ท่ามกลางเทคนิคมากมายของคนวัยทำงานที่มุ่ง “ทำน้อยให้ได้มาก” แต่ขณะเดียวกัน เรื่องของร่างกายกลับสวนทาง โดยเฉพาะเรื่องการขยับ ยิ่งขยับน้อยกลับโรคมากด้วยซ้ำ... สาระความรู้เรื่องสุขภาพจากเพจ “วิ่งดิหมอ” ที่มาสะเกิดเตือนมุ่งต้องการสร้างเสริมสุขภาพคนไทยให้แข็งแรงเข้าไว้ โดยระบุ “...ความน่ากลัวของโรคที่เกิดจากการนั่งๆ นอนๆ หรือการใช้ชีวิตที่เรียกว่า "Sedentary life"(ซีเดนทารี่ ไลฟ์) -------------------------------- องค์กรสุขภาพระดับโลกหลายแห่ง ให้นิยามของสิ่งที่จะเกิดตามมาจากการขยับร่างกายน้อย จนมีคำเรียกติดปาก(ที่ไทยอาจยังไม่ติด) คือ "Sitting Syndrome" ❗? (ซิตติ้ง ซินโดรม) -------------------------------- ย้อนกลับไปสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากนัก มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับร่างกายที่ต้องเคลื่อนไหว ต่อสู้ เพื่อความอยู่รอดนานา ... แต่ในปัจจุบัน นั้นกลับกัน มนุษย์มีความสะดวกสบาย ด้วยอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อันเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง -------------------------------- ภาพการนั่ง นั่ง และนั่ง ... ได้กลายเป็นภาพอันคุ้นชิน เป็นมาตรฐานในสังคมไปเสีย การขยับระหว่างการทำงาน กลับเป็นเรื่องที่แปลก วันนี้ แอดอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้รู้จักภัยของคำว่า "Sitting Syndrome" กันมากยิ่งขึ้น -------------------------------- การขยับร่างกายน้อย ส่งผลกระทบอย่างไรกับสุขภาพของเรา 1. ระบบการเผาผลาญด้อยลง 2. กล้ามเนื้อใช้งานน้อย ฝ่อตัว แรงในการเคลื่อนไหวถดถอย เสี่ยงต่อการล้มง่าย 3. มวลกระดูกถดถอย เข้าสู่การเป็นกระดูกเปราะบาง กระดูกพรุน 4. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โรคภูมิคุ้มกัน 5. การไหลเวียนของระบบโลหิตไม่ดี 6. ขาดสมดุลของระบบฮอร์โมนต่างๆ --------------------------------- จากผลกระทบดังกล่าว นั่นคือการนำมาซึ่งความ "เสี่ยง" ต่อการเผชิญกับโรคเหล่านี้ !!! 1. โรคอ้วน 2. โรคเส้นเลือดสมอง 3. โรคเส้นเลือดหัวใจ 4. โรคเบาหวาน 5. โรคไขมันในเลือดสูง 6. โรคกลุ่มเมตาบอลิซึม เช่น เก๊าท์ 7. โรคกระดูกพรุน 8. โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังคด 9. กลุ่มโรคออฟฟิศ ซินโดรม 10. โรคซึมเศร้า 11. มะเร็งบางชนิด (ที่อาจมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวน้อย) เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก ---------------------------------- ในทางการแพทย์ เราเรียกกลุ่มโรคเกือบทั้งหมดนี้ว่า NCDs "Non communicable diseases" ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก องค์กรต่างๆให้ความสำคัญ กระทั่ง WHO องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไข -------------------------------- หากอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วคุณคิดว่าเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ส่งต่อให้ถึงคนที่คุณรัก แล้วเราจะสู้กับ NCDs หรือ Sitting syndrome ไปด้วยกันค่ะ -------------------------------------------------------- ด้วยรัก #วิ่งดิหมอ (แอดหมอซายน์) #NCDs #sittingsyndrome #sedentarylifestyle อ้างอิง U.S. NIH (national institute of health, united state)” (ขอบคุณเฟซบุ๊ก "วิ่งดิหมอ" )