ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] มีการพูดถึงหนี้สาธารณะกับหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เกรงว่าประชาชนจะมีอันเป็นไปเสียก่อน ดูจากการผิดนัดชำระหนี้และ NPL สูงขึ้นตามลำดับ ดูจากสถิติพบว่าหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีหนี้ครัวเรือนมาก หมายความถึงคนไทยยังยากจนอยู่เยอะ เช่น หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปี 2557 = 79.9% ปี 2558 = 81.2% ปี 2559 = 79.6% ปี 2560 = 78.3% ปี 2561 = 78.6% หนี้ที่มีการผิดนัด ปี 2557 = 2.61% ปี 2558 = 2.38% ปี 2559 = 2.63% ปี 2560 = 2.55% ปี 2561 = 2.42% ปี 2562 ไตรมาสแรก = 2.56% ปี 2562 ไตรมาสสอง = 2.76% สัดส่วนหนี้เสีย ปี 2557 = 2.15% ปี 2558 = 2.55% ปี 2559 = 2.83% ปี 2560 = 2.91% ปี 2561 = 2.94% ปี 2562 ไตรมาสแรก = 2.94% ปี 2562 ไตรมาสสอง = 2.95% นอกจากนี้สภาพัฒน์ฯ ยังออกมาระบุว่าไตรมาสแรกของปี 2562 หนี้ครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากไตรมาส 4 ของปี 2561 อยู่ที่ 12.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% คิดเป็นสัดส่วน 78.6% ต่อ GDP ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อการอุปโภคบริโภค เท่ากับว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจล้มละลายได้ และจากการวิจัยของบางสำนักพบว่าคนไทยมีหนี้เร็วขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อยกว่า 20% ของผู้กู้ในช่วงอายุ 20 ปี การเป็นหนี้เสียเยอะขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 377,109 บาท เพิ่มเป็น 552,499 บาท และพบว่าหนี้มาจากผู้กู้รายเดิมถึง 80% อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามลดภาระหนี้ให้ทุกวิถีทาง แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่เมื่อดูหนี้สาธารณะยังพอเบาใจได้บ้างว่า GDP เราเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนของเราน้อยลงไม่เกินมาตรฐาน ปัจจุบันพบว่ามีเพียง 41.45% ของ GDP ปี 2557 GDP 13,132,253 หนี้ 43.33% ปี 2558 GDP 13,588,865 หนี้ 42.56% ปี 2559 GDP 14,330,666 หนี้ 41.79% ปี 2560 GDP 15,211,958 หนี้ 41.89% ปี 2561 GDP 16,116,441 หนี้ 42.07% ปี 2562 GDP 16,686,599 หนี้ 41.45% คิดเป็นหนี้รัฐบาล 34.06% หนี้ของรัฐวิสาหกิจ 5.31% หนี้ธนาคารรัฐ(รัฐค้ำประกัน) 2.02% หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 0.06% ปกติหนี้สาธารณะกู้มาใช้เพื่อการลงทุน สามารถส่งคืนดอกเบี้ยได้ทุกปี ในขณะที่ประเทศสร้างรายได้ GDP ได้สูงขึ้น ยังพอเบาใจได้ว่าไม่น่าห่วงมากนัก เป็นห่วงแต่หนี้ครัวเรือนที่เป็นหนี้กันทุกหย่อมหญ้า เมื่อใดจะสามาถใช้หนี้ได้หมด หากเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นอยู่เช่นนี้ และรัฐบาลยังไม่มีนโยบายลดหนี้ครัวเรือนลง น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน