"ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกจำนวนมาก ที่มีความตั้งใจจริงมีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้" พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานเมื่อพศ.2518 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)สืบสานพระราชปณิธานสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชนคนไทยในพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมุ่งสร้างคนดีคนเก่งเพื่อประโยชน์สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการปูทางสู่ความเป็นคนดีและมีความเชี่ยวชาญทางสายอาชีพเพื่อสร้างงานสร้างรายได้สร้างฐานะครอบครัวไม่เป็นภาระแก่สังคม อันเป็นการสนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธานดังกล่าว จึงจัดโครงการศึกษาสายอาชีพ 1 ปีโดยน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริโรงเรียนพระดาบสมาเป็นแนวทาง โดยเริ่มโครงการที่กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสอศ.นำร่อง 12 แห่งเปิดรุ่นแรกไปในปีงบประมาณ 2561.แล้วเมื่อจบการศึกษาก็วัดฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันทักษะอาชีพที่ร่ำเรียนมา เพื่อก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและเกิดความมั่นใจในอันที่จะนำไปประกอบอาชีพได้อย่างภาคภูมิใจ โดยทางสอศ.จัดให้มีการแข่งขันทักษะฝีมือ “อาชีวะสร้างช่างฝีมือ”ระดับชาติครั้งที่ 1ไปเมื่อวันที่26-28 มิย.62 ที่ผ่านมา ณวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(เลขาธิการกอศ.) กล่าวเมื่อวันที่ 28 มิย.62 ในฐานะประธานมอบประกาศนียบัตรว่า การจัดการเรียนการสอนอาชีวะสร้างช่างฝีมือ เป็นโครงการดำเนินงานการจัดการศึกษาเพื่อให้โอกาสแก่ผู้ที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอาจจะด้วยเหตุปัจจัยต่างๆเช่นครอบครัวยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกล หรือแม้แต่เข้าสู่ระบบการศึกษาแต่อยากมีความเชี่ยวชาญทางอาชีพอย่างใดอย่างแต่ไม่มีช่องทางได้เรียน ได้มีโอกาสที่จะเรียนฝึกอาชีพ โดยน้อมนำเดินตามแนวทางการจัดการศึกษาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบโรงเรียนพระดาบส ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของผู้ด้อยโอกาส ขาดโอกาส ให้มีฝีมือช่าง และประกอบอาชีพได้ในระยะเวลา 1 ปี แม้ว่าอาจจะยังไม่เชี่ยวชาญนักแต่เมื่อได้ลงมือออย่างต่อเนื่องย่อมก้าวสู่ความเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญได้จริงๆ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษากล่าวว่า สถานศึกษานำร่องในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 12 แห่ง ได้แก่ 1. วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด 2. วิทยาลัยการอาชีพเสนา 3. วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม 4. วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา 5. วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง 6. วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี 7. วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์ 8. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร 9. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว 10. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี 11. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี และ 12. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ได้จัดการเรียนการสอนอาชีวะสร้างช่างฝีมือ รับผู้เรียน 30 คน ต่อสถานศึกษา และเมื่อผู้เรียนจบการศึกษา มีงานทำ 100 เปอร์เซ็น โดยมีรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนจะได้รับการฝึกขั้นพื้นฐานจากสถานีฝึก 12 สถานี ดังนี้ งานไม้ งานตะไบ งานปูน งานตีเหล็ก งานเขียนแบบ งานไฟฟ้า งานยานยนต์ งานเชื่อม งานอิเล็กทรอนิกส์ นิวเมติกส์ เศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมจริยธรรม ประวัติศาสตร์ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จากนั้นอีก 3 เดือน ก็จะฝึกทักษะฝีมืออย่างเข้มข้นให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัด และความสนใจ และ 2 เดือนต่อมา ก็จะฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ และการสอนมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทักษะที่จำเป็นสำหรับการออกสู่โลกอาชีพต่อไป โดยผู้เรียนจะได้รับใบสัมฤทธิบัตร เมื่อสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนดไว้ “ครั้งนี้ (26-28 มิ.ย.2562 ) เป็นการแข่งขันของผู้เรียนอาชีวะสร้างช่างฝีมือ จากสถานศึกษานำร่อง 12 แห่ง ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพ อาชีวะสร้างช่างฝีมือ ระดับชาติ ครั้งที่ 1 ณ วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนตามโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ ได้แสดงออกถึงความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ และยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสามารถที่เป็นเลิศทางวิชาชีพในแต่ละทักษะงาน ซึ่งอาชีวะเชื่อมั่นว่าเมื่อผู้เรียนกลุ่มนี้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป”ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชรเลขาธิการกอศ.กล่าว ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ อาชีวะสร้างช่างฝีมือ ระดับชาติ ครั้งที่ 1 ด้านทักษะงานตะไบรางวัลชนะเลิศ นายฮาฟิช เจ๊ะเม๊าะ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานีรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายเสกสรรค์ สิงห์ใจ วิทยาลัยการอาชีพเวียงสารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายอภิชาต คมขำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ทักษะงานเชื่อม รางวัลชนะเลิศ นายนุติ ตะก้อง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรีรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายธีระพันธ์ บุญยงค์ วิทยาลัยการอาชีพเวียงสารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายกิตติวัฒน์ ศรีพรหม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ทักษะงานไม้ รางวัลชนะเลิศ นายภควัช มีศรี วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายคิรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคโพธารามรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายสุไลมาล มามะ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ทักษะงานไฟฟ้า รางวัลชนะเลิศ นายวสันต์ บุญศรี วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายสมพงษ์ มาลากรณ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตรรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายภาคภูมิ สีสว่าง วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี