ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลเน้นให้พัฒนาเศรษฐกิจไทยโดยการขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั่วทุกภาค เพิ่อดึงเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา“เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ย่อมมีความพิเศษแน่นอน นั่นคือเป็นสิทธิพิเศษสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลพิเศษเหล่านั้นคือนักล ทุน หรือ “ทุนไร้สัญชาติ - ไร้ตัวตน” คนยากจนย่อมไม่มีทางเป็นบุคคลพิเศษได้ การขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงน่าไตร่ตรองว่า คนยากจนไทยจะได้อะไร ? เสียอะไร ? คนยากจนในชนบทที่ถูกเวนคืนมาทำเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นสูญเสียที่ดินไปแล้ว และกำลังสูญเสียวิถีชีวิตแบบเดิมที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา วิถีชีวิตใหม่ขอชาว้านทั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และจุดพัฒนาเศรษฐกิจรอบ ๆ ศูนย์กลางตัวจังหวัด เช่น ที่ตำบลบ้านเพีย อำเภอบ้านไผ่ กำลังก่อสร้าง โรงเก็บน้ำมันใหญ่ที่สุดในอีสาน , โรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ , โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ สภาพแวดล้อมการทำมาหากินจะเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน จากเกษตรกรราย่อยยากจนมาเป็น “คนจนเมือง” การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางนี้ จะแก้ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ และจพทำให้คนจหมดไปจากสังคมไทยได้จริงหรือ? การวิจัยทางวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. พบว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นถูกวางมาตั้งแต่ปี 2538 ที่เป็นผลมาจากธนาคารเอดีบีเริ่มรู้แล้วว่าทุนกำลังจะตาย จึงมีนวตกรรมการเงินเพื่อหลอกล่อทุนสมัยใหม่ให้เกิดการลงทุน จึงมีแนวคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในแต่ละภูมิภาคของโลกตามมา รัฐบาลไทยพัฒนาแนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษมาตั้งแต่ปี 2545 มีการเริ่มต้นขึ้นที่ภูเก็ต และเขตเศรษฐกิจพิเศษก็โยกไปตามวาระของรัฐบาล ช่วงหนึ่งมีการประกาศไปที่เชียงราย แล้วก็ตาก จนสุดท้ายรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ก็เลยประกาศ 10 จังหวัด และทยอยประกาศเพิ่มมาเรื่อยๆ นอกจากนั้นก็มีการประกาศคัสเตอร์อุตสาหกรรม ที่ผ่านมาบ้านเราดันเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ตามพื้นที่ชายแดน เพราะหากจะนำมาตั้งในพื้นที่ใจกลาง ก็เกรงเรื่องการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างชาติ กรอบแนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นเป็นเรื่อง การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอดีบีอยากให้เอกชนกู้เงินไปลงทุน และการพัฒนาระดับภูมิภาคให้ทรัพยากร ทุน แรงงาน เคลื่อนตัวได้ง่ายๆ อีกส่วนหนึ่งคือแนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ การเอื้ออำนวยด้านกฏหมาย การลงทุน ที่เป็นความได้เปรียบของคนมีเงิน เขตเศรษฐกิจเป็นการสร้างข้อกำหนดที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำมีแต่การสนับสนุนเอื้ออำนวยทุน แต่กลับไม่ส่งเสริมชาวบ้าน ต้นทุนเศรษฐกิจ เงิน ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรม และทุนทางการเมือง เป็นเรื่องที่ทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำ ต้นทุนในหลายด้านคนจนอาจไม่มี แต่ก็มีต้นทุนทางวัฒนธรรม แต่เรื่องเหล่านี้ก็ไม่มีการพูดถึงในเขตเศรษฐกิจพิเศษ รัฐสนใจแต่ทุนอำนาจ กับทุนทางเศรษฐกิจ การจัดการพื้นที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับคนจน เป็นกลไกของความเหลื่อมล้ำที่กระทำต่อคนในพื้นที่ เป็นการให้สิทธิพิเศษทุน เอื้ออำนวยในหลายๆ เรื่อง แต่ไม่ใส่ใจกับคนจนในพื้นที่