“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือ “โลกร้อน” เฉยๆ นั้น ต้องถือเป็นปัญหาหนึ่ง ซึ่งหลายคนก็ยกให้เป็น “วิกฤติ” ประเด็นหนึ่งที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ อย่างชนิดที่เรียกว่า ไม่พูดถึงไม่ได้แล้ว ณ วินาทีนี้ ทั้งนี้ ก็ด้วยวิกฤติภาวะโลกร้อนที่ว่า ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ที่ส่งผลต่อโลกเรา เช่น ปัญหาภัยแล้ง คลื่นร้อน พายุฝนมรสุม น้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลันเฉียบพลัน เป็นต้น ภาพตกแต่งแสดงภาวะโลกร้อนกำลังคุกคามโลกของเรา พร้อมๆ กันนั้น บรรดานักวิเคราะห์ ผู้สันทัดกรณี ก็ออกมาชี้แนะถึงแนวทางออกของวิกฤติ ปัญหา กันสารพัด ชนิดออกประกาศเป็นแคมเปญ รณรงค์ เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยวดยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยวดยานพาหนะ การรณรงค์ลดใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติก เช่น งดการใช้ถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อ และโรงพยาบาลต่างๆเป็นต้น แล้วให้ใช้ “ถุงผ้า” สำหรับบรรจุสินค้า และเวชภัณฑ์ทั้งหลายแทน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม หนึ่งในปัญหาที่ก่อเกิดปฏิกริยาก๊าซเรือนกระจก เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยในประเด็นเรื่องการงดใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกนั้น ในหลายองค์กร หน่วยงาน ก็ยังห้ามไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็น “พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง” อีกด้วย เช่น กรณีเมื่อเร็วๆ นี้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก ในนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศห้ามจำหน่ายน้ำดื่มที่บรรจุขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อลด “ขยะพลาสติก” ซึ่งส่งปัญหาก่อให้เกิดวิกฤติภาวะโลกร้อนตามมา จากการที่มันย่อยสลายยาก โดยใช้นับร้อยปีเลยทีเดียวกว่าที่พลาสติสักชิ้นหนึ่ง จะหายไปจากโลกใบนี้ “ขยะพลาสติก” อีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ก็ยังมีการรณรงค์ให้ทั่วโลก ลุยปลูกต้นไม้ ปลูกป่า สำหรับการเดินหน้าต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง พร้อมกันนั้น ก็ได้แสดงหลักฐานเป็นผลการศึกษาวิจัยขอองบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ขึ้นมารองรับการรณรงค์ให้ชาวโลก ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ในอันที่จะสลายวิกฤติภาวะโลกร้อนอย่างสัมฤทธิ์ผลอีกต่างหากด้วย ป่าไม้ที่ถูกทำลาย โดยในภาพตัวอย่างเป็นป่าไม้ในประเทศบราซิล อาทิ การนำเสนอเพื่อการรณรงค์ให้ปลูกป่าโดย สถาบันเทคโนโลยี อีทีเอชในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย ศ.โทมัส โครว์เธอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมของสถาบันดังกล่าว ระบุไว้ในรายงานผลการศึกษาวิจัยว่า พื้นที่ป่าที่ได้รับการปลูกใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 2.2พันล้านเอเคอร์ หรือราวกว่า 5.56 พันล้านไร่ จะสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้มากถึง 2.05 แสนล้านเมตริกตัน หรือเปรียบเทียบเป็น 2 ใน 3 เลยทีเดียว จากจำนวนทั้งสิ้น 3 แสนล้านเมตริกตันของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระบุถึง ก็คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปฏิกริยาก๊าซเรือนกระจก ในฐานะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของปฏิกริยาก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว นอกจากนี้ สถาบันอีทีเอชเดียวกันนี้ ก็ได้เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยล่าสุด เกี่ยวกับการปลูกป่าต่อการแก้ไขวิกฤติภาวะโลกร้อน ซึ่งได้เปิดเผยผลการศึกษาเมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ว่า ในการปลูกป่าไม้เพิ่มเติมในสหรัฐฯ จำนวน 5 แสนล้านต้น ซึ่งเทียบได้กับพื้นที่ของประเทศสหรัฐฯ ก็จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้มากถึง 200 กิกะตัน (1กิกะตัน เท่ากับ 1 พันล้านตัน” โดยผลการศึกษาวิจัยข้างต้น ทางสถาบันฯ ได้เสนอะแนะเป็นหนึ่งในแนวทางจำกัดอุณหภูมิโลกมิให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตามการประเมินของ “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ของสหประชาชติ ระบุว่า อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธาร หล่อเลี้ยงมนุษยชาติ พร้อมกับเน้นย้ำว่า ต้นไม้และผืนป่า นอกจากจะเป็นอาวุธเด็ดสำหรับพิชิตวิกฤติภาวะโลกร้อนแล้ว ก็ยังจะช่วยสร้างป่าไม้ผืนใหม่ ซึ่งเทียบได้กับบ้านของเหล่าสัตว์ป่า และต้นน้ำลำธาร ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเรา