อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เผยทิศทางการดำเนินงานปี 2560 ลั่นเดินหน้ากลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางที่ประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นเสริมแกร่งใน 3 ด้าน ได้แก่ นำองค์กรเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนตัวแทนใหม่ และมุ่งเน้นออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ ตั้งเป้าขึ้นแท่นผู้นำตลาดด้านผลิตภัณฑ์เพื่อความคุ้มครอง ด้วยยอดเบี้ยรับรวม 32,500 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ มร.ไบรอัน สมิธิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต จำกัด เปิดแถลงข่าวระหว่างการเปิดตัวประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดิจิตอลของกลุ่มอลิอันซ์ในเอเชียแปซิฟิคบนชั้น 9 ของอาคารสำนักงานใหญ่ว่า สาเหตุที่กลุ่มอลิอันซ์เลือกประเทศไทยเป็นศูนย๋กลางการดิจิตลอหรือดิจิตอลฮับ เพราะอลิอันซ์อยุธยาฯเองมีพัฒนาการที่ดีและไกลกว่า และเร็วกว่าประเทศอื่นๆ จึงทำให้ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง โดยทุกสิ่งทุกอย่างที่กลุ่มอลิอันซ์ฯได้พัฒนาดิจิตอลขึ้นในประเทศไทยดังกล่าว จะได้รับการส่งต่อไปพัฒนายังประเทศไต้หวัน มาเลย์ อินโดฯเป็นการต่อไป ซึ่งประเทศเหล่านั้นจะต้องไปลงทุนพัฒนาต่อยอดออกไป โดยกลุ่มอลิอันซ์ใช้เม็ดเงินลงทุนในดิจิตอลฮับไปมากกว่า 200 ล้านบาทสำหรับโครงการนี้ มร.ไบรอัน ได้พูดถึงภาพรวมในปี 2016 ว่า สำหรับธุรกิจประกันชีวิตและของบริษัทใน 2016 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากดอกเบี้ยตกลง แม้จะตกแค่เพียง 1% ในช่วงต้นไตรมาสแรกของปี2016 ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่า เวลาที่ดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนดังกล่าว มันมีผลต่อการขายสินค้าประกันชีวิตประเภทเงินออมอย่างมากจริงๆในปีทีผ่านมา ดังจะเห็นได้จากการเจริญเติบโตของสินค้าประกันชีวิตประเภทเงินออมมีสภาวะที่ค่อนข้างถดถอย สำหรับบริษัทได้มีการเตรียมการและคุยกันถึงเรื่องนี้มาล่วงหน้าที่ผ่านมาตลอด โดยเราจะให้ความสำคัญของสินค้าคุ้มครองมาต่อเนื่องอยู่แล้วมามากกว่า3ปีแล้ว เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยเมื่อต้นปีที่แล้ว จึงไม่มีผลต่อบริษัทเท่าใดนัก โดยในแง่ของตัวเลขทางการของกลุ่มอลิอันซ์ โกลบอลขณะนี้ยังไม่ประกาศออกมา ดังนั้นจึงอาจจะพูดอะไรที่เป็นภาพรวมใหญ่ไม่ได้ แต่จะมีความสำเร็จหลายๆอย่างที่เราพูดได้และอยากจะแบ่งปันกันได้ก็คือ จากผลของสำรวจที่ผ่านมา บริษัทของเรา บวก 9.5 % อันเป็นผลของการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ต่อแบรนด์อลิอันซ์อยุธยา เปรียบเทียบกับความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริษัทที่เขาซื้อประกันด้วย และผลของการทำสำรวจนี้ อลิอันซ์อยุธยาฯก็ยังเป็นที่หนึ่งในประเทศไทยในเรื่องของการให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า และการสำรวจนี้สำรวจโดยบริษัทที่ทำวิจัยคือ บริษัท GFK ดังนั้นการที่อลิอันซ์อยุธยา ให้ความสำคัญกับการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางมาโดยตลอด ณ วันนี้เริ่มที่จะเห็นผล และเป็นผลจากการสำรวจของบริษัทอื่น ที่ไม่ใช่สำรวจโดยบริษัทเราเอง โดยความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของการจ่ายสินไหมเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะการที่เรายึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เรามีการทำการวิจัยตั้งแต่ทุก Touch Point ซึ่งสินไหมเป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นการทีบริษัทติดอับดับหนึ่งจุดนี้ ตัวนี้ก็เป็นตัวบ่งบอกได้อย่างดีถึงความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นจึงเป็นจุดที่บริษัทเราให้ความสำคัญมากๆกับเรื่องนี้ต่อไป มร.ไบรอัน กล่าวอีกว่า ในเวลาที่บริษัทบอกว่า จะยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราก็จะคิดและมาดูว่า ลูกค้าต้องเจออะไรบ้าง และทำยังไงให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งการที่เราจะทำอย่างงั้นได้ พนักงานของบริษัทต้อมีความสุขด้วย จึงจะทำให้บริษัทเดินหน้าไปสู่จุดหมายได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้บริษัทมีการสำรวจภายใต้โครงการที่เรียกว่า AES หรือ Allianz Engagement Servey ซึ่งมันเป็นการสำรวจความสุขของพนักงานในบริษัท ซึ่งเมื่อเวลาที่พนักงานของเรามีความสุข มันก็จะเป็นเรื่องของการที่พนักงานของเราเกิดความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำในสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งผลของการสำรวจนี้ ใช้บริษัทวิจัยที่ไม่ใช่ของอลิอันซ์อยุธยาฯ แต่ถูกจัดทำขึ้นโดยบริษัทคนกลางที่เป็นที่ยอมรับเชื่อถือของทั่วโลก เพราะฉะนั้นคำถามทุกคำถามจะถูกใช้เหมือนกัน 70 กว่าประเทศทั่วโลก ปรากฎว่าอลิอันซ์อยุธยาฯคว้ารางวัลโดยเป็นที่หนึ่งของบริษัทขนาดกลาง ซึ่งกลุ่มอลิอันซ์ฯจะมีบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ในแต่ละประเทศ จากความสำเร็จใน 3 เรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่ดีที่ส่งผลดีต่อบริษัทให้ก้าวต่อไปในปีนี้ สำหรับทิศทางของอลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิตในปี 2017 นั้น มร.ไบรอัน กล่าวว่า บริษัทคงมี 3 กลยุทธ์หลักที่จะทำให้บริษัทเดินไปสู่เป้าหมายปีนี้ก็คือ ประการแรก การนำองค์กรเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยอลิอันซ์อยุธยาประเทศไทยของเราได้รับเลือกให้เป็นดิจิตอลฮับ(Digital Hub) สำหรับภูมิภาคนี้ ซึ่งมีโครงการสำคัญๆด้านดิจิทัลต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาเกิดขึ้นที่ประเทศไทย ได้แก่ สำหรับลูกค้า บริษัทได้พัฒนาแพลทฟอร์มและแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ง่าย และช่วยให้ลูกค้าใกล้ชิดกับ แบรนด์ของเรามากขึ้น ทั้งนี้อาทิเช่น เครื่องมือการคิดคำนวณเบี้ยประกันภัย (Online Fast Quote) โดยลูกค้าสามารถค้นหารูปแบบกรมธรรม์หรือความคุ้มครองที่ต้องการได้ด้วยตนเอง My Allianz ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับบริการหลังการขาย Healthy Living ดิจิทัล แพลทฟอร์ม รวบรวมไลฟ์สไตล์คอนเทนท์ สะสมคะแนนเพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์มากมาย รวมทั้งพัฒนาช่องทางการสื่อสารให้เข้าถึงลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแต่คีย์เบอร์กรมธรรม์ จะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในนั้นได้หมด สำหรับตัวแทนก็จะมีการพัฒนาเครื่องมือด้านดิจิทัลเพื่อช่วยให้การเสนอขายสะดวกรวดเร็ว ผ่าน Allianz Discover ซึ่งเป็นโครงการระดับภูมิภาคที่จะใช้กับตัวแทนของอลิอันซ์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค สำหรับพนักงาน บริษัทฯมีความชัดเจนในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากเพื่อมุ่งสู่การทำงานแบบไร้กระดาษ “เวลาที่เราพูดถึงดิจิตอล เวาลาเราให้ความสำคัญกับลูกค้า เรายึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ดิจิตอลจะมีส่วนมาเกี่ยวข้องกับการบริการ เพื่อให้ง่ายต่อลูกค้าได้อย่างไร ลูกค้าแน่นอนต้องการบริการดีที่สุด และตัวแทนเองก็น่าจะคาดหวังว่าบริษัทน่าจะมีเครื่องไม้เครื่องมือ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ อย่างที่ลูกค้าอยากได้ ในแง่ของพนักงานเอง เวลาที่เราพัฒนาจะพัฒนาจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ พนักงานต้องปรับตัวในการมีเครื่องไม้เครื่องมาช่วยตัวแทน ซึ่งเราต้องทำในสิ่งที่ดีกับทุกกลุ่มคน ไม่ว่าตัวแทน พนักงาน และลูกค้าเพื่อส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุด”มร.ไบรอัน กล่าวและว่า นอกจากนี้เรายังมีนวัตกรรมที่เรียกว่า Allianz Discovery ที่พัฒนาที่ไต้หวัน ซึ่งนำมาผสมผสานกับ DNA ที่ประเทศไทยเราพัฒนาใช้อยู่ ทำให้เติมเต็มฟังก์ชันเครื่องมือนี้ยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้งานและจะกลับไปประเทศไต้หวันและประเทศอื่นๆ ทุกๆระบบจะรองรับเครื่องไม้เครื่องมือนี้ หรือแม้แต่โครงการ Social Media for Sales ที่เสริมแกร่งทีมงานฝ่ายขาย ซึ่งเป็นเฟสบุ๊คที่มีตัวแทนเป็นสมาชิกปัจจุบันเราปัจจุบันถึง 650 คนแล้ว ซึ่งสมาชิกแต่ละคนจะมีออฟฟิศเชียลเฟสของตัวเอง โดยวันนี้เรามาไกลทีเดียว ในปี 2017 เราจะเพิ่มเป็น 1,000 คน และในเมื่อเราพูดถึงดิจิตอล ต่อไปบริษัทเราก็จะพัฒนาต่อยอดไปไกลกว่านี้ โดยนอกเหนือจากบริษัทจะแปรสภาพชั้น 9 ของสำนักงานใหญ่ของเราแห่งนี้แล้วให้มีบรรยากาศของดิจิตอลแล้ว ในลำดับต่อไปในชั้น 22 ตึกพหลโยธินเพลสก็จะมีการตกแต่งและเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในโหมดของดิจิตอลเช่นกัน "เราจะไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้ แต่ทุกเซอร์วิสเซนเตอร์ของอลิอันซ์อยุธยาฯต่อไปจะพัฒนาให้เป็นดิจิตอลด้วยเช่นกัน โดยทาง Regional CEO หรือ President Asia Pacific ของอลิอันซ์ฯอยากจะให้อลิอันซ์เป็นดั่ง “กูเกิ้ลของเอเชียแปซิฟิก” และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาของเรื่องราวดิจิตอล"มร.ไบรอัน กล่าวและว่า หรือสิ่งที่เราภูมิใจมากขณะนี้อย่างเช่น ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในเอเชีย สำหรับประเทศไทยที่ใช้โรแบติกในการทำงาน โดยโรแบติดไม่ใชเรามีหุ่นยนต์เข้ามาทำงานกับราเท่าน้น แต่มันจะไม่มีคนมาเกี่ยวข้องเลยตั้งแต่ 0-100 ในพื้นที่หรือแผนกที่เราใช้โรแบติก โดยขณะนี้ได้นำมาทดลองใช้แล้วจะเป็นฝ่ายการเงิน ตอนนี้เราพัฒนาได้พอสมควร เมื่อไรที่ทำเสร็จ ก็จะนำมาใช้ในประเทศไทย และจะนำไปใช้ในยุโรปเช่นกัน ซึ่งต่อไปจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลที่เราเก็บในบริษัท เราสามารถเข้าถึงได้เหมือนกับว่าเราอยู่ในบริษัทเลย อันนี้เป็นเป้าที่ท้าทายมาก สำหรับการทำงานแบบไม่มีกระดาษเลย ซึ่งเป็นเป้าของเราที่จะไปให้ถึง และสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยขณะนี้เราก็จะดูก่อนว่าอะไรที่เราจะทำได้ก่อน เราก็จะทยอยทำไปเรื่อยๆ และเราคิดว่าเราน่าจะไปถึงเป้านี้ได้ไม่นานนี้ โดยทุกอย่างที่เล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ ได้รับการสนับสนุนและความเห็นชอบจากคปภ.เรียบร้อยแล้ว เวลาที่เราบอกว่า ช่องทางการสื่อสาร ส่งไปหาลูกค้า มีหลายช่องทาง ขณะเดียวกันพนักงานถือแป็นกลุ่มที่ต้องมีปฎิสัมพันธ์ ทุกช่องทางสื่อสาร มันสามารถทำให้เราใกล้ชิด กระชับ เข้าถึง เข้าใจได้มากขึ้น ดังนั้นเราจะใช้ช่องทางทั้งหมดที่มีกับพนักงานเราเช่นเดียวกัน มร.ไบรอัน กล่าวเสริมว่า สำหรับกลยุทธ์ประการที่ 2 ถัดมาคือ บริษัทฯให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนตัวแทนใหม่ โดยในช่องทางตัวแทน ถือเป็นปีแห่งการสรรหา หรือ “Year of Recruitment” เนื่องจากตัวแทนใหม่ คือกลุ่มคนที่สร้างผลงานให้กับบริษัทฯถึง 50% ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญ ในการสร้างการเติบโต โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์คุ้มครองและแบบยูนิตลิงค์ โดยปีนี้ เน้นการจัดสัมนาทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด Life Changer เป็นการนำเอาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งตัวแทนรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จอันดับต้นๆ เดินสายแบ่งปันความรู้และแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยวิทยากรก็คัดเลือกจากวิทยากรในมุมของรุ่นเจนเนอเรชั่น X เจนฯY และเบบี้บูมขึ้นมาถ่ายทอด เพื่อที่จะโชว์ความสำเร็จของคนแต่ละคนแตกต่างกัน แต่ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือดิจิตอล ทั้งนี้ได้มีการจัดสัมมนา Life Change ไปครั้งแรกแล้วเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก ซึ่งมีคนมาเข้าร่วมถึง 1,000 คน และในวันเสาร์ที่ 4 ก.พ.นี้เราคาดว่าจะมีคนเข้าร่วมในงาน Life Changer อีก 1,500 คน ซึ่งเราเชื่อว่า กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนที่เข้ามาฟัง และเราเชื่อว่า จะมีคนเข้ามาร่วมและเป็นตัวแทนกับเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทฯตั้งเป้าที่จะสร้างตัวแทนใหม่ที่จะเข้ามาร่วมงานกับอลิอันซ์ อยุธยา เพิ่มอีก 6,500 ราย ภายในสิ้นปีนี้ บริษัทจะนำมวิทยากรขึ้นมาพูด Motivate โดยคัดเลือกวิทยากรในมุมของรุ่นเจนเนอเรชั่น X เจนฯY และเบบี้บูมมาถ่ายทอด เพื่อที่จะโชว์ความสำเร็จของคนแต่ละคนแตกต่างกัน แต่ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือดิจิตอล และกลยุทธ์ประการที่ 3 นำผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ ออกมาจำหน่ายให้สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ยังคงเดินหน้าออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เติมเต็มความต้องการของลูกค้า ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์คุ้มครอง คือ หัวใจสำคัญ ในการเติบโตธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย นอกจากนั้น สำหรับลูกค้าที่มองหาทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนที่ดี อลิอันซ์ อยุธยา ได้เริ่มขายประกันชีวิตประเภทยูนิต ลิงค์ (Unit Link) เมื่อไตรมาส 4 ปีที่แล้ว โดยภาพรวมทั้งบริษัทคงตั้งเป้าที่จะสร้างยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ ให้มีสัดส่วนร้อยละ 42 ของมูลค่าเบี้ยประกันรับปีแรกของช่องทางตัวแทน จากปีที่แล้วเราอยู่สัดส่วนที่ร้อยละ 39 โดยสินค้ายูนิตลิงค์ที่บริษัทขายจะไม่ได้ขายในมุมมองของลงทุน แต่จะขายในมุมมองของความคุ้มครอง โดยทุกยูนิตลิงค์ที่เราขายจะแนบไปพร้อมกับสินค้าความคุ้มครองแนบไปด้วย โดยเวลาที่เราเอาเงินไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมา ก็นำไปจ่ายสินค้าความคุ้มครองที่แนบกับยูนิตลิงค์ ซึ่งในอินโดนิเซีย 90% สินค้าที่เขาขายคือยูนิตลิงค์ โดยจะขายยูนิตลิงค์ในมุมความคุ้มครองอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงเรื่องลงทุนเลย และประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยปีนี้เราคิดว่า เราตั้งเป้าสินค้ายูนิตลิงค์ของบริษัทเราน่าจะเป็น 10% ของพอร์ตอลิอันซ์อยุธยาฯ “ด้วยกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจที่สำคัญในปีนี้ ผนวกกับการมุ่งเน้นสรรหาตัวแทนใหม่ เพื่อช่วยผลักดันยอดขายผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ รวมทั้งยูนิต ลิงค์ และเราเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะสามารถบรรลุเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 6,500 ล้านบาท และเบี้ยประภัยรับรวม 32,500 ล้านบาท ในปี 2560 นี้ได้อย่างแน่นอน” นายไบรอัน กล่าวทิ้งท้าย อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า หากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดกันในปีนี้นั้น บริษัทจะมีการปรับเปลี่ยนทิศทางการเน้นขายสินค้าความคุ้มครองเปลี่ยนไปหรือไม่ มร.ไบรอัน กล่าวตอบว่า ในมุมมองส่วนตัวของตนเองนั้นคิดว่า ดอกเบี้ยคงจะไม่ขึ้น แต่การที่ดอกเบี้ยมันขึ้นมาขณะนี้อาจจะมาจากกระแสของการเลือกตั้งของสหรัฐฯ แต่คิดว่า คงไม่ยืนยาว โดยเราคิดว่า ดอกเบี้ยคงจะตกลงมา อีกทั้งบริษัทก็คิดว่า ถ้าหากจะให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นต้องขายสินค้าความคุ้มครองเท่านั้นในสภาวการณ์เช่นนี้ “สำหรับอลิอันซ์เราไม่เชื่อว่า ดอกเบี้ยมันจะขึ้น เมื่อเราคาดการณ์เช่นนั้น เราก็จะไม่เปลี่ยนแปลง หรือหากดอกเบี้ยขึ้น ก็อาจขึ้นไม่เยอะ เราเชื่อว่า มันยังอยู่ในระดับต่ำ อีกอ่ยางหนึ่ง เราต้องดูด้วยว่า ธุรกิจประกันชีวิตดำรงอยู่เพื่อขายสินค้าประกันชีวิต ไม่ได้ต้องการขายสินค้าเพื่อไปแข่งกับธนาคาร เพราะทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง สินค้าความคุ้มครองมันจะไม่แปรผันอยู่แล้ว ดังนั้นการที่เราเอาตัวเองไปยึดกับสินค้าออม มันมีความเสี่ยง เพราะไม่สามารถควบคุมการขึ้นลงของดอกเบี้ยได้ สินค้าออมมันเหมือนการพนัน มันอยู่กับดอกเบี้ย ดอกเบี้ยขึ้นก็ดี ถ้าดอกเบี้ยตก มันก็ไม่ดี”มร.ไบรอันกล่าว ต่อข้อถามว่า มีการปรับเปลี่ยนพอรต์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าประเภทการออมหันมาซื้อสินค้าความคุ้มครองมากน้อยขนาดไหนที่ผ่านมา มร.ไบรอัน กล่าวตอบว่า "ในแง่พอร์ตของเรา 41% ของคนที่ซื้อสินค้าประกันออม จะหันมาซื้อสินค้าประกันสุขภาพ เพราะมันขึ้นกับสินค้าและช่องทางการจำหน่าย สำหรับในแ่ง่ของบริษัทแล้ว เวลาที่เรามอง จะมองว่า ถ้าดอกเบี้ยตก จะตกต่อเนื่อง สินค้าความคุ้มครองจะขายได้ขายดี สำหรับตัวแทน โดยลูกค้ามีความต้องการได้รับการบริการและคำแนะนำจากตัวแทน และทุกๆบริษัทเริ่มจะให้ความสำคัญกับสินค้าความคุ้มครองมากขึ้น แต่การขายสินค้าความคุ้มครองที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น มันขึ้นอยู่กับการอบรมตัวแทนให้ขายและพูดได้ และมีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะสนับสนุนตัวแทนนั้น ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องง่ายทีเดียว" ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวได้ถามถึงเพราะเหตุใดจึงไม่ตั้งดิจิตอลฮับในฟากประเทศยุโรป มร.ไบรอัน กล่าวตอบว่า การพัดมนาดิจิตอลในฝั่งยุโรปกับเอเชียแปซิฟิก มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน อีกทั้งโลเคชั่นหรือสถานที่ของประเทศไทยมีข้อจำกัด โดยบริษัทเห็นว่า มันควรอยู่ในเอเชียจะเหมาะกว่า เพราะการพัฒนาดิจิตอลจะต้องมีปัจจัยหลายอย่างกัน ไม่ว่าปัจจัยเรื่องของการอาศัยเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็ว ถ้าเกิดสมมุติเราอยู่ไกล มันก็ไม่สามารถพัฒนานำไปใช้กับประเทศใกล้เคียงได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งอลิอันซ์อยุธยาฯเองก็มีคนที่สามารถพัฒนาสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ดี โดยปัจจุบันอลิอันซ์ ฯ จะมีอีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัทAMOS หรือย่อมาจาก ALLIANZ MANAGEMENT OPERATION SYSTEM ที่มีคนมากกว่า 250 มาดูแลไอทีโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ในประเทศด้วย ดังนั้นเวลาที่เราพัฒนาดิจิตอล มันต้องนำมาใช้อย่างรวดเร็ว และมีผลตอบรับอย่างรวดเร็ว และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้ามีศูนย์อยู่ยุโรป เวลาก็ต่างกัน และเวลาแก้ไขก็ไม่ทันการณ์ และที่สำคัญตลาดอย่างประเทศจีนก็พัฒนาไปเร็วกว่ายุโรปเยอะมากๆ