ก่อนที่สภาปฏิรูปแห่งประเทศไทย สปช. จะจบบทบาทไป สปช. ได้นำเสนอบทสังเคราะห์ "การปฏิรูปประเทศสู่อนาคต 2575" ซึ่งมีเป้าหมาย 5 ด้าน คือ 1) ให้เป็นการเมืองที่เปิดกว้าง ไม่ผูกขาด มีส่วนร่วม ผู้นำดีและเก่ง 2) รายได้ 480,000 คนต่อปี 3) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการพัฒนาสุวรรณภูมิและอาเซียน 4) ผลสัมฤทธิ์เด็กไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอยู่ใน Top 5 ของเอเชีย 5) พื้นที่ป่าเพิ่มเป็น 40% ระบบน้ำครอบคลุม 70%
โดยมีจุดเน้นการปฏิรูปใน 4 ด้านหลัก คือ
- การปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform) ซึ่งภาคการศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ คือ 1) การสร้างศูนย์ร่วมของความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ ท่องเที่ยว สุขภาพ เกษตร อาหาร พลังงานทดแทน ยานยนต์ และพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบ เช่น ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องมือแพทย์ 2) การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายอาเซียน (Center of ASEAN Connectivity) 3) Home of Innovative Enterprise, Start-Up Nation ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการเป็นสังคมผู้ประกอบการ การพัฒนาอุตสาหกรรมบนฐานนวัตกรรมของอุตสาหกรรม การปฏิรูประบบวิจัย เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมของประเทศ
- การปฏิรูปสังคม (Social Reform) ในส่วนของการศึกษาได้นำเสนอใน 2 ด้านที่สำคัญ คือ 1) ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ในคุณภาพและโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่งต่อตำบล และโรงเรียนมัธยม 1 แห่งต่ออำเภอ รวมทั้งได้กำหนดว่า ควรจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยมีขั้นตอนในช่วง 2 ปีแรก นับตั้งแต่ปี 2558 ควรมีการนำร่องจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ หลังจากนั้นในอีก 7 ปีข้างหน้า (ในปี 2565) ให้มีการกระจายอำนาจและทรัพยากรลงสู่ฐานกลไกจังหวัด พร้อมทั้งให้มีกรรมการการศึกษาจังหวัดและสมัชชาการศึกษาจังหวัดเกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่วนอีก 17 ปีข้างหน้า (ในปี 2575) ควรจัดให้มีหลักสูตรการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ตามภูมิสังคมของพื้นที่ เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนที่สูงขึ้น 2) ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งควรมีกลไกสามประสานเชื่อมโยงในระดับพื้นที่ คือ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
- การปฏิรูปสาธารณะ (Public Sector Reform) โดยเสนอให้มีการศึกษาเป็นหนึ่งในสามกลไกการปฏิรูปที่สำคัญภาครัฐ นอกเหนือจากการปฏิรูปภาคเกษตร และกิจการพลังงานและไฟฟ้า โดยได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นเป้าหมายให้ผลสัมฤทธิ์เด็กไทยเป็นอันดับสองของอาเซียน และอยู่ใน Top 5 ของทวีปเอเชีย โดยมีประเด็นการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ ควรกระจายอำนาจสู่การจัดการเชิงพื้นที่ การปฏิรูประบบการเงินด้านอุปสงค์จ่ายตรงกับผู้เรียนและสถานศึกษา การปรับโครงสร้างอัตรากำลังของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรองรับบทบาทใหม่ ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก (Regulator) การใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายฯ ยืนระยะการปฏิรูปให้ต่อเนื่อง 10-15 ปี และการปฏิรูปวิธีการเรียนและหลักสูตร โดยได้กำหนด Road Map การปฏิรูปการศึกษาในช่วง 2 ปี (ปี 2560) 7 ปี (ปี 2565) และ 17 ปี (ปี 2575) ดังนี้
- การปฏิรูปการเมือง (Political Reform) เพื่อนำประเทศไทยไปสู่แผนการปฏิรูปประเทศในปี 2575 คือ ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยจัดโครงสร้างระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิ การกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจ ระบบบูรณาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การเชื่อมโยงระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐ การปรับโครงสร้างและอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนปฏิรูปวิธีการเรียน การปรับปรุงโครงสร้างระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย เป็นต้น
แล้วประเทศไทยกำลังเดินไปทางนั้นหรือเปล่า ? ใครรู้บ้าง