ตำรวจ กก.1 บก.ปอท.ร่วม ตม.รวบตัวไนจีเรียแสบ สมาชิกองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ก่อเหตุส่งอีเมลสแกมหลอกเอาเงินบริษัทฯ ต่างๆ มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (16 ก.ค.62)ที่ บก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. / โฆษก.บก.ปอท. แถลงผลการจับกุมคนร้ายข้ามชาติของ กก.1 บก.ปอท. ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. โดย ว่าที่ พ.ต.อ.วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. พ.ต.ท.วิชพัลภ์ แก้วแสนชัย รอง ผกก.1 บก.ปอท. และพ.ต.ท.รัฐพงศ์ แก้วยอด รอง ผกก.1 บก.ปอท. ได้จับกุม นายเบอร์ทาน ไอฟิลไวจุกกู อคีล (MR.BERTRAND IFEANYICHUKWU AKILE) ชายสัญชาติไนจีเรีย จับกุมตัวได้ที่บริเวณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชั้น 2 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กทม. เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 15 ก.ค.62เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมนำโดย พ.ต.ท.เอกพล แสงอรุณ สว.กก.1 บก.ปอท. พ.ต.ท.ภานุภัทร กิตติพันธ์. พ.ต.ท.ณัฐพล แต่เจริญ สว.กก.1 บก.ปอท. พ.ต.ต.วุฒิชัย ทับทวี สว.กก.1 บก.ปอท. ร.ต.อ.เอนก โชติพรหม รอง สว.กก.1 บก.ปอท. ร.ต.อ.พรเสกข์ เชาวสันต์ รอง สว.กก.1 บก.ปอท. ด.ต.ภานุวัติ เปี้ยนสีทอง ผบ.หมู่ กก.1 บก.ปอท. ส.ต.ท.กฤษณะ แสงบัวแก้ว ผบ.หมู่ กก.1 บก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า หลังจาก กก.1 บก.ปอท.ได้รับทราบข้อมูลจากสายลับขอปิดนามหวังเงินรางวัลนำจับ ว่าผู้ต้องหาจะมาติดต่อราชการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชุดจับกุมจึงได้นำกำลังไปเฝ้าสังเกตการณ์ พร้อมกับประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสานักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ว่าพบผู้ต้องหาตามหมายจับปรากฏตัวอยู่บริเวณสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 1เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. จึงร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตำรวจ บก.ตม.1 เดินทางไปบริเวณที่มีการแจ้งว่าพบบุคคลต้องสงสัยดังกล่าว เมื่อเดินทางไปถึงพบบุคคลที่มีลักษณะคล้ายกับบุคลตามหมายจับจึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอตรวจสอบพาสปอร์ตบุคคลดังกล่าวพบว่าคือ นายเบอร์ทาน ไอฟิลไวจุกกู อคีล (MR.BERTRAND IFEANYICHUKWU AKILE) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2015/2558 ลงวันที่ 14 กันยายน 2558 ข้อหาร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคลอื่น ร่วมกันปลอม ใช้เอกสารปลอม ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน ร่วมกันกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้แสดงหมายจับแก่นายเบอร์ทาน ไอฟิลไวจุกกู โดยมีล่ามแปลภาษาคือ น.ส.พิมพ์ชนก เชานุรัตน์ เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแจ้งข้อกล่าวหาตามหมายจับให้นายเบอร์ทาน ทราบ เมื่อนายเบอร์ทาน ทราบข้อกล่าวหาแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการจับกุมตัว นายเบอร์ทาน พร้อมทำการตรวจยึด แท็ปเล็ต ยี่ห้อ ซัมซุง สีขาว หมายเลขโทรศัพท์ 091-7829201 (เครือข่ายทรูมูฟ) ซึ่งอาจเป็นหลักฐานที่ใช้ในการกระทำความผิด ส่งให้พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ปอท. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โฆษก บก.ปอท.กล่าวต่อ สำหรับนายเบอร์ทาน ชาวไนจีเรียผู้ต้องหารายนี้ จากการสืบสวนพบว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกตัวการสำคัญในแก๊งค์องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวพันกับ นาย Omnyekachukwu Elvis Smart Egbule สมาชิกที่จับกุมได้ก่อนหน้าแล้ว จะเป็นผู้ทำธุรกรรมในบัญชีการเงินต่างๆ ที่สมาชิกฯ ส่งอีเมลสแกมที่มีการปรับแต่งอีเมลแอดเดสของบริษัทที่เป็นเป้าหมายไปหาลูกค้าของบริษัทต่างๆ ในการรับโอนเงิน จากนั้นจะโอนเงินต่อไปยังสมาชิกฯ เครือข่ายต่อเพื่อฟอกเงินทำให้ยากต่อการติดตามเงินกลับคืน สำหรับผู้เสียหายที่แจ้งความไว้กับ กก.1 บก.ปอท.จนขอศาลอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาได้ ประกอบด้วย 1. บจก.คัพเวอร์ เอิร์ท (น.ส.พรรณี ชิตรัตฐา) เป็นบัญชีส่วนตัว ธุรกิจส่งออก มูลค่าความเสียหายกว่า 4 ล้านบาท 2.บจก.กู๊ดเรท เอ็กซ์เซนจ์ แอนด์ แทรเวล เซอร์วิส (นายนภดล เลิศสกุลรุ่งโรจน์ ) เป็นบัญชีส่วนตัว ธุรกิจแลกเงินตรา มูลค่าความเสียหายกว่า 20 ล้านบาท 3.บจก.แองเจิ้ล เซอร์วิส (น.ส.รุ่งอรุณ แก้วเจริญ) เป็นบัญชีส่วนตัว ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก มูลค่าความเสียหายประมาณ 5 แสนบาท 4.บจก.ฟอลคอน จูเนียร์ เอ็กปอร์ต (Mr.Livinus Maduabuchukwu Akaegbusi) เป็นบัญชีส่วนตัว ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก แก๊งนี้จะมีนาย Sello Henry Makhetha ทำหน้าที่รับโอนเงินที่สมาชิกฯ ในเมืองไทยเบิกถอนเงินสดที่บริษัทฯ และลูกค้าของบริษัทที่เป็นเป้าหมาย โอนเงินมาให้ตามบัญชีคนร้าย ก่อนจะเบิกถอนแล้วโอนต่อไปให้นาย Sello Henry Makhetha ในต่างประเทศต่อทันที จากข้อมูลพบว่ามีการการฝากเงินสดจำนวนกว่า 120 ล้านบาท และถอนเงินสดกว่า 80 ล้านบาท ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ทางการไทย ได้จับกุมสมาชิกแก๊งค์นี้ได้แล้วจำนวน 2 ราย คือ นาย Bright Chyoke Nidubueze และ นาย Omnyekachukwu Elvis Smart Egbule ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1074/2558 และ 1075/2558 ลง 27 พ.ค.2558 ดำเนินคดีไปแล้ว พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการก่ออาชญากรรมในลักษณะการหลอกลวงทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(email scam) ซึ่งคนร้ายส่วนใหญ่จะเป็นชาวผิวสี กระทำเป็นขบวนการในลักษณะองค์กรอาชญากรรม ซึ่งในปี 2561 เป็นอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่สร้างความเสียหายเป็นตัวเงินมากที่สุด(ประมาณ 370 ล้านบาท) รายละเอียดการหลอกลวง มีดังนี้ 1.ส่ง email อีเมลหลอกให้ร่วมทำธุรกิจด้วย หลอกว่าได้ภาษีคืน หลอกว่าเป็นผู้โชคดีถูกรางวัล หลอกให้ช่วยเหลือแล้วจะตอบแทนด้วยเงินก้อนโต หลอกว่าคุณเป็นทายาทของมหาเศรษฐีที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยคนร้ายจะส่งอีเมลจำนวนมาก ไปหาเหยื่อจำนวนมากๆ ในอีเมลจะมีเนื้อหาเชิญชวน โน้มน้าว ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ ทำตามข้อความเชิญชวนหรือโน้มน้าว เช่น ร่วมลงทุนด้วย ลงทุนเพียงนิดเดียวแต่ได้กำไรกลับคืนมหาศาล บางครั้งยอมโอนเงินค่าดำเนินการไปให้เพื่อหวังได้รางวัลก้อนโตกลับมาในเวลาอันสั้น มิจฉาชีพจะทำการส่ง email ไปทางโซเชียลฯ เป็นจำนวนมาก แล้วก็รอให้เหยื่อเชื่อคำหวานที่เขียนไปในอีเมล เหยื่อเพียง 3 หรือ 5% ที่หลงกลก็คุ้มเกินคุ้ม เมื่อเหยื่อตอบกลับมา พวก scammer ก็จะติดต่อกลับเพื่อดำเนินการหลอกลวงอย่างอื่นต่อไปทันที เช่น หากคุณต้องการร่วมลงทุนกับเรา หรือรับรางวัลก้อนโต คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน โปรดโอนเงินให้เป็นจำนวนเงิน xxx,xxx บาท เป็นต้น 2.การส่ง email ปลอม หรือ แฮก email เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ของบริษัทคู่ค้าระหว่างประเทศ ว่า สินค้างวดต่อไปให้ชำระที่บัญชีใหม่(เป็นบัญชีที่คนร้ายหลอกลวง) หากเหยื่อไม่ได้ตรวจสอบ อาจหลงกลโอนชำระค่าสินค้าไปยังบัญชีปลอม ซึ่งมูลค่ามักจะสูงเพราะเป็นการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ สุดท้าย โฆษก ปอท. ฝากเตือนประชาชน หากได้รับ email หลอกลวงตามข้อ 1 ต้องไม่โลภ โดยให้ตั้งสติไตร่ตรองว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ ที่อยู่ๆ จะมีคนให้เงินเราเป็นจำนวนมาก และไม่ควรโอนเงินตามข้อมูลใน email ในลักษณะดังกล่าวทุกกรณี ส่วน ตามข้อ 2 เมื่อบริษัทหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินได้รับแจ้งทาง email ว่ามีการเปลี่ยนบัญชีการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ ให้ ตรวจสอบ(re-check) ไปยังผู้เกี่ยวข้อง ทางอื่น เช่น โทรศัพท์, vdo. Call ว่าจริงหรือไม่ อย่างไร. แล้วคุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊ง scammer