วันนี้(24 ส.ค.62)​ประเทศไทยประสบปัญหาดินเค็มกว่า 21 ล้านไร่ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ถึง 17.81 ล้านไร่ ในพื้นที่ 18 จังหวัด 94 อำเภอ จากพื้นที่ของภาคอีสานทั้งหมด 107 ล้านไร่ และในจำนวนนี้มีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ร้อยเอ็ด จ.สกลนคร จ.มหาสารคาม จ.ขอนแก่น และ ชัยภูมิ ในส่วนของชัยภูมิกินพื้นที่ 856,251ไร่ ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาไม่สามารถจะเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ บางพื้นที่ยอมทิ้งที่ทำกินจนกลายเป็นพื้นที่ร้าง และเกิดความแห้งแล้ง จากสถานการณ์ภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิที่ผ่านมาเข้าสู่ขั้นวิกฤติหลังแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เร่งระดมกำลังออกช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ แต่ก็ช่วยเยี่ยวยาพอคลายทุกข์ร้อนได้ จนชาวบ้าน โรงเรียน วัด ชุมชนเองต้องหาวิธีช่วยเหลือตนเองโดยการขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อที่จะนำน้ำมาใช้ในการเกษตรและในการอุปโภค ในช่วงจำเป็นเช่นนี้ แต่ก็ต้องประสบปัญหาเหมือนมาซ้ำเติมเพิ่มทุกข์ในกับชาวไร่ชาวนาและเกษตรกร อีกเมื่อบ่อน้ำบาดาล ที่ทางภาครัฐเองก็ดี ชุมชนเองก็ดีขุดเจาะช่วยชาวบ้านมี แต่น้ำเค็มและขุ่นเกินค่ามาตรฐานไม่สามารถนำน้ำบาดาลมาใช้อะไรได้เลยเป็นส่วนมากจนประชาชนได้ซื้อน้ำขวด น้ำถัง มาบริโภคแทนแล้วในขณะนี้ในเขตพื้นที่ภาคอีสานที่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น. นายสง่า ผาสุข อายุ69 ปีชาวบ้านบ้านจอก ต.คอนสวรรค์ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ กล่าวว่าที่ผ่านมาจนถึงปัจุบันในเขตพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ มี อ.คอนสวรรค์และอำเภอใกล้เคียงชาวบ้านประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมเป็นประจำทุกปีแต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากทางอำเภอและจังหวัดมาทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่จะต้องตามแก้ไขกันทุกปี โดยเฉพาะปัญหาดินเค็มในพื้นที่ ที่ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้เท่าที่ควร เมื่อถึงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ก็จะทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอดลงอย่างรวดเร็วจนที่ผ่านมาหวิดเปิดศึกแย่งชิงน้ำกันตามหมู่บ้าน ซึ่งทางผู้นำหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำเครื่องขุดเจาะน้ำบาดาลมาขุดเจาะให้ชาวบ้านบ้่นจอก บริเวณกลางวัดโพธิ์เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้อุปโภคเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้อนต้น แต่เมื่อขุดเจาะเสร๊จก็สร้างความผิดหวังเป็นอย่างมากเมื่อน้ำบาดาลที่ได้มีรสชาติเค็มมากจนนำมาใช้ไม่ได้เลยต้องทำการปิดบ่อและถมกลบคืนไปดังเดิม ซึ่งขอฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องระดับสูงขอให้ท่านช่วยพิจารณาแก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคในบ่อบาดาลช่วยเหลือในการหาทางวิธีดำเนินการลดความเค็มลงเพื่อ ที่จะมีโอกาสให้ชาวบ้านได้ใช้อุปโภคและบริโภคต่อไปในระยะยาวได้ในอนาคตน้ำบาดาลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นแหล่งของน้ำอุปโภคและบริโภค รวมทั้งน้ำดื่ม น้ำแร่สารพัดยี่ห้อ กระทั่งประปาหมู่บ้านล้วนแล้วแต่อาศัยแหล่งน้ำจากใต้ดินทั้งสิ้น แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีการนำเรื่องน้ำบาดาลมาอยู่ในแผนที่เดียวกับแหล่งน้ำผิวดินเวลาบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการน้ำนั้นต้องทำทั้งน้ำบนดินและน้ำบาดาล ที่ผ่านมาการวางแผนน้ำส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องแผนการจัดการน้ำผิวดิน ทั้งๆ ที่มีพื้นที่ๆ พึ่งพาการใช้น้ำบาดาลเป็นหลักจำนวนมาก จึงอยากฝากเรื่องการอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งน้ำธรรมชาติที่หน่วยงานของรัฐเก็บกักไว้ให้สามารถนำน้ำมาแบ่งปัน ให้เพื่อเกษตรกรได้ใช้ในส่วนนี้ประชาชนก็จะบรรเทาการเดือดร้อนของประชาชนได้ใช้ในลำห้วย หนอง คลอง บึงสาธารณะอีกด้วยและช่วยหาทางแก้ไขเรื่องนี้ให้โดยด่วนขอน้ำที่ไว้ใช้ทำมาหากิน ด้านการเกษตร ด้านอุปโภค บริโภคหรือน้ำดื่มนั้นทางชาวบ้านทั้ง4หมู่บ้านได้ซื้อน้ำดื่มกันมาหลายปีแล้วด้วย ขณะที่ทางโรงเรียนคอนสวรรค์ ด้านนายถวิล มนตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคอนสวรรค์ กล่าวว่า ที่ผ่ามมา ทางโรงเรียนคอนสวรรค์พร้อมทั้งคณะครูอาจารย์เด็กนักเรียนต้องประสบปัญหาภัยแล้งน้ำเค็ม น้ำท่วม ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วโรงเรียน มานานหลายปีทั้งที่ผ่านมายังมีฝ่ายทหารของกองทัพภาค2 มาขุดเจาะให้กับโรงเรียน เพื่อไว้ใช้บรรเทาความเดือดร้อน ในช่วงหน้าแล้ง แต่น้ำที่ขุดได้ซึ่งเป็นน้ำบาดาลมีรสชาติเค็มและขุ่นเป็นอย่างมากโดยมีความลึกถึง 33 เมตรจากผิวดิน โดยมีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ บ่อบาดาลที่โรงเรียนคอนสวรรค์แห่งนี้ มีค่า pH 9.7 ซึ่งเกินค่ามาตราฐานในการบริโภคมากและไม่สามารถนำน้ำดังกล่าวขึ้นมาอุปโภคบริโภคได้ทางโรงเรียนก็ได้ทำการปิดบ่ออย่างไร้ความหวังที่จะใช้น้ำบาดาลนี้ ต่อมา ทางโรงเรียนได้แจ้งปัญหาไปที่สถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ หรือโครงการ ธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งนำมาทดลองขุดบ่อ และเพื่อทำการทดลองซึ่งหลังจากการดำเนิน โครงการมาแล้ว 2 ปี สภาพน้ำใต้ดินและความเค็มก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆจนล่าสุดได้มีการเปิดวัดปริมาณน้ำ บาดาลที่ห่างจากผิวดินเหลือเพียง 3.70 เมตรและวัดค่า pH ได้ 7.28 ซึ่ง ค่ามาตรฐานในการใช้ดื่มอยู่ประมาณที่ 7.02 จึงเชื่อได้ว่า มีการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้อย่างชัดเจน โดยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมน้ำแล้งน้ำเค็มน้ำเน่าเสีย ที่อยู่และเกิดปัญหาในโรงเรียนแห่งนี้มานานต้นไม้ที่มีแต่ก้านใบที่ใกล้จะเฉาตายก็ เจริญเติบโตเขียวขจีอย่างทันตาเห็นซึ่งการทำโครงการนี้ถือว่า มีความสำเร็จสูง และเก็บน้ำได้จริงลดความเค็มได้จริงป้องกันปัญหาภัยแล้งระยะยาวได้อย่างแน่นอน ซึ่งถ้าหากมีการสนับสนุนโครงการนี้เชื่อว่าก็จะแก้ปัญหาภัยแล้งน้ำเค็ม ให้กับชาวไร่ ชาวนาอย่างถาวรอีกด้วย ทางด้านนายรัตนศักดิ์ รัตนมณี หน.ฝ่ายปฎิการธนาคารน้ำใต้ดิน ส.น้ำนิเทศศาสนคุณ กล่าวว่าหลายๆพื้นที่ในภาคอีสานก็มีปัญหาเรื่องภัยแล้งอย่างหนักเช่นกัน การแก้ไขปัญหาภัยแล้งไม่ใช่จะหาเพียงน้ำฝนอย่างเดียว แต่การแก้ไขปัญหาภัยแล้งอีกแบบหนึ่งคือ การแก้ไขระบบน้ำบาดาลเพราะหลายๆที่ฝนไม่ตกก็จะเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลกัน ซึ่งการเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลในหลายจุดนั้น ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้อย่างที่หวัง เพราะน้ำที่จะนำขึ้นมาใช้นั้นมีความเค็มเกินมาตราฐาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาใน 2 เรื่องนนี้ควรจะไปด้วยกัน เพื่อให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรมีต้นทุนน้ำไว้ใช้ในการเกษตรด้านการอุปโภคบริโภคได้ อย่างทั่วถึงและใกล้ตัว โดยอยากให้หน่วยงานรัฐ หรือรัฐบาลเองช่วยมองให้เห็นปัญหานี้และแนะนำวิธีการแก้ไขนี้โดยการใช้หลักของธนาคารน้ำใต้ดินมาแก้ไขในเรื่องปัญหาภัยแล้งคุณภาพน้ำบาดาลนี้ โรงเรียนครสวรรค์นี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้มีการทดลอง และสามารถเข้ามาชมงานได้ เพื่อเป็นการพิสูจน์แล้วว่าการทำแบบนี้สามารถแก้ไขได้จริงแต่การแก้ไขปัญหา เบื้องต้นให้กับชาวบ้านหรือเกษตรกร ที่กำลังเพาะปลูก และถ้าเกิดจะทำธนาคารน้ำใต้ดินในช่วงนี้นั้นอาจจะไม่ทันเพราะฝนยังไม่มา แหล่งน้ำที่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ง่ายที่สุดคือ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถใช้แหล่งน้ำ ผิวดินที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้นได้เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำต่างๆที่ใกล้ที่สุด ให้ชาวบ้านใช้น้ำเหล่านั้นได้อย่างสะดวก เพื่อแก้ปัญหาในระยะต้นไปก่อน ก่อนที่จะดำเนินการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเก็บกักน้ำฝนและบำบัด น้ำ เค็ม หรือน้ำบาดาลให้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป การทำธนาคารน้ำใต้ดินนั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้วทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้มีโครงการเติมน้ำใต้ดินเป็นการเก็บน้ำฝนในหลายๆจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ดีเข้าถึงประชาชนและเกษตรกร แต่เมื่อทำโครงการได้สักระยะหนึ่งก็มีข้อระเบียบ หลายๆหน่วยงาน เข้ามา ขวางกั้นโอกาสไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้สถานที่ เรื่องของการขุดเจาะที่จะต้องมีระเบียบบังคับ รวมถึงปัญหาของการห้ามให้ชาวบ้านไปขอสูบน้ำจากคูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติน้ำสาธารณะเข้ามาใช้ในพื้นที่เพื่อการเกษตรได้ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลหน่วยงานที่มีหน้าที่การบริหารน้ำได้สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกันด้วยการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านหรือชุมชนหรือหน่วยราชการในพื้นที่สามารถนำมาแก้ไขเพื่อขยายให้ได้มากขึ้นก็จะเป็นเรื่องดีก็ขออยากฝากถึงผู้ใหญ่หรือหน่วยงานราชการที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เปิดโอกาสเปิดเวทีหรือมาพูดคุยกันว่าจะทำยังไงเราจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์โดยที่ไม่ติดเรื่องของตัวบทระเบียบ มากเกินไปด้วย///