พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงคที่จะทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการสรางคนดีของบานเมือง โดยพระราชทานพระบรมราโชบายดานการศึกษา มุงสรางพื้นฐานใหแกผูเรียน ๔ ดาน ไดแก ๑) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกตองตอบานเมือง ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ๓) มีคุณธรรม และ ๔) มีงาน มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัไดและเปนพลเมืองที่ดี วันนี้สังคมไทยเกือบจะเป็นสังคมผู้สูงวัยเต็มร้อย คงอีกไม่นานก็คงจะเต็มร้อย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) โดยดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการกอศ.ในนามผู้บริหารตระหนักถึงการจัดการเรียนการสอนเยาวชนที่เข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีวศึกษาหรือสายวิชาชีพ ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เติบโตเป็นคนดี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในอาชีพที่เลือกเรียน ที่สำคัญมุ่งเน้นให้มุ่งเน้นความมีเมตตา มีความเอื้อเฟื้อ ไม่หลงไปในความโลภ รู้จักให้รู้จักเสียสละแบ่งปันด้วยมุ่งประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งอาชีวะได้ยึดพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักคิดเพื่อเป็นเครื่องมือนำสู่การปฏิบัติ โดยสร้างกิจกรรมให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาอาชีวะมีโอกาสนำความรู้ความสามารถเกื้อกูลสังคมโดยไม่มุ่งประโยชน์ตนเช่นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลถ่ายทอดสู่ผู้สูงอายุเพื่อสามารถดำเนินชีวิตในสังคมอย่างทันสมัยและอยู่ร่วมกับคนทุกเพศวัยอย่างมีความสุข เลขาธิการกอศ.ได้มอบหมายให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น โดยนางอนงค์ลักษณ์ พูลสุวรรณ ผู้อำนวยการนำศูนย์นวัตกรรม KVC-Cisco Innovation Center ดำเนินความร่วมมือทางวิชาการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นร่วมกับบริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทยจำกัด ที่มุ่งเน้นผลิตผู้เรียนให้เป็นนวัตกรบ่มเพาะนวัตกรรมด้านดิจิทัล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการบ่มเพาะนวัตกรด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จากบริษัทฯ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เป้าหมาย ณ วันนี้คือนำเทคโนโลยีดิจิตัลสร้างสังคมผู้สูงอายุให้น่าอยู่ มีคุณค่า เข้มแข็ง ยั่งยืนกับโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุยุคไอที 1 บาตร”ช่วงวันที่ 29-30 มิย.62 ที่ผ่านมา สนองพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสร้างคนเป็นคนดีให้บ้านเมือง ทำโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุยุคไอที 1 บาตร”มีดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการอบรม ณ ศูนย์ไอซีที วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ซึ่งมีนางอนงค์ลักษณ์ พูลสุวรรณ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยฯ นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกสมาคมการค้าซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคะวันออกเฉียงเหนือ ผศ.ดร.ภาณุพงษ์ วันจันทึก ประธานมูลนิธิคนพิการและผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น นางสาวบุญนอม งามเชื้อ ผอ.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น นายศาสตรา ผลากอง ผู้แทน บริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมในพิธีเปิด นางอนงค์ลักษณ์ พูลสุวรรณ ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาส เสริมสร้างความรู้ ทักษะ และอาวุธทางความคิดในการใช้ไอทีให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้มีความสุข มีคุณค่าในสังคม ไม่รู้สึกไร้ค่าโดดเดี่ยว รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนลูกหลานได้คิดถึงความสำคัญปู่ย่าตายายผู้สูงวัยทั่วไป โดยได้ลงมือคลุกคลีช่วยเหลือเกื้อกูลผ่านการให้ความรู้ทักษะด้านไอทีพื้นฐานแก่ปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนทุกคนลุกขึ้นมาทำสิ่งดี ๆ ร่วมกัน โดยการดูแล การเทคแคร์ การมีสำนึกในการกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุในฐานะผู้มีพระคุณ “เป็นสิ่งที่สำคัญที่ดิฉันตระหนักอย่างยิ่งในการปลูกฝังนักเรียนนักศึกษาอาชีวะในการดำเนินชีวิตอย่างนี้ที่เป็นวิถีที่ดีงามของไทยคือคนดีมีความกตัญญูรู้จักเอื้อเฟื้อคนอื่น ที่สำคัญยังสามารถสร้างความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพที่เยาวชนเรียนตามวิชาที่เลือกโดยอัตโนมัติพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพไปพัฒนาชาติบ้านเมืองได้ แล้วก็ต้อง ขอขอบคุณและชื่นชมผู้สูงอายุทุกท่านที่ลุกขึ้นมารวมพลังและสร้างคุณค่าให้ตัวเองด้วยการเรียนรู้ไอที โดยไม่อายหรือเขินว่าอายุมากแล้ว และไม่กลัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ น่าชื่นชมอย่างยิ่ง ที่ไม่อาจมองข้ามก็คือปู่ย่าตายายที่ลุกขึ้นมาสร้างคุณค่าให้ตัวเองเช่นนี้ยังเป็นเนื้อนาบุญให้ลูกหลานนักเรียนนักศึกษาได้ซึมซับคุณค่าแห่งการทำความดีสนองพระบรมราโชบาย และยังได้เพิ่มบุญกุศลให้ตัวเอง สร้างความชื่นใจให้ครอบครัวและสังคมกับความเป็นเด็กดี”ผอ.อนงค์ลักษณ์กล่าว ช่วง 2 วันคือวันที่ 29และ30 มิย.62ดังกล่าวนร.นศ.อาชีวศึกษาขอนแก่นซึ่งเรียนมาทางนี้โดยตรงมีความเชี่ยวชาญระบบไอทีพอสมควรทีเดียว ร่วมกับภาคเอกชนร่วมแนะนำฝึกฝนผู้สูงวัยที่เข้าร่วมอบรมซึ่งมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 52 คนจนสามารถใช้ระบบไอทีผ่านโทรศัพท์มือถือสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างดีเยี่ยม และสืบค้นหาองค์ความรู้มากมายในเพียงชั่วไม่กี่วินาทีได้ ที่สำคัญทำให้เยาวชนได้มีโอกาสดูแลปู่ย่าตายาย ได้รับการปลูกฝังความเสียสละความเอื้อเฟื้อ ทำประโยชน์ส่วนรวมและการรู้จักให้ผู้อื่นโดยไม่มุ่งประโยชน์ตอบแทน อันเป็นการสนองพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานพระบรมราโชบายให้สถานศึกษาร่วมสร้างคนดีให้บ้านเมือง