ดร.วิชัย พยัคฆโส/[email protected] ประเทศไทยกำลังก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งปัจจุบันในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 อยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่กำลังปรับตัวเองเข้าสู่ยุค 4.0 ให้ได้เพื่อลดต้นทุนแรงงานเข้ม้ขนให้น้อยลง ปัจจุบันค่าเฉลี่ยในการใช้หุ่นยนต์ที่เป็น Robot อยู่ที่ 70 ตัว/แรงงาน 10,000 คน ของไทยใช้อยู่เพียง 53 ตัว/แรงงาน 10,000 คน เท่านั้น นับว่าน้อยมาก หากจะเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม 4.0 แล้ว ดังเช่น เกาหลี 531 ตัว/แรงงาน 10,000 คน สิงคโปร์ 398 ตัว และ ญี่ปุ่น 305 ตัว ซึ่งยังห่างไกลกันมากกับการใช้แรงงานแบบเข้มข้น เรื่องนี้รัฐบาลเองให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศหุ่นยนต์ขึ้น (Center of Robotic Excellence) โดยมีเป้าหมายในการสร้างประสิทธิภาพการผลิตเองให้ได้อย่างน้อย 50% เป็น 100 ตัว/ผู้ใช้แรงงาน 10,000 คน สร้างผู้ให้บริการ 1,400 ราย โดยจะลงทุนให้ได้ 20,000 ล้านบาทใน 5 ปี เพื่อลดการนำเข้าสัก 30% (30,000 ล้านบาท) และจะส่งออกให้ได้ในปี 2569 โดยจะตั้งที่ EECI วังจันทร์ จ.ระยอง โดย สวทช. และ วท. จะเป็นผู้ส่งเสริมสิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้เชี่ยวชาญ นับเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะผลิตใช้เอง ประเภท Robot แขนกล แทนที่จะนำเข้าจากจีน เยอรมัน หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งโรงงานทั่วไปยังต้องรอคอยเฉพาะเวลานั้นก่อนอย่างน้อย 5 ปี จึงจะเกิด เรื่องนี้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปของไทย 200 แห่ง ซึ่งมีทั้ง ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ต่างมีแผนจะนำเข้าหุ้นยนต์ประเภทต่างๆ มาใช้แทนแรงงานเข้มข้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตแข่งกับคู่แข่งของประเทศ โดยมีแผนและเป้าหมาย ดังนี้ 1.ระดับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีแผนจะนำเข้าหุ่นยนต์แขนกลเข้ามาแทนคน และนำระบบเซิฟเวอร์เพื่อความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ระบบผ่านความร้อนหรือปิดฝาบรรจุภัณฑ์และอื่นๆ 2.ระดับผู้ประกอบการขนาดกลาง มีแผนจะนำหุ่นยนต์แบบแขนกลเข้ามาใช้บางส่วน เช่น ในการจัดเรียงสินค้ารหรือกระป๋อง บรรจุสินค้าลงกล่อง หาทางปิดกล่อง เป็นต้น 3.ระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น การทำแซนด์วิชด้วยมือคน ใช้แรงงานคนเป็นหลัก มีแผนจะพัฒนาไปสู่ระบบสายพาน เป็นต้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า การผลิตจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นอัตโนมัติมากขึ้น จะสามารถลดแรงงานแบบเข้มข้นลงได้อย่างน้อย 4,000 คน จาก 12,000 คน ซึ่งจะสามารถเพื่มกำลังการผลิตได้อีกอย่างน้อน 30% ของปัจจุบัน สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆอีก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่แสดงท่าทีเพราะติดยึดกับระบบเดิมๆกันอยู่ ซึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคงต้องระดมสร้างความเข้าใจกันต่อไป ในขณะที่กลุ่มผลิตอาหารสำเร็จรูปเริ่มจะปรับตัวเองให้เห็นถึงความคุ้มค่ากับการลงทุนให้เป็น 4.0 จะสามารถเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้เต็มตัว จะสามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมอื่นๆให้เคลื่อนไหวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้มากขึ้น รัฐบาลได้ส่งสัญญาณให้เห็นถึงการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันอยู่ที่ต้นทุนการผลิต จริงอยู่แรงงานบ้านเรายังถูกอยู่ แต่อนาคตค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้น อุตสาหกรรมต้องปรับตัวเองอยู่ดีเพื่อเข้าสู่เวทีการแข่งขันให้ได้ แล้วแรงงานไทยจะเอาไปทำอะไรกัน?