เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ณ ห้อง Sapphire 201 อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า จัดงานเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้หัวข้อ Bigdata From Space , Actionable Intelligence Policy on Earth การนำข้อมูลจากอวกาศเพื่อสรรสร้างนโยบายอัจฉริยะที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างยั่งยืนบนพื้นที่และกลุ่มประชาชนเป้าหมาย เทคโนโลยีอวกาศจะมีส่วนช่วยในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหารประเทศได้ ซึ่งจัดขึ้นภายในงานมหกรรมอวกาศระดับนานาชาติ 2019 ดร. ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ นักพัฒนานวัตกรรมชำนาญการ กล่าวว่าภายในงานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ได้รับเกียรติจากคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของจิสด้า มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนาจากการเสวนาในเรื่อง "Big Data from Space, Actionable Intelligence Policy on Earth" การนำข้อมูลจากอวกาศเพื่อสรรค์สร้างนโยบายอัจฉริยะที่ถูกออกแบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างยั่งยืนบนพื้นที่และกลุ่มประชาชนเป้าหมาย การใช้เทคโนโลยีอวกาศในการได้มาซึ่งข้อมูลมหาศาลอย่างภาพถ่ายจากดาวเทียมที่จะทำให้ได้ Big Geospatial Data มาเป็น Base ในการทำนโยบายที่มาจากการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Policy) เพราะนโยบายที่ Actionable ต้องมาจากสิ่งที่เรียกว่า Evidence-Based โดยผู้มีประสบการณ์จากทางด้านการทำนโยบาย ด้านวิชาการการวิจัยอนาคตและนโยบายการพัฒนาเมือง ทั้งนี้มีบรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ จิสด้า ในหัวข้อ "THAILAND Grand Design The AIP_GISTDA - FUTURA effect :" การออกแบบประเทศไทย เพื่ออนาคตที่พึงปรารถนา อันก่อให้เกิดวัตถุประสงค์แห่งคุณค่าสู่สังคมในพื้นที่อย่างทั่วถึงและยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ความสลับซับซ้อนของสภาพความเป็นจริงของมิติบนพื้นที่โลกจริงที่เปลี่ยนแปลง งานครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อนำข้อมูลจากอวกาศมาประยุกต์ใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่สามารถเชื่อมโยงกันทุกมิติ เพราะเหตุนี้นวัตกรรมเชิงนโยบายจำเป็นมากสำหรับประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง AIP จึงตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของพื้นที่ จากการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสต์ เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมอีกด้วย ดร.ดิชพงษ์ กล่าว