สสท. ยกระดับสินค้าสหกรณ์ สร้างแบรนด์เดียวทั่วประเทศ รุกเปิดตลาดต่างประเทศ เตรียมพบ”จุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฐ์”ถกปัญหาสหกรณ์ปฏิรูปเกษตรอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 4 ก.ค.62 นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) กล่าวในโครงการฝึกอบรม 4 ภูมิภาครุ่นที่ 3 หลักสูตรยกระดับมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สหกรณ์อย่างไร รุ่นที่ 3 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง "วันสหกรณ์สากล" ประจำปี 2562 แห่งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (ICA)และปีที่ 25 แห่งสหประชาชาติ 2562 ในส่วน “การส่งเสริมตราสัญญลักษณ์ coop กับการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สหกรณ์ ไทยสู่สากล”ว่า การพัฒนาการส่งออกสินค้าสหกรณ์ไปต่างประเทศ มีความจำเป็นจะต้องมีตราสินค้าสหกรณ์ที่ชัดเจน ในส่วนของประเทศไทยจึงใช้ตราสินค้าเป็นมาตรฐานโอออปเป็นสินค้าเดียวในการส่งออกและเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ก็เป็นที่ยอมรับ โดยเรื่องคุณภาพสินค้าของสหกรณ์ที่ผลิตโดยกลุ่มสหกรณ์ไม่มีปัญหา เพราะส่วนใหญ่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีปัญหาต้นทุนสูง โดยจากนี้ไปสหกรณ์ต่างๆ ต้องพยายามที่จะมีการพัฒนาการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนให้ได้ และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ โดยสันนิบาตสหกรณ์พยายามมีการส่งเสริมและแนะนำสมาชิกสันนิตบานสหกรณ์ให้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการศึกษาดูงาน ในบริษัทที่มีความรู้ความสามารถแปรรูปสินค้าเกษตรอาทิ มีโรงงานแปรรูปสินค้าการเกษตรโรงงานหนึ่งที่มีการแปรรูปจากมะพร้าวทั้งระบบ ที่ใช้และนำเข้ามพร้าวจากต่างประเทศแปรรูปเพื่อส่งออก ทุกอย่างแปรรูปได้หมด ตั้งแต่เนื้อในมะพร้าวจนถึงจาวมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ส่วนสินค้าและผลไม้อื่นที่เราจะส่งออกหรือขายในประเทศ สหกรณ์ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนและศึกษากลไกตลาดให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น สหกรณ์ผู้ปลูกกล้วยหอมจากเดิมที่ขายกล้วยเป็นหวีๆ ละ 70 บาท ซึ่งผู้บริโภคปัจจุบันที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ก็จะไม่กินหรือซื้อเป็นหวี ดังนั้นจึงควรปรับขายสี่ลูก หกลูก หรือครั้งละลูกเพื่อให้คนมีรายได้น้อย สามารถซื้อบริโภคได้ก็จะมียอดจำหน่ายเพิ่ม ส่วนข้าวสารที่จากเดิมขายถุงละ 5 กก. ก็ปรับเป็นขายถุงละ 1 กก.หรือ 2 กก. ซึ่งจะทำให้ไม่เสียโอกาสสามารถสร้างมูลค่าและเพิ่มยอดจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันในส่วนสันนิบาตสหกรณ์ฯ ก็พยายามเป็นตัวกลางในการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่เป็นสมาชิกของสันนิบาตสหกรณ์ฯ ผ่านระบบออนไลน์เพื่อเป็นอีกช่องทางในการจำหน่ายสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น สิ่งที่อยากแนะนำ ในภาครัฐเองเมื่อมีการนำสินค้าสหกรณ์ไปแสดงและจำหน่ายเพื่อเปิดในต่างประเทศ ก็ควรทำให้มีความคุ้มค่า โดยระหว่างการแสดงสินค้าควรนำสินค้าไปจำหน่ายให้ต่างประเทศได้เห็นและรับซื้อ ทั้งวันระหว่างการแสดงสินค้าไม่ใช่เอาไปจำหน่ายแค่ช่วงเปิดงานหนึ่งวันและครึ่งวันจนคนมาทีหลังไม่รู้ว่าไทยมีสินเกษตรดีอย่างไร ไปเจอแต่ร้านเปล่า ติดป้ายว่าเป็นสินค้าเกษตรจากไทยซี่งไม่เกิดประโยนช์ต่อประทศไทยทำให้เกิดปัญหา ต่างประเทศไม่สนใจในสินค้าเกษตรไทย “เท่าที่มีการติดตามการทำงานของระบบสหกรณ์ๆ ถือเป็นตัวกลางจำหน่ายสินค้าสมาชิก ซึ่งมีมากกว่า 4 พันรายที่เป็นสหกรณ์การเกษตร หากสามารถรวมกันได้ จะเป็นประโยชน์มหาศาลในการส่งออกสินค้าเกษตรไปต่างประเทศอย่างมาก โดยสันนิบาตสหกรณ์ฯ ในขณะนี้มีการประสานงานขอพบรองนายกฯ ที่ดูแลรับผิดชอบในหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้รับการยืนยันว่ารองนายกฯ ที่ดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรงและดูแลระบบสหกรณ์น่าจะเป็นนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ มาดูแลเอง โดยการพูดคุยเบื้องต้น หลังมีการแต่งตั้งรัฐบาล สหกรณ์จะไปหารือและพูดคุยปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขภาคการเกษตรผ่านกระบวนการสหกรณ์และเชื่อว่าในอนาคตการขายสินค้าเกษตรผ่านระบบสหกรณ์จะแก้ปัญหาสินค้าเกษตรได้ หากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาแก้ไขสินค้าเกษตรอย่างมีระบบ แต่หากยังไม่ดูแลภาคการเกษตรผ่านกระบวนการสหกรณ์ภาคการเกษตรก็จะมีปัญหาตลอดปฏิรูปเกษตรไม่ได้”ประธานกรรมการดำเนินการ สสท. กล่าว