ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] ร่างแผนฯ 13 ของสภาพัฒน์ มีจุดหมายปลายทางในปี 2570 ซึ่งสภาพัฒน์ได้ประเมินไว้ว่าประเทศไทยจะสามารถพลิกโฉมประเทศได้ด้วยมาตรการของแผนและกลยุทธที่มีรายละเอียดได้ผลสรุป ดังนี้ -เศรษฐกิจมูลค่าสูงบนฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรม 1.ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายมีศักยภาพสูง 2.การแข่งขันทางการค้าเปิดกว้างและเป็นธรรม 3.ระบบนิเวศตอบโจทย์เศรษฐกิจสมัยใหม่ 4.ส่งเสริมการค้า การลงทุนและนวัตกรรม -การผลิตและบริโภคมีความยั่งยืน 1.การใช้ทรัพยากรในการผลิตและบริโภคมีประสิทธิภาพ 2.ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม 3.การปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกน้อยลง -สังคมแห่งโอกาสสำหรับทุกกลุ่มคนและทุกพื้นที่ 1.ทุกกลุ่มคนมีโอกาสในการยกระดับสถานะ 2.คนไทยทุกคนได้รับสวัสดิการที่เพียงพอต่อคุณภาพชีวิต 3.ความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ลดลง -กำลังคนสมรรถนะสูง 1.คนไทยมีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ 2.กำลังแรงงานมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน 3.ระบบการศึกษาและพัฒนาทักษะได้มาตรฐานมีทางเลือกหลากหลาย -พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ 1.กฎระเบียบโครงสร้างพื้นฐานเอื้อต่อการปรับเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล 2.มีความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดเพิ่มขึ้น 3.การบริหารจัดการของรัฐยืดหยุ่นมีประสิทธิภาพ นับเป็นบทสรุปส่งท้ายให้มองเห็นอนาคตได้บ้าง คงต้องอยู่ที่การจัดการภาครัฐในการดำเนินภารกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปลี่ยนแนวคิดเพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆโดยเฉพาะภาคการเมืองต้องเข้มแข็ง มีเอกภาพ และมีความมั่นคง จึงขึ้นอยู่กับแผนภาคปฏิบัติและกลยุทธ์ที่จะต้องจริงจังต่อแผนดังตัวชี้วัดของสภาพัฒน์ จะสำเร็จหรือไม่ในฉบับหน้า