ทุกสรรพสิ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยน ไม่มีอะไรอยู่ยงยั่งยืน ไม่มีอะไรยึดมั่นไว้ได้ตลอดไป.... สัจธรรมนี้พุทธศาสนาสอนมานานแล้ว แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ รับไม่ได้ ไม่อยากรับ ไม่อยากเชื่อ เพราะขัดแย้งกับกิเลสความต้องการในตนเอง ทุกสรรพสิ่งนั้นรวมทุกอย่างจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของปัจเจกชน เรื่องทางวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องทางสังคม นับตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับนครรัฐ ระดับประเทศชาติ-อาณาจักร-จักรวรรดิ นถึงระดับทั่วโลก ก็มีวามเปลี่ยนแปลงมาตลอด เพียงแต่ในอดีตนั้นการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลานาน ต้องผ่านชีวิตคนหลายรุ่นจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง มนุษย์จึงไม่ค่อยรู้สึกตัว แต่การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันนี้ รวดเร็วมาก ในชีวิตคนเพียงรุ่นเดียวก็เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ในอดีตต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจึงจะเปลี่ยนได้ อีกทั้งมันยังเป็นเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับสังคมด้วย จึงกระทบถึงทุกชีวิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก ได้ส่งผลให้สถาบันทางสังคมในอดีตเปลี่ยนแปลง ระดับพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินมาแล้ว การปฏิวัติเทคโนโลยีขณะนี้ก้กำลังจะนำไปสู่การเปลี่ยนแลงระดับพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินกันอีก ใคร...อะไร...ปรับตัวไม่ได้ ก็จะเลือนหายไป จนกระท่งสูญสิ้นไปในที่สุด เปรียบเทียบกับประวัติวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใดปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ก็จะสูญพันธุ์ไป “สังคม” ก็คล้ายกับสิ่งมีชีวิต ส่วนประกอบขอสัคมส่วนใดปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ก็จะจบสิ้นไป ทั้งหมดที่เกริ่นมานี้ เพียงเพื่อเตือนว่า สังคมไทยต้องตื่นตัวมากกว่านี้ ต้องเร่งปรับเปลี่ยนให้ทันกับสภาวะแวดล้อมใหม่ที่กำลังจะมาถึง ยกตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจ เพราะคนทั่วไปมักเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในสังคม ธุรกิจภาคการเงินก็กำลังเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างรูปธรรมเช่น สถาบันทางอินเตอร์เน็ตของนาย แจ็ค หม่า กำลังจะทำให้สังคมระดับเมืองใหญ่สองเมืองในจีน “เลิกใช้เงินสด” กันจริง ๆ ธนบัตรและเหรียญจะถูกแทนที่ ลดความสำคัญลงอย่างมากในสองเมืองนั้น แล้วยังไง แล้วคนไทยจะไปเดือดร้อนอะไรด้วย ? ก็ลองเทียบกับปัญหา “การปฏิรูประบบรถรับจ้างทางแอพพลิเคชั่น” เช่น อูเบอร์ ดูเถิด ปัญหานี้ยังเป็นเรื่องไกลตัวของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เมืองไทยไม่จำเป็นต้องมีระบบนี้ก็ได้ แต่เมืองไทยมิได้อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากสังคมโลก ระบบรถรับจ้างทางแอพพลิเคชั่นมันก็ต้องรุกเข้ามาถึง ไม่มีทางจะปิดประเทศได้ เมื่อเข้ามาแล้ว “รัฐ” ไม่ขยับเขยื้อน คือไม่ปรับเปลี่ยนตนเองเลย มันเกิดปัญหาความขัดแย้งในหมู่ประชาชนขึ้น นี่เป็นตัวอย่างปัญหาเล็ก ๆ แล้วไม่คิดหรือว่า จะมีปัญหาที่ใหญ่โตกว่านี้ตามมาอีกในไม่ช้านี้ นี่คือตัวอย่างการปรับตัวล่าช้าของหน่วยงานรัฐ ทั้งหน่วยงานรัฐและมวลชนจำนวนมาก(รวมถึงพวกข้าราชการด้วย) ยังไม่ตื่นตัว ยังไม่เห็นความจำเป็นของการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของโลก