เข้าสู่เดือนสุดท้าย สำหรับ คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน ในภูมิภาคยุโรป ตลอดจนนานาประเทศทางตอนเหนือของขั้วโลก กันแล้ว และก็ต้องบอกว่า เดือนที่สองแห่งคิมหันตฤดู ซึ่งสภาพอากาศ ก็ยังคงร้อนเหลือเหงื่อไหล ด้วยไอแห่งอากาศ “คลื่นร้อน” หรือ “ฮีทเวฟ (Heat Wave)” ที่กำลังถาโถมในหลายพื้นที่ของยุโรป จน “ร้อนจัด” ชนิด “ปรอทแตก” คือ “ทุบสถิติ” เป็นประวัติการณ์ ยกตัวอย่าง ที่ “กรุงปารีส” เมืองหลวงของฝรั่งเศส สภาพอากาศเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็อุณหภูมิเกินกว่า 40.6 องศาเซลเซียส ทะยานทะลุทุบสถิติเมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1947) ซึ่งเคยร้อนที่อุณหภูมิ 40.4 องศาเซลเซียส สถานการณ์ภัยแล้ง อันสืบเนื่องมาจากคลื่นร้อนถาโถม ในย่านเซาท์คอร์ซิกา ประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับที่เมืองบอนน์ อดีตนครหลวงของของเยอรมนีตะวันตก ก่อนรวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อเยอรมนี แล้วย้ายเมืองหลวงไปสู่กรุงเบอร์ลิน ณ ปัจจุบัน นั้น ปรากฏว่า อุณหภูมิที่เมืองดังกล่าว ก็ทะลุเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส ขึ้นไปแตะที่ 42 องศาเซลเซียส จนต้องตราไว้เป็นสถิติให้ต้องจดจำ ตัวเลขอุณหภูมิในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ที่ขึ้นไปถึง 42 องศาเซลเซียส จากการได้รับผลกระทบจากคลื่นร้อนในปีนี้ ขณะเดียวกัน ทางด้านเมืองอื่นๆ ในเยอรมนี อุณหภูมิก็อยู่ที่ราว 39 – 40 องศาเซลเซียส สร้างความเครียดให้แก่ประชาชนพลเมืองของประเทศไม่บันเบา ทั้งนี้ นอกจากเมืองต่างๆ ในเยอรมนีแล้ว ประเทศใกล้ชิดติดกันอย่าง “เนเธอร์แลนด์” และ “สวิตเซอร์แลนด์” ก็เผชิญกับคลื่นร้อนในระดับอุณหภูมิราว40 องศาเซลเซียส เหมือนกัน ขณะที่ กรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษ ก็ผจญกับสภาพอากาศร้อนไล่เลี่ยกัน ที่อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส แต่ที่นับว่า หนักหนาสาหัส เพราะนอกจากเจอคลื่นร้อนแล้ว สภาพอากาศร้อนที่ว่า ก็ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ “พายุฝนฟ้าคะนอง” ตามมาอีกด้วย โดยส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ถึงกว่า 40 มิลลิเมตรของปริมาณน้ำฝน เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมสูงฉับพลันตามมาในหลายพื้นที่ของแคว้นกาตาลุญญา ซึ่งรวมถึงนครบาร์เซโลนา เมืองใหญ่อันเลื่องชื่อแห่งแดนกระทิงดุ โดยน้ำจากน้ำฝนได้ท่วมสูงเป็นบริเวณกว้าง รวมถึง “ท่าอากาศยานเอลปราต” ที่ “น้องน้ำ” เข้าไปทักทาย คือ ท่วมถึงภายในอาคารของท่าอากาศยาน จนต้องปิดให้บริการชั่วคราวกันไปเลย นอกจากสเปน พบกับพายุฝนฟ้าคะนองที่มากับฤดูร้อนแล้ว ที่เนเธอร์แลนด์ ก็ประสบกับผลกระทบข้างเคียงของสภาพอากาศที่ร้อนจัดอีกประการหนึ่ง นั่นคือ “ หมอกควันพิษ” จนทางรัฐบาลต้องออกแถลงการณ์ประกาศเป็นคำเตือนให้ประชาชนต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ อย่าง กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศ และนครรอตเตอร์ดัม เป็นต้น เรียกว่า อากาศร้อนจัดจากคลื่นร้อนในปีนี้ ส่งผลพ่นพิษอย่างร้ายเหลือ อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์แสดงทรรศนะว่า สภาพอากาศร้อนจัดในภูมิภาคยุโรป หาได้หยุดยั้งสถานการณ์แต่เพียงเท่านี้ไม่ แต่ทว่า ประเมินกันว่า คลื่นร้อนยังคงโหมกระหน่ำจนทำให้อากาศร้อนกว่าที่เป็นอยู่ขึ้นไปอีก กว่าจะหมดคิมหันตฤดูของปีนี้ ในช่วงเดือน ส.ค. อันเป็นเดือนสุดท้ายของฤดูร้อนในแถบซีกเหนือของขั้วโลก พร้อมกันนี้ ก็ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ภัยคลื่นร้อนในปีนี้ด้วยว่า น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะสถานการณ์ได้ลามเลยไปถึงคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย พื้นที่ตอนเหนือของยุโรป ที่สภาพอากาศตามปกติ ก็ยะเยือกเย็นจัด แต่เพราะคลื่นร้อนที่กำลังถาโถมในปีนี้ได้โหมกระน่ำจนทำให้นานาประเทศในสแกนดิเนเวียและยุโรปเหนือ ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์ ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ชาวฟินแลนด์ ในกรุงเฮลซิงกิ ต้องลงเล่นน้ำเพื่อคลายร้อน จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งอากาศตามปกติของประเทศแห่งนี้ จัดว่าเป็นประเทศเมืองหนาว เพราะอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ โดยมีรายงานตัวเลขเป็นสถิติด้วยว่า อาทิ เช่นที่ นอร์เวย์ อุณหภูมิก็ทะลุไปถึง 35.6 องศาเซลเซียส ทุบสถิติเมื่อปี 2513 ?ที่ สวีเดน อุณหภูมิก็พุ่งไปถึง 34.8 องศาสเซลเซียส ทำลายสถิติเก่าเมื่อปี 2488 เหล่านักวิเคราะห์แสดงความวิตกกังวลด้วยว่า สุขภาพประชาชนในภูมิภาคแห่งนั้น ก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะภูมิสถาปัตยกรรมสถานบ้านเรือนต่างๆ ของผู้คนในย่านนั้น ล้วนถูกปลูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับกับสภาพอากาศหนาวจัดกันทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จาก ประชาชนจำนวนไม่น้อย ต้องใช้วิธีลงไปแช่ตามแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อคลายร้อน นอกจากนี้ บรรดานักวิเคราะห์ก็เป็นห่วงต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภูมิศาสตร์ของโลกโดยรวม จากการที่ธารน้ำแข็ง เช่น ในกรีนแลนด์ เกิดภาวะหลอมละลายอันสืบเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด จนมีผลต่อปริมาณของระดับน้ำทะเล จนน่ากังวลต่อเมืองทั้งหลายที่อยู่ริมฝั่งทะเลว่า จากเดิมที่อยู่ชายน้ำ ก็อาจจะจมอยู่ในน้ำ เป็นเมืองใต้บาดาลเข้าให้สักวัน ปรากฏการณ์หลอมละลายของภูเขาน้ำแข็งในพื้นที่ขั้วโลกเหนือ จากการได้รับผลกระทบของสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งคุกคามไปถึงพื้นที่ดังกล่าว