เก็บตกมาจากกิจกรรมสัมมนาสาธารณะหัวข้อ “นวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนไทยไม่โกง ในยุค Digital Disruption”  ที่จัดขึ้นโดยหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 15  มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวว่า มาตรการหรือแนวทางการป้องกันการทุจริต ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการก่อปราบปรามการทุจริตต่างเป็นรูปธรรม เชื่อว่าจะทำให้การปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับค่า CPI ให้สูงขึ้น และนโยบายการแก้ไขปัญหาทุจริตของ ป.ป.ช.ปัจจุบัน เน้นการป้องกันนำการปราบปราม การจะป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชนและประชาคม 

นอกจากนี้ พล.ต.อ.วัชรพล ยังได้แสดงความคิดเห็นนอกรอบ ว่า ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ความโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่จะทำให้งานของเราสามารถต้านทานกับอิทธิพลได้ เพราะว่างานของปปช.นั้นเกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในระบบราชการต่างๆ แต่ปัญหาของระบบราชการไทยคือ เรามีหน่วยตรวจสอบมาก แต่ไม่มีเอกภาพในการทำงานและซ้ำซ้อน ถ้ามีการจัดการข้อมูลทั้งหมดอย่างเป็นระบบและใช้ข้อมูลที่ถูกต้องคิดว่าจะทำให้งานโปร่งใสและสามารถต้านทานอิทธิพลต่างๆได้เป็นอย่างดี  มีนวัตกรรมใหม่ๆที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริจได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้นถ้าบ้านเมืองโปร่งใส ไม่มีสินบน ก็มีต้นทุนน้อยลงและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวในบางช่วงบางตอนในการกล่าวเปิดงาน ว่า ในยุค Digital disruption มีเทคโนโลยีต่างๆมากมาย ทำให้ต้องวิ่งแข่งกับการทุจริตคอร์รัปชั่น การแก้ไขปัญหาก็มีความยากขึ้น  หัวใจสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือ mind set ประชาชน และทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมกัน หากเราไม่สามารถเปลี่ยน mind set ของข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูง ราชการและเอกชน โดยยังยืนในจุดที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศชาติและไม่คำนึงถึงความรู้สึกทางด้านจริยธรรม จะส่งผลให้การแก้ไขยิ่งยาก เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกและเป็นอันตรายต่อสังคมไทย 

“โลกมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาการทุจริตมีความซับซ้อน ดังนั้นการที่จะป้องกันคือการเปลี่ยนแปลง mindset สร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้น และเท่าทันที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีความทันสมัย แต่สุดท้ายจะต้องใช้การมีส่วนร่วมจาก ประชาชน เป็นสิ่งสำคัญ และหน่วยงานภาครัฐก็จะต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพ”

ขณะที่นางสาวสุชาตา ช่วงศรี มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2024 ได้กล่าวสุนทรพจน์ในตอนหนึ่งว่า การปลูกฝังความสุจริตและประพฤติชอบต้องอยู่ในทุกภาคส่วน แต่ถึงแม้จะปลูกฝังประชาชนมากแค่ไหนว่าสิ่งใดถูกและสิ่งใดผิด อาจจะมีคนที่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ผิดแต่ก็ยังทำ เพราะฉนั้นเราควรให้ความสำคัญในด้านมาตรการและกฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามอย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎหมายสามารถจัดการกับคนที่ทุริตและประพฤติมิชอบได้ คือสิ่งที่สำคัญที่สุดเช่นกัน  การเป็นตัวอย่างที่ดี และการยกย่องคนในสังคม เพราะสุดท้ายขึ้นอยู่กับตัวเราสร้างความสุจริตเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับเยาวชน ประชาชนและคนรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติตาม หากเราทุกคนร่วมมือกันจะสามารถลดและปราบปรามทุจริตในประเทศของเราและพัฒนาประเทศชาติได้ กิดบรรทัดฐานของสังคม หล่อหลอมให้ทุกคนให้คิดดี ทำดี เดินหน้าไปด้วยกันเพื่อเสียสละเพื่อประโยชน์ของชาติ