สถานการณ์ภัยแล้งยังคงส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของประเทศ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 23 ก.ค.62 ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ด้วยปริมาณฝนที่ตกน้อยกว่าค่าปกติส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน อาทิ ที่จังหวัดเชียงราย โครงการชลประทานเชียงราย ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จ้านวน 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการเกษตร ประมาณ 2,500 ไร่ ขณะที่จังหวัดชัยนาท สถานการณ์น้ำในคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง (คลอง มอ.) เริ่มดีขึ้น หลังส้านักงานชลประทานที่ 12 ร่วมกับสำนักเครื่องจักรกล ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงลงสู่คลอง มอ. อีกทั้งยังได้ติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ 2 ชุด เพื่อเพิ่มความเร็วของน้ำบริเวณท้ายประตูระบายน้ำพลเทพ บริเวณ กม.ที่ 22 และติดตั้งเครื่องสูบ น้ำเคลื่อนที่เพิ่มอีก 2 จุด รวม 6 เครื่อง คือ สูบน้ำจากห้วยโตนดลงคลองมะขามเฒ่า-กระเสียว (คลอง มก.) จำนวน 2 เครื่อง และสูบน้ำจากบึงกระจับลงคลอง มก. อีก 4 เครื่อง นอกจากนี้ ยังได้สูบน้ำจากปลายคลอง มก. บริเวณ กม.ที่ 47 ลงคลอง มอ. ด้วยเครื่องสูบน้ำ 6 เครื่อง พร้อมกับเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก 2 เครื่อง ที่ปลายสถานีสูบน้ำบางคณฑีบริเวณกม.ที่ 99 คาดว่าจะทำให้น้ำในคลอง มอ. เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 3.38 ลบ.ม./วินาที ส่วนที่จังหวัดขอนแก่น สถานการณ์ฝนที่ตกน้อยกว่าค่าปกติ ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 568 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันได้นำน้ำก้นอ่างฯ มาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคแล้ว ประมาณ 13 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้เน้นย้้าให้ทุกโครงการชลประทานในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้้าและเฝ้าระวังการบริหารจัดการน้ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และผลิตน้ำประปา ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรกว่า 160,000 ไร่ ในเขตชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จะเริ่มส่งน้ำแบบรอบเวรตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.62) เป็นต้นไป โดยใช้น้ำจากบริเวณหน้าฝายหนองหวายที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ได้เริ่มเพาะปลูกไปแล้ว จึงขอให้เกษตรกรใช้น้ำตาม รอบเวรของตนอย่างเคร่งครัด และขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดน้ำอย่างจริงจัง เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้