“ ...มีทัศนคติที่ดีที่ถูกตองตอบานเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม และ มีงาน มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัไดและเปนพลเมืองที่ดี...” พระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดานการศึกษา มุง สรางพื้นฐานใหแกผูเรียน พระบ าทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาด้วยทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ทั้งเยาวชนไทยและคนไทยทั้งประเทศมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยพระเมตตาพระมหากรุณาธิคุณอันเกิดจากพระราชหฤทัยห่วงใยและด้วยทรงตระหนักว่าการศึกษาจะเป็นแสงสว่างเป็นเครื่องมือทำให้คนเข้าถึงความเป็นคนดีมีเมตตากรุณา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รู้จักให้รู้จักแบ่งปัน เข้าถึงการได้รับอบรมบ่มนิสัยเป็นให้เป็นคนมีระเบียบวินัย มีโอกาสที่จะได้ฝึกฝนอาชีพในสถาบันการศึกษาเพื่อความเชี่ยวชาญช่ำชองในอาชีพนั้นๆจนสามารถประกอบอาชีพสร้างฐานะครอบครัว ช่วยเหลือเกื้อกูลพัฒนาชาติบ้านเมืองได้ มีโอกาสไปสังเกตการณ์การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาสายอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ที่จังหวัดพิษณุโลก ที่แรกคือวิทยาลัยการอาชีพนครไทย อยู่ที่อำเภอนครไทย ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารอย่างดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการกอศ.ที่เน้นย้ำมาตลอดว่า สอศ.เป็นองค์กรการศึกษาสายวิชาชีพที่มุ่งมั่นสืบสานสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยผลิตและพัฒนากำลังคนที่เป็นคนดี คนเก่ง ตอบสนองความต้องการกำลังคนของประเทศ มีความตั้งให้การศึกษาอาชีวะมีการจัดการศึกษาให้ทั่วถึง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพแบบเสมอภาคและเป็นธรรมเกิดความความเท่าเทียมในเรียนสายอาชีพไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือประชาชนทั่วไปทั้งในเมืองหรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ฐานะยากจนขาดแคลนสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน “มีสถานศึกษาในสังกัดอาชีวะอยู่ในท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดรองรับผู้ใคร่เรียนหาความรู้ความชำนาญทางฝึกฝีมือและอบรมบ่มนิสัยคุณธรรมความดีที่มีโอกาสน้อยหรือขาดโอกาสให้ได้รับโอกาส อย่างเช่น วิทยาลัยการอาชีพนครไทย ซึ่งตั้งอยู่พื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนสายอาชีพให้โอกาสเยาวชนในชุมชนพื้นที่ห่างไกลบนเทือกเขายอดดอยจัดการจัดการศึกษาโดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้เยาวชนเกิดการตระหนักถึงความเพียงพอกับความต้องการของชุมชน ให้นักศึกษาได้มีความสามารถในการประกอบอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”ดร.บุญรักษ์ ยอดเพ็ชรกล่าว สำหรับผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพนครไทยบอกว่า จัดการเรียนการสอนสนองนโยบายรัฐบาลที่ให้น้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นหลักยึด โดยเป้าหมายสนองพระบรมราโชบายสร้างเยาวชนเติบโตเป็นคนดีให้สอดรับกับความต้องการของพื้นที่ เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนในครอบครัวชายขอบ อาทิ ติดกับกับอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีหมู่บ้านชนเผ่าอาศัยอยู่ในเขตภูเขาขาด ภูทับเบิก และภูเขาย่า มีชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งชนเผ่าม้ง มีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสในการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนครไทย ได้เปิดโอกาสให้กับเยาวชนในชนเผ่าม้งได้เข้ามาเรียนที่วิทยาลัย โดยการเรียนจะไม่แบ่งแยกระหว่างนักศึกษาม้งและกับนักศึกษาทั่วไปได้เรียนรวมกัน โดยรุ่นน้องที่เข้ามาเรียนที่นี่ เพราะการบอกต่อจากรุ่นพี่ม้งที่จบไปแล้ว และอีกหนึ่งช่องทางก็จะได้รับข่าวสารจากเสียงตามสายของ อาร์ เรดิโอ ( R Radio สถานนีวิทยุของวิทยาลัย) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ให้ได้รับรู้ระหว่างสถานศึกษาและคนในชุมชน การเรียนการสอนจะเป็นการเรียนแบบวิถีธรรมชาติ ให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้าถึงการศึกษาในแบบที่เป็นวัฒนธรรมชนเผ่า ทางวิทยาลัยจึงได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านม้งขึ้นในวิทยาลัย หรือเรียกว่า ม้งอินเตอร์ มีจำนวน 23 หลัง นักศึกษาม้งกว่า 60 คน นักศึกษาม้งที่เรียนในวิทยาลัยสามารถซึมซับวัฒนธรรมของตนเองเช่นเดียวกับอยู่ในชุมชนหรือในครอบครัว เป็นบ้านม้งที่ทำจากไม้ไผ่ในแบบวิถีของชนเผ่าม้ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการอยู่หอพัก ให้มีการบริหารกันเองดูแลกันแบบผู้นำชุมชนกับลูกบ้าน ร่วมกันปลูกผักเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารแล้วยังมีกกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้และความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริหรือศาสตร์พระราชาในโครงการ “ชีววิถี” เป็นวิถีเกษตรอินทรีย์เดินตามแนวพระราชดำริโดยการส่งเสริมสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ที่นักเรียนนักษาสามารถนำเอาองค์ความรู้วิชาการและความชำนาญไปประยุกต์ใช้ดำเนินอาชีพในพื้นที่ตัวเองได้ซึ่งมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เยาวชนที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยการอาชีพนครไทยเลือกเรียนสาขาวิชาที่ตัวเองชอบได้ เช่น ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดการเรียนการสอนในระดับชั้น ปวช. ปวส. หลักสูตรระยะสั้น ระบบทวิภาคี และหลักสูตรวิชาชีพแกนมัธยมร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในพื้นที่มีนักศึกษาในระบบ จำนวน 540 คน และนักศึกษาระบบทวิภาคี 386 คน เปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2541