เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 62 ณ โรงแรมริเวอร์ไซค์ กทม. ผู้ดำรงตำแหน่ง นิติกร อปท.ทั่วประเทศเข้าร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการทำงานของ อปท. โดยบทบาทการมีส่วนร่วมของ นิติกร (นักกฎหมายท้องถิ่น) กรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารส่วนท้องถิ่น(ก.ถ.) ได้มีมติ เกี่ยวกับการกำหนดให้ ผู้ดำรงตำแหน่ง นิติกร อปท. ออกจากสายงานวิชาชีพ และหารือเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่ง ของผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร ในอปท. ซึ่งที่ประชุมได้มีมติ ของ ชมรมนิติกร อปท .โดยมอบให้กลุ่มตัวแทนนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ นำโดย นายธีรเดช  นรัตถรักษา ประธานชมรมนิติกร อปท. นางละเอียด ศรีล้อม นิติกรชำนาญการพิเศษฯ นายดำรงค์ชัย  ไชยมงคล นิติกรชำนาญการพิเศษ  ได้ร่วมยื่นหนังสือข้อเรียกร้องเพื่อให้ ก. ถ. คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีมติทบทวนและเพิ่มเติม ดังนี้ 1.ผลักดันการจัดตั้งกองกฎหมาย โดย ผอ.กอง มีคุณสมบัติเป็นนักกฎหมายท้องถิ่น/ หน.ฝ่าย มีคุณสมบัติเป็นนิติกรเท่านั้น              2.สิทธิเงินประจำตำแหน่ง/วิชาชีพ/พตก. คงเดิม โดยการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง นิติกรให้ได้รับเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งนิติกร เพราะสายงาน นิติกร เป็นสายงานวิชาชีพเฉพาะในตัวอยู่แล้ว เนื่องจาก กรณีที่ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร ในอปท. ตำแหน่งอื่นหรือบุคคลอื่นก็จะมาทำหน้าที่แทนไม่ได้  อีกทั้ง ในตำแหน่ง นิติกร ก็มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติ โดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย  เมื่อพิเคราะห์ความหมายของคำว่า เงินประจำตำแหน่งก็ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า เป็นค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นสำหรับข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติงานหน้าที่หลัก ที่ต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถทางด้านอาชีพ วัตถุประสงค์ของการกำหนดเงินประจำตำแหน่งนั้น ก็เพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนกับอัตราตลาด และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสีย กำลังคนในภาคราชการ                3.ปลดล็อค การเลื่อนระดับจากนิติกรชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษให้พิจารณา ปลัดเป็นเกณฑ์ ไม่ให้ยึดโยงกับตำแหน่งหัวหน้า สป.หรือ ผอ.กองวิชาการและแผนงานกำหนดการประเมิน โดยให้กำหนดในสายงานวิทยาศาสตร์ฯ พ.ศ.2562 ข้อ 4 (4.5) ให้ ก. กลาง กำหนดให้ตำแหน่งนิติกรอยู่ในหลักเกณฑ์การเมินในสายวิชาชีพ เนื่องจากเดิม เคยอยู่ในหลักเกณฑ์นี้ 4.เรียกร้องให้ กถ. พัฒนาหรือจัดตั้งองค์กร เพื่อพัฒนา สายงานนิติกร ให้เป็น สานงานนักกฎหมายท้องถิ่น เพราะ นักกฎหมาย ในอปท.การปฏิบัติหน้าที่ มีความแตกต่างจาก นักกฎหมายในสายงานข้าราชการอื่น 
       5.ในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล กรณีนี้ต้องมีตัวแทนของตำแหน่ง นิติกร เข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็น +++++++