สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในชุมชนรู้จักต่อยอดอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร สร้างศูนย์การเรียนรู้การผลิตอาหารต้นแบบ พร้อมกำกับดูแลสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์รวมทั้งบูรณาการงานด้านชุมชนให้มีความครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน บนวิถีแห่งความพอเพียง โดยนำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน จังหวัดเชียงใหม่ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ช่วยให้ประชาชนที่นําไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและดําเนินชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้น้อมนําแนวทางพระราช ดําริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา สนับสนุน ส่งเสริมชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้ชุมชน สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจําหน่ายและเลี้ยงตนเองได้ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ อย.ยังเร่งผลักดันส่งเสริมผลงานนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมกับสำนักงบประมาณ ในส่วนของเครื่องมือแพทย์ อย. ได้ส่งเสริมให้ผู้วิจัยและผู้ประกอบการสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นนวัตกรรม ด้วยการจัดทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้วิจัย รวมทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย เดินหน้าบริหารจัดการความปลอดภัยผักและผลไม้สด เน้นดำเนินการในระดับพื้นที่ บูรณาการ ทุกภาคส่วนร่วมมือกันตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ สร้างความเข้มแข็งจากรากฐานระดับชุมชนและสถานประกอบการ มุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ไม่เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากอาหาร สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้วันละ 400 กรัม ตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเสริมว่า ในส่วนของการกํากับดูแลคุณภาพมาตรฐาน สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนตามมาตรฐาน Primary GMP เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีส่วนสําคัญในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้มี ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ทั้งนี้ อย.ได้ตั้งเป้าหมายในปี 2560 ที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายจำนวน 443 แห่งจาก 74 จังหวัด พร้อมทั้งจะพัฒนาสถานประกอบการที่มีความพร้อมในการเป็นต้นแบบสถานประกอบการแม่ข่ายในปีนี้ จํานวน 55 แห่ง จาก 51 จังหวัด เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้แก่ สถานประกอบการอื่นที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติตามได้ นับเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ก้าวไกลสู่ครัวโลก จึงขอให้ผู้บริโภคสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่ผลิตจากวัตถุดิบของ ไทยและจากฝีมือคนไทยด้วย สำหรับสถานที่ศึกษาดูงานดังกล่าว ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านแคว ต.ท่ากว้าง อ.สํารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ผลิต อาหารที่ได้คุณภาพมาตรฐาน GMP และ HACCP รางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ปี 2553 และ 2558 รวมทั้ง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และอาหารฮาลาล เป็นการนําผลไม้ในท้องถิ่นที่ออกผลตามฤดูกาลมาแปรรูป ได้แก่ ลําไย ขนุน มะม่วง ลิ้นจี่ และสตรอเบอร์รี่ เป็นต้น นำมาอบแห้ง โดยใช้โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ และเตาอบลมร้อนที่ไม่มีเขม่า จึงทําให้ผลผลิตออกมามีสีสวย รสอร่อย และเป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว มีการวางจำหน่ายทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และตามซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ อีกหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพฯ ด้วย ปัจจุบันมียอดขายเฉลี่ยปีละกว่า 10 ล้านบาท ทําให้ชุมชนทุกครัวเรือนมีรายได้เลี้ยงตนเอง ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานออกไปจากบ้านเรือนของตนเอง สามารถพึ่งพา ตนเองได้ เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น อีกทั้งมีคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ต.ห้วยแก้วกิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งพัฒนา สาธิต และส่งเสริมการเพาะเห็ดหอม ผัก ผลไม้ และกาแฟ ให้เป็นอาชีพเสริมแก่ราษฎร นอกเหนือจากการปลูกเมี่ยง ซึ่งผลผลิตของเกษตรกรนำรายได้มาสู่ครัวเรือน พึ่งตนเองได้ เกิดความเข้มแข็งในชุมชน คุณภาพชีวิต ในด้านสังคม การศึกษา และการสาธารณสุขดีขึ้น ที่สำคัญ“ผักและผลไม้สด”ของมูลนิธิโครงการหลวงได้รับการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยในระดับมาตรฐาน และยังส่งออกไปตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของมูลนิธิโครงการหลวงเกิดจากการมีศูนย์การรักษาพืชของมูลนิธิฯ และห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สดที่มีคุณภาพ ซึ่งได้ช่วยตอกย้ำถึงความมั่นใจกับผู้บริโภคก่อนที่สินค้า จะจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด ต.สันพระเนตร อ. สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตฟันปลอมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางทันตกรรมแบบครบวงจร ได้แก่ ฟันปลอมแบบติดแน่น ฟันปลอมถอดได้งานโลหะและงานพลาสติก รวมทั้งงานจัดฟันและเครื่องมือจัดฟัน ประเภทต่าง ๆ โดยเป็นการผลิตตามใบสั่งของทันตแพทย์สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย มีมูลค่าทางการตลาดต่อปี ราว 200 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรปและอาเซียน เปิดดำเนินการมานานกว่า 16 ปี มีศูนย์กลางอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ และขยายสาขาไปอีก 8 สาขา ได้แก่ เชียงราย พิษณุโลก กรุงเทพ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี ชลบุรี และกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นทางภาคเหนือ ปี 2549 พร้อมกับอีกหลายรางวัลทางด้านนวัตกรรมและคุณภาพ ขณะเดียวกันบริษัทยังได้มีส่วนร่วมในการจัดทำฟันปลอม ในโครงการฟันปลอมพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างไรก็ตาม อย. ยังเดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการและนักวิจัยด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีโครงการให้คำปรึกษาด้านเครื่องมือแพทย์ตั้งแต่กระบวนการ ศึกษาวิจัยในระยะต่างๆ จนถึงการ เตรียมเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับ อย. ได้อย่างถูกต้อง การพัฒนาห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การจัดทำมาตรฐานเพื่อรองรับนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ และจัดทำช่องทาง Fast Track ในการขอจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์นวัตกรรมอีกด้วย