กรณีการตรวจสอบไร่แห่งหนึงที่บุกรุกที่ดินส.ป.ก.โดยพบเส้นเงิน 10 ล้านบาท ไปถึงคนใกล้ชิดของผู้ใหญ่ในพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นข่าวดังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอย้อนกลับไปถึงพระบรมราโชบายที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระราชทานไว้เกี่ยวกับงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ดังนี้

1. การแบ่งสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรในขั้นต้นควรให้เป็นไปตามเนื้อที่เกษตรกรถือครองอยู่เดิมให้มากที่สุด ไม่ว่าจะโดยเจ้าของที่ดินเอง หรือโดยการเช่า ทั้งนี้ ภายในขอบเขตที่พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนดไว้ พื้นที่อาจจะลดลงไปบ้าง ตามสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นนั้น ๆ

2. การจัดตั้งชุมชนที่อยู่อาศัย ควรให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรและให้สอดคล้องกับสภาพเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มากที่สุด และจัดชุมชนให้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเพื่อความปลอดภัย และทำให้การลงทุนในด้านการจัดการสาธารณูปการ เช่น น้ำสะอาด ไฟฟ้า ฯลฯ ถูกลงด้วย

3. จัตระบบการรวมกลุ่มในระดับหมู่บ้านรวมกันป็นสหกรณ์ในเขตปฏิรูปที่ดินและเชื่อมโยงไปถึงสหกรณ์ในเมืองใหญ่ๆ เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ของสมาชิกได้อย่างกว้างขวางโดยแท้จริง

4. การพัฒนาด้านต่าง ๆ รวมทั้งการจัดระบบชลประทาน คมนาคม และ บริการสาธารณูปการต่าง ๆ เมื่อดำเนินจัดหาให้แล้ว ต่อไปก็ให้สหกรณ์รับช่วงไปดำเนินการต่อและจัดการบำรุบำรุงรักษาต่อไป โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลค่อยๆ ถอนตัวออกได้เมื่อสหกรณ์มีประสิทธิภาพ พอเพียงที่จะรับช่วงต่อไป

5. ในระยะแรกจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถและเสียสละอยู่ประจำเพื่อให้คำแนะนำ ส่งเสริม แก่สหกรณ์โดยใกล้ชิด และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากส่วนกลางออกไปตรวจการดูแลเยี่ยมเยียน และให้คำแนะนำเป็นการให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่โดสม่ำเสมอ

6. การจัดที่ดินทำการเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการขยายตัวของประชากรในท้องถิ่นในอนาคตด้วย ดังนั้น ป่าไม้ชุมชนที่ดำริจะจัดสร้างขึ้นอาจใช้เป็นที่สำรองสำหรับการทำมาหากินในอนาคตได้ด้วย

7. การปฏิรูปที่ดินในแต่ละท้องที่ จะต้องเร่งด าเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วในระยะเวลา ประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้เกษตรกรเห็นผลผลิต โดยไม่ชักช้า

8. สำหรับเงินชดเชยค่าที่ดินที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ซึ่งรัฐบาลจะต้อง ทูลเกล้าฯถวายตามกฎหมายของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นจะพระราชทานเป็นเงินหมุนเวียนสำหรับ การดำเนินงาน ของสหกรณ์ในเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าว โดยจะทรงแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสำหรับบริหาร เงินทุนนี้ขึ้นคณะหนึ่ง

9. มีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่เป็นผู้เช่าที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่เดิมได้ทำกิน ในที่ดินนั้นไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน ตราบที่ยังยึดถืออาชีพ เกษตรกรรมอยู่แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น (ที่มาของการปฏิรูปที่ดิน,สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)