วันที่ 10 ก.ค. ที่ ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทศโนโลยี ( บก.ปอท.) น.ส.จิณณ์ณิชา พูลสวัสดิ์ หรือน้องดิว อายุ 27 ปี เจ้าหน้าที่เอ้าท์ซอร์ส ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์สาวสวยน่ารักประจำ ปอท. ปราการด้านแรกที่ต้องเจอกับผู้เสียหาย ที่ถูกคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ น้องดิว แนะนำตัวว่า เรียนจบจากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น คณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษธุรกิจ จบเกรดเฉลี่ย 3.64 จากนั้นเธอก็เริ่มต้นทำงานในตำแหน่งล่ามภาษาอังกฤษ ให้กับ ปอท. ตั้งแต่ปลายปี 2561 ได้รับคัดเลือกมานั่งเตอร์ต้อนรับประชาชนที่มาใช้บริการ ปอท. ด้วยความที่มีบุคคลิกดี หน้าตาน่ารัก ผู้ร้องทุกข์ส่วนใหญ่มักจะเข้ามาสอบถามข้อสงสัยอเป็นประจำ จึงทำให้พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท.ฐานะโฆษก บก.ปอท. ให้เธออยู่ในตำแหน่งประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย น้องดิว เล่าต่อว่า ในแต่ละวันเธอต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์หลากหลายรูปแบบ อันดับแรกเธอต้องคัดเเยกเรื่องเข้าเเต่ละกองกำกับการ 1 - 2 และ 3 ตามฐานความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นกองกำกับ 1 ในกรณีถูกเเฮ็ค เช่น เฟสบุ๊ก ไลน์ อีเมล กองกำกับ 2 กรณีฉ้อโกง เช่น การสั่งซื้อของออนไลน์จากเฟสบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์ ที่มีการโอนเงินไปเเล้วไม่ได้รับของ กองกำกับ 3 กรณีความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่มีการโพสต์โดยใช้ถ้อยคำ คลิป หรือรูปภาพทำให้เสียหายต่อชื่อเสียงเเละสร้างความอับอายต่อผู้เเจ้ง ทั้งนี้เธอยังต้องเป็นล่าม และแปลเอกสารในการประชุมจากหน่วยงานอื่นๆ ความรู้ 2 ภาษาที่ฝึกปรือมาจากสถาบันช่วยให้เธอทำงานให้ ปอท.ได้อย่างดี ตลอดการทำงานน้องดิวเคยเจอเครสที่แปลกสุด เครสที่ผู้แจ้งมีความผิดปกติทางจิต แล้วมีจินตนาการว่ามีคนนำรูปภาพโป๊เปลือยไปลง จากที่เธอตรวจสอบเบื้องต้น นั้นไม่พบหลักฐานอะไรเลย จากนั้นผู้เสียหายก็ยังไม่ยอม เธอจึงต้องเเจ้งทางร้อยเวรให้มาตรวจสอบ ร้อยเวรก็ยังหาหลักฐานไม่เจอ จากการพูดคุยจะพบว่าผู้เสียหายนั้นพูดจาไม่รู้เรื่อง นอกเหนือจากนี้กรณีที่ฐานความผิดไม่เข้า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เธอจะต้องชี้เเจงให้ผู้เสียหายเข้าใจ เเต่ผู้เสียหายอาจจะไม่มีความเข้าใจในกฎหมายเบื้องต้น บางรายอาจจะโวยวายหรือไม่พอใจ เธอก็พยายามพูดเเละค่อยๆบอก เพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะหลายครั้งผู้เสียหายเกิดความโมโหหรือเครียดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ รอง ผบก.ปอท.และ โฆษก บก.ปอท. เปิดเผยว่า สำหรับ พื้นที่แจ้งความร้องทุกข์ที่ บก. ปอท. เราพยายามทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย เข้ามาแล้วรู้สึกผ่อนคลาย มีหนังสือให้อ่าน มีทีวีให้ดูเล่น มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่คอยต้อนรับ และรับเรื่องโดยจะให้คำปรึกษาต่างๆ ว่าผู้เสียหายเจออะไรมาบ้าง และจะมาคัดแยกประเภทว่าเรื่องราวดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานความรับผิดชอบใด โดยปัจจุบัน ปัญหาทางโซเชียลค่อนข้างมีมากขึ้น หลายคนต้องศึกษา กฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้มากขึ้นเช่นกัน กรณีง่ายๆ มีการกล่าวหากันทางไลน์ เฟซบุ๊กสร้างความเดือดร้อนให้ฝั่งตรงข้าม หรือ ไลฟ์สดโชว์ภาพวาบหวิว เราอาจมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่บางกรณี อาจะเข้าค่ายความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และบางกรณีทางฝ่ายคู่กรณีไม่ทราบด้วยซ้ำว่าทำผิดอะไร บางข้อความ เราอาจพิมพ์ลงไปเพราะบันดาลโทสะ แต่อาจมีความผิด โดยทางฝ่ายประชาสัมพันธ์เราจะพยายามให้ข้อมูลและรายละเอียด ช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้มากที่สุด ตามกระบวนการของกฎหมาย