เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันที่ 15 ก.ค.แต่ละปี มีดังนี้ พ.ศ. 1642 (ค.ศ. 1099) – นครเยรูซาเล็ม ดินแดนปาเลสไตน์ ตกอยู่ในความยึดครองของกองทัพนักรบคริสเตียน ในสงครามครูเสด ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2044 (ค.ศ. 1501) - “เปโดร คาบรัล” นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เดินทางกลับถึงกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส หลังประสบความสำเร็จในการสำรวจดินแดนบราซิล ซึ่งส่งผลให้บราซิลเป็นอาณานิคมหนึ่งของโปรตุเกส พ.ศ. 2284 (ค.ศ. 1741) – คณะสำรวจดินแดนของ “อเล็กซี ชิริคอฟ” กลายเป็นชาวยุโรปคณะแรกที่เดินทางไปถึงดินแดนอะแลสกา ปัจจุบัน คือ รัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) – กองทัพฝรั่งเศส นำโดย “นโปเลียน” พบ “ศิลาโรเซตตา” ซึ่งเป็นแผ่นหินจารึกข้อความสมัยพระเจ้าปโทเลมี ที่ 5 ในเมืองเมมฟิส อียิปต์ ชิ้นส่วนหนึ่งของศิลโรเซตตา ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) – จักรพรรดินโปเลียนมหาราช ยอมจำนนต่อกัปตันเฟรเดริก เมทแลนด์ หลังพ่ายแพ้ในยุทธการวอเตอร์ลู ก่อนที่พระองค์จะถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ในมหาสมุทรแอตแลนติก พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - “ฮิกะชิ ฮอนกันจิ” เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา (แบบญี่ปุ่น” ที่ได้รับการสถาปนาในสหรัฐอเมริกา โดยวัดดังกล่าวตั้งอยู่ในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – กองทัพญี่ปุ่น โจมตีสะพานมาร์โคโปโล ในการทำสงครามบนแผ่นดินจีน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1952) – เริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) – เกิดเหตุรัฐประหารแต่ล้มเหลวในประเทศตุรกี เพราะประชาชนออกมาต่อต้าน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 300 คน และมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารถูกทางการจับกุมจำนวนกว่า 6,000 คน ประชาชนชาวตุรกีออกมาต่อต้านการรัฐประหาร เมื่อปี 2559 จนการยึดอำนาจครั้งดังกล่าวล้มเหลว