จากผลการประชุมเมื่อเดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา กรมประมงได้จัดการประชุม The ASEAN Meeting on Combating IUU Fishing in Partnership with the EU มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรระหว่างประเทศด้านการประมง และผู้แทนจากสหภาพยุโรป (อียู) 70 ราย หารือพร้อมทั้งเร่งผลักดันการจัดตั้ง ASEAN IUU Fishing Task Force เพื่อแสดงถึงจุดยืนร่วมกันที่จะมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาค โดยมีข้อเสนอการประชุม ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ การจัดทำนโยบายประมงอาเซียน อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา และการจัดตั้ง The ASEAN IUU Task Force เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสร้างเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารรวดเร็วมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านการประมง IUU ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของท่า และองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค โดยข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นทางด้านกฎหมาย เช่น การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและระหว่างประเทศ กฎหมายของแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้อง มาตรการรัฐเจ้าของท่า และมาตรการบริหารจัดการ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะทำงาน Task Force จะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งผลักดันประเด็นสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและวางแผนการดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาเครื่องมือ ระบบ เทคโนโลยีในการสืบสวนสอบสวน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการของ Task Force จะสามารถพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการติดตามควบคุมและเฝ้าระวังการกระทำผิด IUU ให้แก่หน่วยงานประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาการต่อต้านการประมง IUU ในประเทศและในภูมิภาค ในประเด็นแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาคทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมประมงได้ปฏิบัติการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ค.62 พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค./ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้ลงพื้นที่กำชับติดตามการดำเนินคดีการทำประมงผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จังหวัดระนองจากการปฏิบัติการร่วมของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกรมประมงในการจับกุมเรือประมงที่กระทำความผิดจำนวน 66 ลำ พร้อมเปิดเผยว่า ตามนโนบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ติดตามกำกับดูแลเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย และโดยการสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้เข้มงวดกวดขันการทำประมงผิดกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับจุดยืนของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาค ตนในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ได้ดำเนินการร่วมกับกรมประมงในการตรวจสอบติดตามและบังคับใช้กฎหมายการทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างวันที่ 22-30 มิ.ย.62 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด SAT (Spacial Arrest Team) พร้อมเจ้าหน้าที่กรมประมง ประกอบด้วย เรือตรวจกรมประมงและเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำระนอง หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะสุรินทร์ พังงา ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาที่ทำการประมงผิดกฎหมายที่จังหวัดระนองได้สามารถแบ่งกลุ่มประเภทการกระทำความผิดได้ เป็น 2 กลุ่มดังนี้ เรือกลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ลำ จับกุมในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย.62 ในพื้นที่จ.ระนอง ความผิดฐานปลอมแปลงปิดบังหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายประจ้าเรือประมง หรือทะเบียนเรือประมง อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 165 และฐานร่วมกันน้าเข้าสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดการประมงฯ มาตรา 92 มาตรา 95 และมาตรา 96 ประกอบมาตรา 158 ลงโทษปรับห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่นำเข้า สถานที่เกิดเหตุบริเวณแพ พี เจ ที่อยู่ 92/20 หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2562 เวลาประมาณ 19.10 น.และควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองระนอง ดำเนินคดีตามกฎหมาย เรือกลุ่มที่ 2 จำนวน 59 ลำ จับกุมในระหว่างวันที่ 22-30 มิ.ย.62 ซึ่งกักและล็อคไว้ ณ ท่าเทียบเรือต่างๆ จว.ระนอง (ตาม พรก.การประมงฯ มาตรา 95 และ มาตรา 105(2) คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2560 ข้อ 22) ดำเนินคดีในข้อหา “เป็นผู้ควบคุมเรือลักลอบนำเรือประมงต่างประเทศเข้ามาในน่านน้ำไทยและเข้าเทียบท่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง” (เป็นความผิดตาม พรบ.การเดินเรือฯ มาตรา 17 และมีโทษตาม ม.24 ประกอบประกาศกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 51 /2561 ลง 19 มี.ค. 2561 ข้อ 9 และข้อ 11 ประกอบประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 ลง 9 พ.ย. 2560) และความผิดฐานปลอมแปลงปิดบังหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายประจ้าเรือประมง หรือทะเบียนเรือประมง อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 165 และความผิดฐานร่วมกันน้าเข้าสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดการประมงฯ มาตรา 92 มาตรา 95 และมาตรา 96 ประกอบมาตรา 158 ลงโทษปรับห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่นำเข้า และแจ้งข้อหา “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” อันเป็นความผิดตาม พรบ.คนเข้าเมืองฯ มาตรา 11 ประกอบมาตรา 62 ส่วนความผิดในข้อหาอื่นอยู่ในระหว่างสอบสวนดำเนินคดีต่อไป จากการปฏิบัติภารกิจกวาดล้างจับกุมการทำประมงผิดกฎหมายในครั้งนี้ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค./ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ยังกล่าวด้วยว่า “ปฏิบัติการกวาดล้างจับกุมการทำประมงผิดกฎหมายแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของประเทศไทยระหว่างดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน รวมทั้งแสดงจุดยืนของภูมิภาคอาเซียนที่จะปลอดการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Free) ให้หมดไปจากภูมิภาค” โดยที่ผ่านมาจากการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมประมงในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทำให้สถิติการเกิดคดีการทำประมงผิดกฎหมายมีการลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 มี 3,270 คดี ปี 2560 มี 958 คดี ปี 61 มี 574 คดี ปี 62 จนถึงปัจจุบัน 333 คดี ล่าสุด จากการทำประมงผิดกฎหมาย เมื่อเดือน พ.ค.62 ที่ ผ่านมาศาลสั่งปรับเรือโชคชัยนาวี 35 พร้อมยึดเรือสินค้าบนเรือ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท