แสงไทย เค้าภูไทย
ปัญหาถุงพลาสติกใช้แล้ว กลายเป็นขยะเกลื่อนเมือง แก้กันที่ปลายเหตุด้วยการเลิกใช้นี้ มาถูกทางไหม ? คนไทยกับแรงงานเมียนมาร์ใครทิ้งถุงก๊อปแก๊ปลงทะเลมากกว่ากัน ? อุตสาหกรรมพลาสติกคนงานกว่า 4 หมื่นคนจะประสบชะตากรรมอย่างไร ?
นี่คือผลตามมาจากการยกเลิกใช้ถุงพลาสติกก่อนกำหนด 2 ปี ด้วยแรงกดดันจากสื่อสังคมออนไลน์
เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก หากรัฐราชการของไทย กลายเป็นรัฐบ้าจี้ ใครสร้างกระแสสังคมขึ้นมา ก็พากันบ้าจี้ตาม
ไม่ว่าจะด้านการต้านขยะพลาสติกจนถึงต้านยาปราบศัตรูพืช
การใช้ถุงพลาสติกแทนถุงกระดาษเริ่มมาตั้งแต่ 40 ปีก่อน เป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่มีคุณูปการทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างใหญ่หลวง
แต่เพราะการจัดการดูแลกำจัดถุงพลาสติกใช้แล้วไร้ประสิทธิภาพ ทำให้กลายเป็นขยะพลาสติกสร้างปัญหา
โดยเฉพาะในทะเลทำให้ปลา เต่า ที่กินมันเข้าไป เกิดลำไส้อุดตันตาย ขณะที่ส่วนใหญ่ลอยไปติดชายหาด เป็นภาพอุจาดตา
อันที่จริงคนที่ใช้ถุงพลาสติกแล้วทิ้งแบบไม่รับผิดชอบนั้น ในหมู่คนไทยแล้วมีไม่มากเท่าแรงงานต่างชาติ
ส่วนใหญ่เป็นพวกแรงงานต่างด้าวซึ่งมีการศึกษาต่ำ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมไทยที่พวกเขามาอาศัยทำกินน้อยมาก
จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ตัวเลขล่าสุดราว 3,028,000 คน เป็นแรงาน 4 สัญชาติ เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา ถึง 2,748,189 คน
แรงงานเหล่านี้ มาจากสังคมระดับล่าง เมื่อมาอยู่เมืองไทย ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับพวกของตน ไม่ได้รับหรือซึมซับวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ของคนไทยซึ่งมีระดับการศึกษาสูง
พวกนี้เป็นพวกที่ “กินที่ไหนทิ้งที่นั่น” ขนาดอยู่ในสวนสาธารณะมีม้านั่ง มีถังทิ้งขยะ ก็ยังไม่ทิ้ง
นี่คือตัวการสำคัญที่สุดที่ปล่อยให้ถุงพลาสติกปลิวไปลงทะเล เพราะแหล่งที่แรงงานต่างด้าวพวกนี้ทำงานและพักอาศัยหนาแน่นที่สุดคือมหาชัย เมืองก้นอ่าว
นอกจากนี้ ยังมีสถานบริการในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่พวกนี้ไปรับจ้างทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟ เป็นคนครัว ลูกจ้างร้านขายของ ฯลฯ ที่เป็นตัวการกระจายถุงพลาสติกใช้แล้ว
นักท่องเที่ยวจีนก็เป็นอีกพวก โดยเฉพาะพวกไปเที่ยวทะเล ไม่ต่างจากฉิ่งฉับทัวร์ของไทย ที่ทิ้งขยะกันแบบไร้จิตสำนึก
จากภาพที่นักท่องเที่ยวจากโลกตะวันตกที่ถือถุงช่วยกันเก็บขยะชายหาดแล้ว ทำให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจและจิตสำนึกที่สูงกว่าคนบ้านเรามาก
ภาคบริการชุมชนของรัฐก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนให้ถุงพลาสติกล่องลอยไปตามลม เหตุจากจัดถังทิ้งขยะไว้บริการน้อย
ถ้าเทียบกับร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น แฟมิลีมาร์ท แล้ว พวกร้านสะดวกซื้อมีถังขยะไว้บริการมากกว่าที่กทม.และหนว่ยงานบริการด้านนี้ของรัฐทั่วประเทศหลายเท่าตัว
ถ้ามีถังขยะเพียงพอ มีการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ เข้มงวดลงโทษคนทิ้งขยะในที่ในที่สาธารณะ ขยันจับ ขยันปรับ
โซเชียลช่วยกันถ่ายภาพประจาน ขณะที่รณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยและต่างชาติทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้ ปัญหาขยะพลาสติกก็จะลดและหมดไป
ไม่กระทบถึงแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก ที่ขณะนี้มีแนวโน้มถูกลดหรือปลด
โรงงานพลาสติกเฉพาะที่ผลิตถุงป้อนห้างและร้านค้ากว่า 24,500 แห่งนั้น จ่อปิดกิจการหรือลดคนงานขนานใหญ่
เพราะการย่นระยะเวลาห้ามใช้ถุงพลาสติก จากที่ตั้งไว้ปี 2565 มาเป็นวันที่ 1 มกราคมนี้
อุตสาหกรรมพลาสติกปรับตัวกันไม่ทัน
นี่คือผลของ การมองด้านเดียวของภาครัฐ แก้ไม่ถูกจุด
บ้าจี้ไปตามกระแสสังคมออนไลน์