พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ผ่านพ้นการลงมติของบสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วถึง 253 เสียง เท่ากับฝ่ายค้านได้มีโอกาสอภิปรายและตั้งข้อสังเกตกันมากมาย เพียงแต่รัฐบาลจะรับเอาข้อท้วงติงเหล่านั้นกลับไปทบทวนในการตั้งงบประมาณปี 64 มากน้อยเพียงใด
ย้อนกลับมาดูกระทรวงต่างๆที่ทำหน้าที่ในแต่ละภาระกิจที่แตกต่างกันมีทั้งกระทรวงที่หารายได้เข้ารัฐ กระทรวงที่จะเป็นต้นน้ำในการผลิตพืชเศรษฐกิจสินค้าออกจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ และกระทรวงที่ใช้เงินเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีเรื่องที่น่าสังเกตในการจัดทำคำของบประมาณครั้งนี้
กระทรวงที่สร้างรายได้เข้ารัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่เก็บภาษีจากประชาชน การค้า และการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าของประเทศ เป็นกระทรวงหลักในการนำภาษีของประชาชนให้รัฐบาลได้นำมาจัดสรรเพื่อพัฒนาประเทศ
กระมรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นอีกกระทรวงที่นำรายได้การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการลงทุนน้อยมาก จากจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 40 ล้านคน นำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 4 ของโลก
กระทรวงพาณิชย์ เป็นกระทรวงหลักในการค้าขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ คงต้องพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีราคาสูงขึ้นโดยไม่ต้องประกันรายได้อีกต่อไป รวมการค้าขายกับต่างประเทศ ใช้ทูตพาณิชย์ให้เต็มที่ มีโควต้าให้แต่ละคนไปทำหน้าที่ค้าขายกับประเทศเหล่านั้นเป็น KPI แต่ละประเทศ
รัฐวิสาหกิจ 55 แห่ง นำรายได้จากการสร้างธุรกิจที่แตกต่างกันโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนสูงๆ หรือรายได้จากการดำเนินธุรกิจรูปแบบต่างๆ คงมีเพียงไม่ถึงครึ่งของ 55 แห่ง ที่ทำกำไรส่งเข้ารัฐเพียงแสนกว่าล้าน ซึ่งควรจะได้มากกว่านี้หลากหลายเท่า ยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชั่นจนมีหนี้สะสมมากมาย
จะเห็นว่ามีเพียง 3 กระทรวงหลักและรัฐวิสาหกิจไม่กี่แห่งที่สามารถหารายได้เข้ารัฐมาพัฒนาประเทศ แต่หากจะดูที่งบประมาณที่ใช้กลับได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ยังคงตั้งงบประมาณเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่เกิน 10-20% เป็นประจำทุกปี งบประมาณจึงไม่ครอบคลุมภาระกิจการพัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งควรต้องพิจารณากันใหม่ในปี 64 ว่าหน่วยงานหลักที่หารายได้จะสามารถพัฒนารายได้เพิ่มเติมได้อย่างไร หากรัฐฐาลให้งบลงทุนที่มากกว่าเดิม โดยไม่มีข้อกำหนดการของบประมาณแบบเดิมๆอีกต่อไป
ส่วนกระทรวงอื่นๆที่ใช้เงินงบประมาณมากๆ ควรได้พิจารณาให้งบประมาณเท่าที่จ่ำเป็น เช่น กลาโหม เป็นต้น นอกนั้นเป็นกระทรวงสร้างคน สร้างความแข่งขันของประเทศ ดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนและกระทรวง พม. ควรเพิ่มเติมงบประมาณให้พอเพียงกับความขาดแคลนที่มีอยู่
สำหรับกระทรวงต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรม เกษตร พลังงาน คมนาคม เป็นกระทรวงที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาสินค้าให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ควรพิจารณาเพิ่มเติมให้ตามความเหมาะสม
ส่วนการแก้ภัยแล้งต้องจัดระบบการบริหารจัดการน้ำเสียใหม่ เพราะประเทศไทยมีแนวโน้มเกิดวิกฤติมากขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ในรอบ 40 ปี ที่มมีน้ำแห้งขอด เดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาระยะยาวแบบยั่งยืนโดยมีแผนการลงทุนในระยะ 10 ปี ให้เครื่องมือเขาขุดกักเก็บน้ำเอาเองให้สามารถแก้ไขปัญหาให้หลุดพ้น น้ำไม่มีอุปโภค บริโภค หรืออุทกภัยให้ลดน้อยลง จะลงทุนมากในปีแรกๆคงไม่มีใครว่า แต่มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คงไม่เกิดผลดี มีแต่จะเป็นเสียงก่นด่ารัฐบาล เช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนๆที่ปล่อยให้น่ำท่วม เกิดอุทกภัยใหญ่กับพี่น้องกรุงเทพมหานคร
โดยสรุปการจัดสรรงบประมาณคงต้องปรับปรุงใหม่ เช่น กระทรวงใดเป็นกระทรวงหาเงินควรเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้น กระทรวงที่ควรปรับยุบรวมกัน เช่น กระทรวงวัฒนธรรม น่าจะรวบกับกระทรวงการท่องเที่ยว ส่วนการกีฬาแยกออกมาต่างหาก น่าจะสอดคล้องในภาระกิจมากกว่า ดังเช่นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ข้อสังเกตไว้