ดร.วิชัย พยัคฆโส
[email protected]
การเมืองกำลังเข้มข้น จะไปในทิศทางใดยังคาดเดาได้ยาก แต่ประเทศไทยมีหลายเรื่องที่จะต้องปฏิรุปกันต่อและมี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ค้างอยู่ในสภาขณะนี้ จึงขอนำเอางานวิจัยของ TDRI ซึ่งได้รับการอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวจัยแห่งชาติ ฉบับสมบูรณ์ ลองมาดูว่า พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. จะมีประเด็นใดบ้างที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของ TDRI
เป้าหมายการศึกษาในอีก 20 ปีข้างหน้า
1.เด็กไทยในการศึกษาขั้นพื้นฐานมีผลการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานเทียบเคียงกับกลุ่มประเทศ OECD โดยมีเด็กไทยอายุ 15 ปีเกินร้อยละ 75 มีผลสอบ PISA แต่ละวิชาในระดับ 2 ขึ้นไป
2.มหาวิทยาลัยวิจัยสามารถผลิตงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับเชิงวิชาการได้รับการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยในระดับโลกสูงขึ้น รวมถึงสามารถสร้างรายได้จากการนำงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์สูงขึ้นแสดงถึงผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ
3.คุณภาพบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไทยสูงขึ้น ตลาดแรงงานได้แรงงานตรงตามความต้องการ สะท้อนผ่านสัดส่วนของนักษึกษาที่จบมาแล้วทำงานตรงสายสูงขึ้น ใช้ระยะเวลาในการหางานหลังเรียนจบสั้นลงและมีรายได้สูงขึ้น ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตที่ดีขึ้น รวมถึงบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อ หลักสูตรของมหาวิทยาลัย
4.สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้คนทุกเพศทุกวัยสามารถเสริมทักษะได้ตลอดเวลา สะท้อนผ่านตัวชี้วัด เช่น อัตราการกลับเข้าเรียนรู้ของคนวัย 25-60 ปีสูงขึ้น สัดส่วนวัยทำงานที่ได้รับการ reskill สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับอุดมศึกษาไทย 4 ด้าน
1.มหาวิทยาลัยราชภัฎจะได้รับผลกระทบสูงจากจำนวนนักศึกษาที่ลดลง ควรเปิดหลักสูตรที่มีความต้องการน้อยและปรับหลักสูตรที่เหลืออยู่ให้ตรงตามต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานในและนอกพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
2.มหาวิทยาลัยวิจัย จะยังคงดึงดูดนักศึกษาได้มากแต่คุณภาพแตกต่างกันอย่างมากในชั้นเรียนเดียวกัน ควรมุ่งเน้นระดับบัณฑิตวิทยาลัย โดยเน้นทำงานวิจัยที่เน้นขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อให้งานวิจัยเป็นที่ต้องการของภาคเอกชนและช่วยให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
3.มหาวิทยาลัยเปิดมีผู้เรียนในรูปแบบนอกเวลาจำนวนมาก ทั้งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและนักเรียนที่กำลังจะจบชั้น ม.ปลาย ควรปรับหลักสูตรเข้าสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและ Reskill คนวัยทำงาน
4.มหาวิยาลัยสังกัดรัฐ มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดควรปรับตัวเป็นหน่วยผลิตองค์ความรู้ท้องถิ่น หากเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับควรทำงานวิจัยผนวกกับงานบริการทางวิชาการในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาชุมชน หากมีหลายแห่งในสถานที่เดียวกันควรปรับจูนรวมกัน
นับเป็นผลงานวิจัยของ TDRI ที่มีคุณค่ายิ่ง มีรายละเอียดและมารตรการพร้อมกับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่การศึกษาไทย ควรได้นำมาช่วยปรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ให้สมบูรณ์รองรับกับยุทธศาสตร์ 20 ปีต่อไป