มีการรณรงค์เคลื่อนไหวต่อต้าน การมีส่วนร่วมในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของส.ว. หรือที่เรียกว่า "ปิดสวิทซ์ ส.ว." ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ การรวบรวมเสียงข้างมาก ในการจัดตั้งรัฐบาลของ 2 ขั้วการเมืองนั้นมีปัญหา ไม่เพียงเสียงปริ่มน้ำแต่บางจังหวะ ไม่เพียงพอเสียด้วยซ้ำ
จากท่าทีที่ไม่ชัดเจนของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ถือเป็นช่วงเวลาทองในการสร้างมูลค่าทางการเมือง กระแสข่าวการตั้งเงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาลต่างๆ เช่น ไม่เอาคนนั้นๆ คนนี้เป็นผู้จัดการรัฐบาลเป็นต้น ทั้งที่บางพรรคการเมืองนั้น ตอบตกลงจับขั้วกันตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว กระทั่งพรรคเล็กๆ ที่เป็นเบี้ยหัวแตก ได้เสียงมาพรรคละ 1 เสียง ก็ยังจับกลุ่มรวมตัวกันในการต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี
ในขณะที่ภายในพรรคแกนนำเอง ก็มีปัญหาภายใน เกิดแรงกระเพื่อมจากการเคลื่อนไหวต่อรองตำแหน่งเพื่อกลุ่มก๊วนของตนเอง นั่นจึงยิ่งทำให้ ความจำเป็นที่ต้องใช้บริการ ส.ว.เพิ่มมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะหากจะผลักดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีหวนคืนสู่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง
จึงขอยกบทความเรื่อง "สมาชิกวุฒิสภา 250 คนมาอย่างไรและทําอะไร" (แดนชัย ไชวิเศษ นิติกรชํานาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สํานักวิชาการ) เขียนถึงหน้าที่และอำนาจของส.ว.ชุดแรกเอาไว้ชัดเจน ว่านอกจากอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเปิดช่องไว้ในบทเฉพาะกาล เรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเอาไว้ ทั้งคนในและคนนอก โดยในกรณีการแต่งตั้งจากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่แจ้งไว้
1.ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญน ี้ต้องมีการประกาศผล การเลือกต ั้ งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีพระบรมราชโองการแต่งต ั้ งสมาชิกวุฒิสภาแล้วจึงจะถือว่ามีรัฐสภา ชุดแรก
2. ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาซ ึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภา
3. เป็นบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160
4. เป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
5. การเสนอชื่อบุคคลซึงสมควรได้รับแต่งต ั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกท ั้ งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
6. มติของรัฐสภาที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทําโดยการ ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
ส่วนในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ได้ ก็ให้ดำเนินการดังนี้
1. ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก หากมีกรณี ที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจาก ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ไม่ว่าด้วยเหตุใด
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้
3. ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน
4. ในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ได้แม้จะได้มีมติยกเว้นไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ก็ตามแต่การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจะมาจากชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ก็ได้
5. การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
6. มติของรัฐสภาที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทําโดย การลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา