เมื่อ รายงานฉบับใหม่ ประเทศไทยสู่ปี 2030 : จับกระแสอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดย อมาเดอุส บริษัทเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวระดับโลก ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) ระบุ ประเทศไทยจำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวให้มีความชาญฉลาดยิ่งขึ้น พัฒนาระบบการจัดการผู้โดยสาร เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตด้านรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในทศวรรษหน้า ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมือง สร้างประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนประเทศไทยถึง 38.27 ล้านคน2 และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยรายงานประเทศไทยสู่ปี 2030: จับกระแสอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้ระบุต่อว่า นอกเหนือจากการขยายอาคารสนามบินที่ได้วางแผนไว้แล้ว ท่าอากาศยานของประเทศไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารภายในอาคารสนามบิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยาน ตลอดจนสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทศวรรษหน้าอีกด้วย ทั้งนี้ ดร.มาริโอ ฮาร์ดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ พาต้า กล่าวว่า ถ้าการท่องเที่ยวยังคงเติบโตต่อเนื่องในอัตราเท่ากับปัจจุบัน สนามบินในประเทศไทยจะถูกใช้งานเต็มความจุเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งการขยายอาคารสนามบินอาจช่วยลดปัญหาได้บางส่วน แต่เทคโนโลยีอัจฉริยะจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ในอนาคต ทั้งระบบเช็คอินด้วยตนเองผ่านคีออส เครื่องดร็อปกระเป๋าอัตโนมัติ และการยืนยันตัวตนผ่านระบบไบโอเมตทริกซ์ เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร อีกทั้งรายงานยังระบุ ว่า สองกลุ่มที่น่าจับตา ได้แก่ ธุรกิจไมซ์ และผู้ที่เดินทางมาเพื่อธุรกิจแล้วอยู่ท่องเที่ยวต่อ โดยตลาดทั้งสองนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย ในการสร้างรายได้ที่หลากหลายยิ่งขึ้นในทศวรรษหน้า โดยอาจจะมีการเชื่อมต่อระบบรางระหว่างสนามบินกับศูนย์ประชุมโดยตรง เพื่อผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เช่น ขอนแก่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และเชียงรายแล้ว ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจไมซ์ ในพื้นที่ดังกล่าว ควรจัดตารางเวลารถไฟและเที่ยวบิน ให้สอดคล้องกับเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดการประชุม เพื่อกระตุ้นการเติบโตของตลาด การรเดินทางไร้รอยต่อ ไซมอน เอครอยด์ ขณะที่ นายไซมอน เอครอยด์ รองประธานกรรมการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ อมาเดอุส กล่าวต่อว่า พื้นที่จุดหมายปลายทางของตลาดไมซ์ ประเทศไทย ต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ไร้รอยต่อ เพื่อให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ เนื่องจากจุดหมายปลายทางยอดนิยมในอนาคตของกลุ่มไมซ์ ในภูมิภาคจะหันมาแข่งขันกันในเรื่องความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยมอบความสะดวกสบายให้นักท่องเที่ยว เช่น บริการเช็คอินและดร็อปกระเป๋า ณ สถานที่จัดประชุม ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ยังต้องมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะต้องแข่งกับเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย ทั้งนี้ นายไซมอน กล่าวต่อว่า ระหว่างภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน เพื่อยกระดับระบบขนส่งในเขตเมืองด้วยการสัญจรอัจฉริยะ หรือโซลูชันที่เชื่อมต่อข้อมูลและเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมปรับปรุงประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ของประชากรรอบๆ เมือง นำมาช่วยลดความแออัดและมลภาวะในเขตเมืองของประเทศไทย และทำให้เมืองน่าดึงดูดยิ่งขึ้นในทั้งสายตาของนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ซึ่งการใช้ข้อมูลการขนส่งในการจัดการระบบการจราจรแบบเรียลไทม์ เช่น สัญญาณไฟจราจร หรือจัดการบริการด้านเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เช่น รถรับส่งแกร็บ และ เก็ท เป็นเพียง 2 แนวทางเด่นๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันนี้ โดยมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ จัดตั้งบริษัทพัฒนาเมือง ส่วน นายประชา อัศวธีระ รองประธานสำนักงานเขตภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การเข้าถึงแหล่งเงินทุนถือเป็นหนึ่งอุปสรรคของประเทศไทย ดังนั้นแต่ละจังหวัดควรจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนในอนาคต เพื่อสามารถระดมทุนได้เพียงพอ และวางแนวทางการร่วมมือพันธมิตรที่เป็นมาตรฐานชัดเจน โดย หลายๆ จังหวัดจำเป็นต้องพัฒนาตามโมเดล บริษัทพัฒนาเมือง ซึ่งนำร่องโดยจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำเป็นและวางแผนการดำเนินงานในระยะยาว ประชา อัศวธีระ ประเด็นสุดท้ายที่ระบุไว้ในรายงานคือ ความสำคัญของการวางมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยจากความเสี่ยงของปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง ซึ่งถ้าหากประเทศไทยต้องการจะบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานท้องถิ่น และธุรกิจบริการ ควรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ และการวางโมเดลด้วยเทคนิคการทำนายข้อมูล