถุงอย่างเด็ดขาดถือเป็นจุดเริ่มต้นของประเทศไทยลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจังเพื่อให้เป้าหมายของประเทศปลอดถุงถุงพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้งหลงเหลือไม่ให้หลงเหลือในระบบอีกในวันที่1มกราคม2564แต่ผ่อนผันให้เฉพาะถุงใส่อาหารร้อนเท่านั้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยกันทิ้งขยะลงถังและแยกประเภทชนิดของขยะเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกบนบกไหลลงสู่ทะเลทั้งนี้จะเร่งผลักดันให้เกิดกฎหมายงดการใช้พลาสติกในประเทศไทยที่อยู่ระหว่างร่างกฎหมายซึ่งกรมควบคุมมลพิษต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการร่างกฎข้อบังคับที่ไม่ส่งผลต่อภาคธุรกิจในการปรับเปลี่ยนการผลิตพลาสติกก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปโดยกฎหมายฉบับดังกล่าวจะถูกประกาศออกมาใช้ได้ทันในวันที่1มกราคม2563 เราเห็นด้วยกับเป้าหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้วันที่ 1 มกราคม 2563 งดแจกถุงพลาสติก และนับเป็นโอกาสดี ที่จะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในห้วงเวลานี้ ที่มีกระแสและอารมณ์ร่วมของสังคม โดยทุกภาคส่วนพร้อมใจกันให้ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ที่จะต้องร่วมมือกันในการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง จริงจังและต่อเนื่อง โดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่ง