แสงไทย เค้าภูไทย
โควิด-19 กลายพันธุ์มาจนถึง BA. 4 BA.5 ยังไม่ไปไหน แม้ฤทธิ์ร้ายจะลดลง แต่ก็ติดง่าย เร็ว ลงปอดง่าย มีตายแล้ว นอน รพ.เพิ่ม 70-80% WHO เตือน ยังเป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ ไว้ใจไม่ได้ เพราะยังจะกลายพันธุ์ไม่หยุด ผ่อนคลายสวมแมสก์ต้องระวังยิ่งขึ้น
แม้จะมองว่าโควิด-19 ภาคกลายพันธุ์มีความรุนแรงน้อยลง แต่ยังน่าเป็นห่วง เพราะตัวเลขคนติดเชื้ออย่างเป็นทางการน้อยกว่าตัวเลขติดจริง
การที่โอไมครอนสายพันธุ์ BA.4 BA.5 แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ( BA 1-2-3-)ทำให้โลกมีแนวโน้มติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 25%
แม้จะไม่รุนแรง บางคนติดเชื้อแล้วแทบจะไม่มีอาการ แต่เพราะมันหลบภูมิเก่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมุ่งลงปอดมากขึ้น
รายงานทางการแพทย์เปิดเผยว่า ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ โอกาสที่จะเกิดความผิดปกติต่อปอดนั้นอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ความผิดปกติของเลือดโดยอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ความเมื่อยล้าอยู่ที่3.3 เปอร์เซ็นต์, อาการผิดปกติที่ไตอยู่ที่ 1.4 เปอร์เซ็นต์, ปัญหาสุขภาพจิตอยู่ที่ 12.1 เปอร์เซ็นต์, ปัญหาโรคเบาหวานโดยอยู่ที่ 2.2 เปอร์เซ็นต์ และความผิดปกติทางระบบประสาทอยู่ที่ 3.6 เปอร์เซ็นต์
ส่วนความเสี่ยง นั้นคนชราหรือมีโรคประจำตัวอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนถึงตายได้
อย่างหญิงชราวัย 82 ปี ชาวสงขลามีโรคประจำตัวเป็นอัลไซเมอร์ เสียชีวิตหลังติดโอไมครอน เป็นต้น
และแม้จะหายป่วยได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หลังหายป่วย ระบบร่างกายที่รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสที่เป็นอาการลองโควิดคือ ประสาท สมอง หัวใจ เป็นเวลากว่าจะหายหลายเดือน
มีคำแนะนำฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น mRNA แต่จากการที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ฉีดเข็มที่ 6 แล้วยังติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่าวัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ BA.4 BA.5 ได้
มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แทน แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่ามันจะต้านโอไมครอน 2 สายกลายพันธุ์นี้ได้
จึงวิตกว่า แม้สองสายพันธุ์นี้จะไม่สู้มีอันตรายรุนแรงนัก ทว่าการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติของมันที่ทุกๆ 3-9 สัปดาห์ จะมีสายพันธุ์ใหม่ออกมา จะเรียกว่า BA.6-7-8 ฯลฯ นั้น
อาจจะมีแผกพันธุ์ที่มีฤทธิ์ร้ายแรงรุนแรงเหมือนเดลตาอันเป็นรุ่นตั้งต้นที่อู่ฮั่นได้หรือไม่ ?
ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยระดับเหลืองและแดงยังมีมาก รพ.ราชวิถีแจ้งว่า เดือนมิถุนายน มีอัตราครองเตียงเพิ่มถึง 70-80% จาก 40% เมื่อเดือนพฤษภาคม
ส่วนรายงานผู้ติดเชื้อวันละ 2,000 ต้นๆนั้น แท้จริงแล้ว ตัวเลขแท้จริง มากกว่า 10 เท่าตัว (สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ.)
ที่น่าห่วงคือยังมีคนตายวันละ 14-18 คนและติดเชื้อลงปอดถึงเกือบ 700 คนทุกวัน
มาตรการสวมหน้ากากอนามัยที่ราชกิจจาฯ ประกาศผ่อนคลายให้เป็นไปโดยความสมัครใจ พร้อมทั้งสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวข้ามจังหวัดภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่กำหนดตามปกติ มีผลทันที
และยังมีการกำหนดให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นมา น่ากังวลอยู่
ทั้งนี้ WHO เตือนว่าอย่าเพิ่งตีความเป็นโรคประจำถิ่น เพราะมันเคยสร้างความประหลาดใจมาหลายครั้งแล้วจากการกลายพันธุ์ จะให้แน่ใจจริงๆต้องดูตอนเข้าฤดูหนาว ถ้าไม่กำเริบอีก ก็แสดวว่ามันเริ่มนิ่งแล้ว
การที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการสรวมหน้ากากอนามัย และถือว่าไวรัสโควิดเป็นโรคประจำถิ่น จะทำให้คนไทยประมาทมากขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว การกินดื่ม การร่วมงานเทศกาล พิธีกรรมทางศาสนา ฯลฯ
ที่น่าห่วงก็คือโรงเรียน เพราะนักเรียนอยู่ในวัยคะนอง มักคลุกคลีหยอกล้อกับเพื่อนๆ ทำให้ใกล้ชิดกัน มีการสัมผัสที่หากมีใครติดเชื้อ ก็จะสามารถถ่ายทอดถึงกันได้ง่าย
เพราะฉะนั้น การผ่อนคลายมาตรการสวมหนน้ากากจึงต้องรัดกุมด้วยระบบป้องกันเข้มงวด เหมือนเดิม
จึงต้องเตือนสติกันตลอดเวลา ว่าไวรัสโควิดมันยังอยู่กับเราอีกนาน
เราจึงต้องอยู่กับมันให้ได้ โดยต้องระมัดระวังตัวเอง เข้มงวดกับการป้องกันตัวเองตลอดเวลา
ต้องดูแลตัวอง เตรียมหยูกยาไว้รักษาตัวเองที่บ้านแบบ ตัวใครก็ตัวมันไปกันเอง